เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีประกาศคำสั่งประธานาธิบดีในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการของสหพันธ์ (Official Gazette of the Federation) โดยกำหนดคำสั่งห้ามข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมและการเลิกใช้ไกลโฟเสตภายในปี 2567 ในเม็กซิโก

ตลอด 21 ปีที่ผ่านมา กรีนพีซเม็กซิโกเรียกร้องเรื่องการห้ามใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรม หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ GMOs หรือที่เรียกว่าสารกําจัดศัตรูพืชที่ยีนสิ่งมีชีวิตข้ามสายพันธุ์และเป็นอันตราย โดยร่วมมือกับองค์กรภาคการเกษตร ศิลปิน  นักวิชาการ นักวิจัย ผู้บริโภค รวมถึงประชาชนเม็กซิโก

นักกิจกรรมกรีนพีซยืนประท้วงหน้ากระทรวงสาธารณสุข กรุงโรม เพื่อต่อต้านการใช้สารไกลโฟเสต และขอให้รัฐบาลอิตาลีคัดค้านการต่ออายุคำอนุญาตของสหภาพยุโรปเรื่องสารกำจัดวัชพืชที่เป็นพิษ © Francesco Alesi / Greenpeace

ไม่ว่าจะเป็น GMOs หรือสารไกลโฟเสตนั้นส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเกษตรกรและชนพื้นเมืองในเม็กซิโกเป็นอย่างมาก สารกำจัดวัชพืชไกลโฟเสตถูกจัดเป็นสารก่อมะเร็งในคน ในปีพ.ศ.2558 โดยไกลโฟเสตที่หลายคนชอบใช้เพื่อทำลายวัชพืชนั้นปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมอย่างมากเช่น ตามหน้าดิน ตะกอนในแหล่งน้ำ หรือแม้แต่แหล่งน้ำบาดาลรวมถึงในน้ำทะเล ซึ่งไกลโฟเสตเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศทางทะเลเป็นอย่างมาก

การใช้สารปนเปื้อนดังกล่าวทำให้ความหลากหลายของพันธุ์พืชทางเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานของการผลิตอาหารในประเทศมีความเสี่ยงมาก ด้วยเหตุนี้การยอมรับ GMOs และไกลโฟเสตทำให้เราห่างไกลจากอธิปไตยทางอาหารมากขึ้นไปด้วย

นักกิจกรรมกรีนพีซขวางขบวนรถไฟบรรทุกข้าวโพดของสหรัฐอเมริกาขณะกำลังพยายามเข้ามาในเขตเม็กซิโก เพื่อตอบโต้กรณีที่มีหลักฐานระบุว่าสหรัฐทิ้งพืชดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) ข้ามพรมแดน ซึ่งขัดแย้งกับข้อตกลงระหว่างประเทศ จากภาพคือนักกิจกรรมของกรีนพีซยืนอยู่หน้าขบวนรถไฟในขณะที่จอดหยุดรถบนสะพาน โดยป้ายเขียนเป็นภาษาอังกฤษและภาษาสเปนว่า “หยุดข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรม” © Greenpeace / Tomas Bravo Garcia

ประกาศคำสั่งของประธานาธิบดีที่เผยแพร่ออกมาในวันสิ้นปี พ.ศ.2563 มีรายละเอียดว่า ห้ามมีการใช้สารกำจัดวัชพืชไกลโฟเสตในโครงการของรัฐบาลทั้งหมดและยกเลิกการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชไกลโฟเสตอย่างค่อยเป็นค่อยไปทั้งการจำกัดการจำหน่าย การกระจายสินค้า การนำเข้า เช่นเดียวกับการห้ามใช้สารเคมีเกษตรไกลโฟเสต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการยกเลิกใช้ไกลโฟเสตอย่างถาวรภายในปี พ.ศ.2567 โดยกฤษฎีกาไม่อนุญาตให้ปลูกข้าวโพดดัดแปรงพันธุกรรมและข้าวโพดเหล่านั้นจะไม่สามารถนำมาประกอบอาหารให้กับชาวเม็กซิโกได้ จนกว่าจะเจอวิธีการปลูกข้าวโพดที่ยั่งยืนและเหมาะสม ภายในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2567 นับเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าที่แท้จริงนั้นคือการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการเกษตรเชิงนิเวศ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การอนุรักษ์ความอุดมสมบูรณ์ของดิน รูปแบบการพัฒนาตามแต่ละท้องถิ่นโดยอาศัยพันธุ์ดั้งเดิมและระบบนิเวศทางการเกษตรที่ช่วยให้เราสามารถต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลิตอาหารที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเม็กซิโกถือเป็นศูนย์กลางของแหล่งกำเนิดการเพาะปลูกและความหลากหลายของข้าวโพดและพืชอื่น ๆ 59 ชนิด ได้แก่ พริกถั่ว พืชประเภทฟักทอง วานิลลา ฝ้าย อะโวคาโด โกโก้ และผักโขม

เป็นเวลาหลายพันปีมาแล้วที่ข้าวโพด เป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับชาวเม็กซิโก นอกจากนี้ยังเป็นส่วนสำคัญในวัฒนธรรมและศาสนาของพวกเขาอีกด้วย น่าเสียดายที่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาข้าวโพดสายพันธุ์ GE เข้ามาในประเทศและถูกปลูกโดยเกษตรกรที่ไม่รู้เรื่องราวอะไรมากนัก  © Greenpeace / Gustavo Graf

เวลาเปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์ คืนความหลากหลายทางพันธุกรรมให้กับพันธุ์พืชในเม็กซิโกมาถึงแล้ว เราเฉลิมฉลองการห้ามปลูกพันธุ์ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมและไกลโฟเสตที่นับเป็นก้าวสำคัญในการก้าวไปสู่การผลิตเชิงนิเวศที่รักษาความหลากหลายทางชีวภาพที่อยู่ในมือเกษตรกรเป็นเวลานับพันปี

แต่เราจะลืมไม่ได้ว่านี่ไม่ใช่เพียงสิ่งเดียวที่จะปกป้องพันธุ์ข้าวโพดพื้นเมืองที่เป็นเหมือนมรดกทางวัฒนธรรมของเราเท่านั้น จุดมุ่งหมายในฐานะกรีนพีซเม็กซิโกคือการเข้าถึงระบบอาหารเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมปราศจากยาฆ่าแมลงปราศจากจีเอ็มโอและหลีกเลี่ยงการครอบครองเมล็ดพันธุ์ของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง

การเข้าถึงอธิปไตยทางอาหารและความพอเพียงหมายถึงการก้าวไปสู่ระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืน ไม่ใช่เพียงแค่การทดแทนผลิตภัณฑ์หนึ่งไปยังอีกผลิตภัณฑ์หนึ่ง แต่เป็นการเปลี่ยนระบบอาหารเกษตรจากรากเหง้านั่นคือการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและรับประกันสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค