เพนกวินนั้นเรียกได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีชื่อเสียงสำหรับพวกเราไม่น้อย ด้วยความน่ารักและพิเศษของพวกมันหลายๆอย่าง เจ้าเพนกวินเหล่านี้มีสายพันธุ์ทั้งหมดถึง 17 สายพันธุ์ด้วยกันและทุกสายพันธุ์มีขั้วโลกใต้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย สายพันธุ์ที่โด่งดังก็มี เพนกวินจักรพรรดิ เพนกวินเจนทู เพนกวินร็อกฮอปเปอร์ เป็นต้น เราจึงรวบรวมมุมตลกๆ ของนกที่ขึ้นชื่อเรื่องความเก่งกาจในการดำน้ำและว่ายน้ำ รวมทั้งสิ่งสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับเพนกวินดังนี้

Adélie Penguins at Hope Bay in the Antarctic. © Christian Åslund / Greenpeace
เพนกวินอะเดลีบนอ่าวโฮป ในแอนตาร์กติกา © Christian Åslund / Greenpeace

1.เคยมีนกเพนกวินยักษ์อาศัยอยู่ในโลกของเรา

นกสายพันธุ์แรกที่เราเรียกว่าเพนกวินนั้นคือนก เกรท อัค (Great Auk) ซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว พวกมันเคยอาศัยอยู่บริเวณมหาสมุทรทางตอนเหนือของแอตแลนติก เพราะการถูกล่าเพื่อเป็นอาหารของนักสำรวจโลกในสมัยนั้นทำให้พวกมันลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วและสูญพันธุ์จากโลกในที่สุด

ฟอสซิลของเพนกวินยักษ์นี้เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าว่าพวกมันมีวิวัฒนาการมาพร้อมกับไดโนเสาร์และรอดพ้นจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ และยังคงค้นพบร่องรอยการมีอยู่ของนกเพนกวินสายพันธุ์ดึกดำบรรพ์นี้ โดยพวกมันมีขนาดใหญ่พอๆกับมนุษย์

2.เพนกวินสายพันธุ์ที่ตัวเล็กที่สุดในโลกมีความสูงเพียง 30เซนติเมตร

Tauranga National Oiled Wildlife Centre. © Natalie  Robertson / Greenpeace
เพนกวินลิตเตอร์บลู ได้รับความช่วยเหลือเอาน้ำมันดิบที่ติดกับตัวออกหลังจากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลจากเรือ เรนา (Rena) ใกล้กับอ่าวแอสโตรแลบ ในปี 2554 © Natalie Robertson / Greenpeace © Natalie Robertson / Greenpeace

จากการวัดขนาดของเพนกวินแต่ละสายพันธุ์ เพนกวินสายพันธุ์ลิตเตอร์บลู ( Little Blue penguins ) เป็นเพนกวินที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก มีความสูงเพียง30เซนติเมตรโดยวัดจากครีปของมัน (ลองจินตนาการดูสิคะว่าน้องเพนกวินสายพันธุ์นี้สามารถเข้าไปอยู่ในกระเป๋าของคุณได้พอดีเป๊ะ หรือจินตนาการว่าน้องลงไปว่ายน้ำเล่นในอ่างอาบน้ำที่บ้านได้สบายๆเลย)

3.เราจะพบเห็นเหล่าเพนกวินทางซีกโลกใต้เท่านั้น

โดยปกติแล้วเพนกวินทั้งหมดจะอาศัยอยู่ในซีกโลกใต้ และแม้ว่ามันจะคุ้นเคยกับน้ำแข็งมาก แต่มีเพียงแค่2สายพันธุ์เท่านั้นที่อาศัยอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา และยังมีเพนกวินกาลาปากอสที่เป็นเพนกวินเป็นสายพันธุ์เดียวที่เดินทางไปยังซีกโลกเหนือเพื่อหาอาหาร

Adélie Penguins and Glacier Ice in the Antarctic. © Christian Åslund / Greenpeace
ฝูงเพนกวินบนธารน้ำแข็งในแอสตาร์กติก © Christian Åslund / Greenpeace

4. “ลายทักซิโด” หรือลายขาวและดำบนตัวเพนกวิน ช่วยพลางตัวจากสัตว์นักล่า

เพนกวินส่วนใหญ่จะมีส่วนหลังสีดำและสีขาวตรงหน้าท้อง ซึ่งทำให้มองเห็นได้ยาก ถ้าหากมองจากมุมบนสีดำจะกลมกลืนกับพื้นผิวของมหาสมุทร และถ้ามองจากมุมล่างหน้าท้องของเพนกวินจะกลมกลืนกับท้องฟ้าสีสว่าง

อีกฉายาหนึ่งที่มักได้ยินคนเรียกนกเพนกวินกันนั่นก็คือ “Business Goose” หรือเจ้านกนักธุรกิจ เพราะลายขาวดำของเพนกวินนั้นทำให้เจ้านกชนิดนี้เหมือนใส่สูทเพื่อไปทำธุรกิจตลอดเวลา

5.เพนกวินมีวิธีที่ชาญฉลาดในการเคลื่อนที่ให้เร็วขึ้น

เหล่าเพนกวินมีเทคนิคที่เรียกกันว่า porpoising หรือวิธีกระโดดข้ามคลื่นทะเล เพื่อให้ว่ายน้ำได้เร็ว และใช้วิธีเดินสลับใช้หน้าท้องสไลด์ไปกับพื้นน้ำแข็งเพื่อการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วบนพื้นน้ำแข็ง 

MY Esperanza in Antarctica. © Christian Åslund / Greenpeace
ภาพเพนกวินกำลังว่ายน้ำในมหาสมุทรแอนตาร์กติก แม้ว่าท่าทางของพวกมันจะดูน่าขบขันเวลาเดินอยู่บนพื้นน้ำแข็ง แต่เพนกวินมีความสามารถในการว่ายน้ำได้อย่างดีเยี่ยม โดยเพนกวินสายพันธุ์ชินสแตรปสามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 20ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งมีความเร็วมากกว่านักกีฬาฝีมือดีถึง4เท่า © Christian Åslund / Greenpeace © Christian Åslund / Greenpeace

นักวิทยาศาสตร์พบว่า เพนกวินจักรพรรดิเป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีกลไกการเพิ่มความเร็วในการว่ายน้ำ ด้วยการกับเก็บอากาศไว้ใต้ปีก เมื่อพวกมันอยากพุ่งตัวไปข้างหน้ามันก็จะปล่อยฟองอากาศทำให้พุ่งตัวใต้น้ำได้อย่างรวดเร็ว

6.เพนกวินคือซุปเปอร์สตาร์ในสื่อต่างๆ

เพนกวินได้รับความนิยมจากสื่อต่างๆมากมายทั้งในภาพยนตร์และรายการทีวี เช่น Singing with Marry poppins, stealing the Muppet Shows, dancing their hearts out in Happy Feet, protecting the oceans with the Octonauts และ being a criminal mastermind in Wallace & Gromit เป็นต้น

ความโด่งดังของเพนกวินยังปรากฎอยู่ในชื่อแบรนด์ต่างๆเช่น แบรนด์หนังสือ และแบรนด์บิสกิตอีกด้วย (แม้ว่าพวกมันจะไม่มีนิ้วเพื่อแกะห่อบิสกิตก็ตาม)

7.เพนกวินอาเดลีมีชีวิตรักที่ซับซ้อนมาก

เพนกวินอาเดลีชื่นชอบก้อนหินมาก พวกมันจะใช้ก้อนหินเพื่อทำรังจำนวนมากและใช้เพื่อช่วยดำเนินชีวิต แล้วพวกมันเพิ่มจำนวนก้อนหินได้อย่างไร? คำตอบก็คือ เพนกวินอาเดลีเพศเมียจะหลอกล่อให้เพนกวินอาเดลีเพศผู้มาผสมพันธุ์ หลังจากนั้นก็จะแย่งก้อนหินจากเพศผู้มา พฤติกรรมนี้นักวิทยาศาสตร์ในแอนตาร์กติกาช่วงก่อนยุคสมัยเอ็ดเวิร์ดมองว่าเป็นพฤติกรรมสุดแปลกสำหรับสาธารณะแตกต่างจากความน่ารักของเจ้านกเพนกวินสายพันธุ์นี้

Adelie Penguins In Antarctica. © Abbie Trayler-Smith / Greenpeace
เพนกวินอะเดลี © Abbie Trayler-Smith / Greenpeace

8.เราสามารถมองเห็นอึของเพนกวินได้จากอวกาศ

เราพบว่าอึของเพนกวินนั้นมีประโยชน์อย่างไม่คาดคิด ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การมองเห็นจากดาวเทียมเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีการป้องกันตัวจากผู้ล่าและเป็นการบ่งบอกถึงตำแหน่งที่อยู่ของมันด้วย

เพนกวินที่เคยเป็นที่นิยมในสวนสัตว์เอดินเบิร์กตลอดทั้งศตวรรษ จนกระทั่งสวนสัตว์รับแพนด้า 1 คู่ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้เพนกวินบางส่วนใช้อึประท้วงความโด่งดังของแพนด้าคู่ใหม่

9.เพนกวินต้องการความช่วยเหลือจากพวกเรา

กรีนพีซร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ศึกษาเรียนรู้เพนกวินในแอนตาร์กติก ซึ่งพวกเขาได้ข้อมูลที่น่าตกใจของจำนวนกลุ่มเพนกวินซึ่งมีจำนวนลดลงเกือบ60% บางกลุ่มลดลงถึง77%จากการนับจำนวนประชากรทั้งหมด ในช่วงต้นปีพ.ศ.2513 นักวิทยาศาสตร์ได้พูดคุยเกี่ยวกับระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลงไป และให้ข้อมูลว่าสิ่งที่ค้นคว้ามามีหลักฐานเชื่อมโยงว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหนึ่งในตัวการที่ทำให้เพนกวินมีจำนวนลดลง

เพื่อปกป้องระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า เราจำเป็นต้องผลักดันให้โลกมีเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก เพื่อช่วยให้ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่าเช่นเหล่าเพนกวินนี้ได้มีพื้นที่ฟื้นฟูตัวเองและปรับตัวให้ทันกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป รวมทั้งยังเป็นที่หลบภัยจากอุตสาหกรรมที่เป็นภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อม

ร่วมกันปกป้องนกเพนกวินที่น่ารักเหล่านี้ ร่วมลงชื่อผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก เพื่อบอกให้ผู้นำโลกสนับสนุนการลงนามเพื่อทำสนธิสัญญาทะเลหลวง (Global Ocean Treaty) ซึ่งจะทำให้เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลนี้เกิดขึ้นได้จริง

บทความนี้แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านต้นฉบับได้ที่นี่

แปลโดย อลงกรณ์ ลัคนารจิต นักศึกษาฝึกงาน

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม