ถนนที่มีรถแน่นทะลัก รถไฟหรือรถโดยสารที่เบียดเสียด ล่าช้า หรือถูกยกเลิกรอบเดินทาง หรือแม้แต่ เส้นทางจักรยานที่ไม่ได้เรื่อง ระบบขนส่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นเหมือนที่กล่าวมาทั้งหมด นี่คือตัวอย่าง 11 สถานที่รอบโลก ที่สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้

ระบบขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เพียงแค่การปิดถนนสำหรับรถยนต์หรือการสร้างทางจักรยาน การจะเป็นผู้นำจะต้องมีกลยุทธ์ที่มากกว่านี้  แล้วอะไรคือความลับของระบบขนส่งมวลชนที่ประสบความสำเร็จและเหมาะกับคนส่วนใหญ่ และเราจะเปลี่ยนแปลงให้เป็นระบบที่สะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นธรรมต่อทุกคนได้อย่างไร

นี่คือการเจาะลึก 11 สถานที่ทั่วโลกที่นักวางผังเมืองและนักการเมืองวางแผนได้ดี แผนโครงการเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะช่วยรักษาชีวิตและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเท่านั้น แต่ยังช่วยปรับปรุงพัฒนาการเดินทางของผู้คนนับล้านให้ดีขึ้นอีกด้วย

1. การสร้างวัฒนธรรมการปั่นในเนเธอร์แลนด์

เนเธอร์แลนด์มีวัฒนธรรมการปั่นจักรยานที่แข็งแรง และมีเส้นทางจักรยานยาว 22,000 ไมล์ ที่น่าอิจฉา แต่มันก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป ในช่วงทศวรรษที่ 1950 ถึง 1970 การขี่จักรยานไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นยุคที่ผู้คนมีกำลังซื้อรถยนต์ได้ ซึ่งสิ่งนี้นำไปสู่การเสียชีวิตจากการจราจรในจำนวนที่สูงขึ้น โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงที่สุด 3,300 รายในปี 2514 ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเด็กมากกว่า 400 คน

นักเคลื่อนไหวที่มีความมุ่งมั่นและการทดลองของรัฐบาลได้เปลี่ยนกระแสนี้ไป ขณะนี้ความรับผิดของผู้ขับขี่ได้รับการแก้ไขแล้วในทางกฎหมาย ดังนั้นผู้ขับขี่รถยนต์จะต้องรับผิดชอบในกรณีที่ชนกับจักรยาน ซึ่งกฎหมายนี้บังคับให้รถยนต์จะต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวังและให้เกียรติกันมากขึ้น ในเมืองต่าง ๆ มีการสร้างสะพานเพื่อให้คนเดินเท้าและผู้ใช้จักรยานโดยเฉพาะ และแทบจะไม่มีเลยที่ถนนใหญ่จะไม่มีเลนจักรยานที่มีการป้องกันขนาบคู่ไปด้วย

แต่ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องใหญ่ ๆ เท่านั้น The ‘Dutch reach’ (การเปิดประตูรถด้วยมือที่อยู่ตรงข้ามประตู จะทำให้เกิดการหมุนตัวขณะเปิดรถโดยอัติโนมัติ จะทำให้เห็นถ้าหากมีรถจักรยานกำลังขับผ่านมาใกล้ ๆ) สามารถป้องกันอุบัติเหตุและช่วยไว้ได้หลายชีวิต และในตอนนี้ยังถูกใช้ใน UK’s Highway Code อีกด้วย

การเปลี่ยนวัฒนธรรมรถยนต์ต้องใช้เวลา แต่เพื่อการช่วยชีวิตมันก็คุ้มค่าอย่างแน่นอน

2. เปลี่ยนลานจอดรถเป็นทางจักรยานในเมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์

สภาเมืองออสโลเริ่มรื้อถอนจุดจอดรถออกจากใจกลางเมืองในปี 2559 ขณะนี้มีเพียงที่จอดรถสำหรับผู้พิการเท่านั้นและแทบจะไม่มีรถในใจกลางเมืองเลย และมีข้อยกเว้นให้สำหรับรถฉุกเฉินและรถส่งของสองถึงสามชั่วโมงในช่วงเช้า

มีการต่อต้านและกล่าวหาเรื่องการแทรกแซงเสรีภาพของประชาชน แต่นายกเทศมนตรีฝ่ายพัฒนาเมืองของออสโล Hanna Marcussen เห็นต่างออกไป “การไม่จำกัดการใช้รถยนต์เป็นการจำกัดเสรีภาพการใช้ชีวิตของประชาชนในหลาย ๆ ทาง” รถยนต์ทำให้การวิ่งเล่นบนถนนของเด็ก ๆ และการข้ามถนนของผู้สูงอายุเป็นเรื่องยาก และออสโลก็ยังมีปัญหามลพิษทางอากาศอีกด้วย คุณอาจจะโต้แย้งได้ว่ารถยนต์นั้นกำลังจำกัดเสรีภาพของผู้ที่เป็นโรคหอบหืดซึ่งในบางครั้งจะต้องอยู่แต่ในบ้านเมื่อมลพิษมันแย่จนเกินไป เธอกล่าวกับ BBC ในปี 2562

และมันก็ประสบความสำเร็จ ที่จอดรถถูกเปลี่ยนเป็นทางจักรยานเป็นที่ต้องการมากกว่า และการปั่นจักรยานสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และใจกลางเมืองก็เต็มไปด้วยผู้คนเดินเท้า

‘E-bench’ ที่มีแผงโซลาร์เซลล์อยู่ด้านบนและที่จอดรถจักรยานใกล้สถานีรถไฟกลางออสโล (Photo: VisitOSLO / Didrick Stenersen)

3. เมืองปลอดรถยนต์ เมืองปอนเตเบดรา ประเทศสเปน

เมืองปอนเตเบดราในประเทศสเปน แบนการใช้รถยนต์ในใจกลางเมืองในช่วงต้นยุค 2000 จากเมืองที่มีรถวิ่งผ่านกว่า 14,000 คันในหนึ่งวันซึ่งมากกว่าจำนวนคนที่อาศัยอยู่ในเมืองเสียอีก กลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยเสียงนกร้องและบทสนทนาในระดับเสียงปกติ

การจราจรถูกจำกัดไว้เฉพาะพื้นที่รอบนอกซึ่งมีที่จอดรถใต้ดินขนาดใหญ่และมีผู้คนเดินไปมาทุกที่ทั่วเมือง แม้จะมีการจราจรพลุกพล่านรอบนอกเมือง แต่ในตัวเมืองกลับถูกกำจัดไปได้หมด

การเสียชีวิตบนท้องถนนและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงอย่างมาก และเมืองนี้ยังมีประชากรผู้อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นมากกว่า 12,000 คน และด้วยเหตุนี้ ธุรกิจขนาดเล็กจึงสามารถรับมือกับวิกฤติการเงินโลกในช่วงปลายยุค 2000 ได้ดีขึ้น

Calle Mellado ในปอนเตเบดราก่อนและหลังการดำเนินโครงการ (Photo: Concello de Pontevedra)

4. การเข้าร่วมระบบขนส่งสาธารณะและการขี่จักรยานทั่วเมืองในโบโกตา ประเทศโคลอมเบีย

โบโกตา เมืองหลวงของโคลอมเบีย มีประชากร 7 ล้านคน และได้ชื่อว่าเมืองหลวงของการปั่นและการขนส่งสาธารณะของทวีปอเมริกาหรือไม่ก็ของโลก

เมื่อประมาณ 25 ปีที่แล้ว Enrique Peñalosa อดีตนายกเทศมนตรีได้สร้างเครือข่ายเลนจักรยานที่มีการป้องกันกว้าง 300 กิโลเมตร ควบคู่ไปกับถนนคนเดิน ขณะนี้ได้รับการสนับสนุนโดยเครือข่ายรถโดยสารขนส่งด่วนของเมือง ซึ่งจะมีรถประจำทางทุก ๆ 30 วินาทีในช่วงเวลาเร่งด่วน ไม่ให้จอดรถบนถนนและจำกัดรถยนต์ให้เหลือเพียง 40% ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนโดยพิจารณาจากป้ายทะเบียนรถ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้คนลดการขับรถยนต์ลง

การขี่จักรยานและระบบขนส่งสาธารณะถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกัน เครือข่ายการขนส่งด้วยรถประจำทางประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกรูปแบบ park-and-ride (จอดแล้วจร คือ การขับรถมาจอดที่สถานที่จอดรถที่จัดไว้ให้ แล้วใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อเข้ามาทำงานหรือทำกิจธุระใดใดก็แล้วแต่ในเมือง)  ขนาดใหญ่ 6 แห่ง สำหรับจักรยานประมาณ 750 คัน รวมถึงเส้นทางและทางลาดที่ปลอดภัยและปลอดการจราจรสำหรับนักปั่นจักรยาน

นายกเทศมนตรี Peñalosa อธิบายถึงคุณค่าหลักของความเท่าเทียมกันของพลเมืองที่เป็นหัวใจสำคัญของโครงการนี้โดยกล่าวว่า “เส้นทางจักรยานที่ถูกป้องกันเป็นสัญลักษณ์ว่าพลเมืองที่ขี่จักรยานมูลค่า 30 เหรียญนั้นมีความสำคัญเท่าเทียมกับหนึ่งในรถยนต์มูลค่า 30,000 เหรียญ”

นักปั่นกำลังข้ามสะพานในวันที่ 30 สิงหาคม 2563 ในเมืองโบโกตา ประเทศโคลอมเบีย (Photo: Sebastian Barros/NurPhoto via Getty Images) Sebastian Barros/NurPhoto

5. ระบบรถเมล์ด่วน (Bus rapid transport: BRT) ในเมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

จาการ์ตาเป็นหนึ่งในเมืองที่มีรถยนต์และยานยนต์มากที่สุดในโลก แต่หลังจากการไปเยือนโบโกตาในปี 2546 ผู้ว่าราชการจาการ์ตามีแผนที่จะสร้างระบบรถเมล์ด่วน (BRT) ระยะทาง 12.9 กิโลเมตร ตัดผ่านใจกลางเมืองหลวงของชาวอินโดนีเซีย เนื่องจาก BRT ถูกแยกออกโดยมีแผงกั้นอยู่ในแต่ละด้าน จึงมีความน่าไว้ใจสะดวกและรวดเร็วกว่าบริการรถประจำทางทั่วไปมาก และถูกสร้างเสร็จในเวลาเพียง 9 เดือน

หลังจากการเปิดตัว BRT จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจาก 16 ล้านคนในปี 2547 เป็น 39 ล้านคนในปี 2549 ด้วยระยะเวลาที่น่าประทับใจและอัตราตัวเลขที่น่าทึ่งเหล่านี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงโครงสร้างของโครงการ เช่น สถานีขนส่งส่วนใหญ่มีการยกระดับเพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายจากทางเท้าที่เชื่อมต่อกันด้วยสะพาน เป็นต้น และรถประจำทางจะวิ่งทุก 2-4 นาทีตั้งแต่ 05.00 น. ถึง 22.00 น

รถประจำทาง Transjakarta Zhongtong ที่ Harmoni Central Busway ใจกลางเมืองจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซีย (Photo: Gunawan Kartapranata via Wikimedia Commons)

6. คนเดินเท้าต้องมาก่อน และแผนสำหรับ ‘เมือง 15 นาที’ ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ขอบคุณนายกเทศมนตรีแอนน์ฮิดัลโก ผู้ใช้ถนนบนฝั่งขวาของแม่น้ำแซนในปี 2549

สถานที่ที่ครั้งหนึ่งเคยเสียงดังโหวกเหวกและวุ่นวาย ตอนนี้กลับกลายเป็นทางเดินเท้าที่สวยงามและเส้นทางการปั่นจักรยานพร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ศิลปะสาธารณะ และพื้นที่สีเขียวตลอดเส้นทาง และถนนรู ริโวลี ถนนชื่อดังที่เต็มไปด้วยร้านค้ามากมาย ตอนนี้มีทางจักรยานที่เป็นที่นิยมใช้กันมากอยู่ด้วย

People walk on the right bank of the River Seine in Paris during the official launch of the “Rives de Seine” (Seine’s banks) park on April 2, 2017. The right bank of the Seine, whose 3.3km banks are classified as Unesco World Heritage, is officially prohibited to cars since October 21, 2016. / AFP PHOTO / FRANCOIS GUILLOT (Photo credit should read FRANCOIS GUILLOT/AFP via Getty Images)

ในปีนี้ อีดัลโกเปิดเผยแผนของเธอที่จะกำจัดมลพิษจากพาหนะส่วนตัวโดยสิ้นเชิงและสร้างสิ่งที่เธอเรียกว่า ’15 นาทีในเมือง’ ซึ่งชาวปารีสจะมีสิ่งที่ต้องการอยู่หน้าประตูบ้านหรือบริเวณใกล้เคียง ร้านอาหาร สวนสาธารณะ ร้านกาแฟ ศูนย์กีฬา ศูนย์สุขภาพและโรงเรียนอยู่ห่างออกไปโดยใช้เวลาเดินหรือขี่จักรยานพร้อมรองรับการทำงานจากที่บ้านมากขึ้น

มันเป็นแผนที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก รวมถึงโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเดินเท้า 350 ล้านยูโรเพื่อให้แน่ใจว่ามี “เลนจักรยานบนถนนทุกเส้น” ภายในปี 2567 และการยกเลิกที่จอดรถ ถนนนอกโรงเรียนจะปลอดรถยนต์ โรงเรียนจะเปิดให้ชาวบ้านใช้ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุด และประชาชนจะสามารถเห็นได้ว่าเมืองนี้ใช้จ่ายงบประมาณไปกับอะไรบ้าง

7. เปลี่ยนทางแยกที่รถติดหนักให้กลายเป็นสวนสาธารณะ ในเมืองบาเซโลนา ประเทศสเปน

นักวางผังเมืองในเมืองบาเซโลนากำลังขยาย ‘ซูเปอร์บล็อค’ ที่โด่งดังของพวกเขา เกาะปลอดรถยนต์เล็ก ๆ ในกริดกลางของถนนทอนยาวออกไปมากกว่าสิบบล็อค ในโซนนี้ คนเดินเท้าจะต้องมาก่อน

มีการเปิดตัวครั้งแรกในปี 2549 ซูเปอร์บล็อคของบาร์เซโลนาสร้างพื้นที่สำหรับผู้คนมากขึ้น สิ่งนี้จำเป็นมากในเมืองที่แออัดซึ่งมีสวนสาธารณะเพียงไม่กี่แห่งและพื้นที่สาธารณะอื่น ๆ ที่น้อยนิด

การขยายตัวนี้จะทำให้เกิด ซูเปอร์-ซูเปอร์บล็อค โดยมีถนน 21 สายในเขตเอชามเปล ที่เข้าถึงได้เฉพาะยานยนต์สำหรับผู้อยู่อาศัย บริการที่จำเป็น หรือการจัดส่งเท่านั้น จัตุรัสที่สร้างขึ้นที่ทางแยกจะปลูกด้วยต้นไม้ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเมืองสีเขียวที่สุดโต่งที่สุดในศตวรรษนี้

มุมมองทางอากาศของเขตเมืองเอชามเปล ของบาร์เซโลนาและโบสถ์ซากราดาฟามิเลีย (Photo: DeAgostini/Getty Images)

8. เส้นทางรถไฟเปลี่ยนเป็นทางจักรยาน จากเมืองบริสตอลไปยังเมืองบาธ สหราชอาณาจักร

โครงการหนึ่งที่เปลี่ยนชีวิตของผู้สัญจรไปมา ผู้คนเดินถนนในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือผู้ใช้วีลแชร์ที่อาศัยอยู่ในและรอบ ๆ เมืองบริสตอลและเมืองบาธที่อยู่ใกล้เคียงกัน คือ เส้นทางปั่นจักรยานจากเมืองบริสตอลไปยังเมืองบาธ

เส้นทาง 13.9 ไมล์ถูกสร้างขึ้นจากเส้นทางรถไฟที่ไม่ได้ใช้งานระหว่างสองเมือง ซึ่งเส้นทางนี้ปราศจากการจราจร 97.6% และยางมะตอย 99.7% และกว้างพอสำหรับทุกคนตลอดทั้งความยาวของเส้นทาง และได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเส้นทางการเดินทางและพักผ่อนยอดนิยมสำหรับนักปั่นจักรยานและนักเดินและเป็นทางเดินของสัตว์ป่าที่สำคัญ ใช้เวลาประมาณสองชั่วโมงยี่สิบนาทีในการปั่นจักรยานและสี่ชั่วโมงครึ่งสำหรับการเดิน

เส้นทางนี้สามารถเข้าถึงได้ง่ายสำหรับผู้ใช้วีลแชร์และรถเข็น ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างจากเส้นทางจักรยานแบบออฟโรดทั่วไปที่มีความยาวเท่านี้ นอกจากนี้ยังมีจุดเชื่อมต่อหลายระดับตามเส้นทางของบริสตอลและหลายจุดมีทางเข้าที่มีที่จอดรถสำหรับผู้พิการด้วย

เส้นทางจักรยานจากเมืองบริสตอลไปยังเมืองบาธ ที่สถานีรถไฟเก่า Mangotsfield (Photo: Steinsky added to Wikimedia Commons by Matt Buck)

9. การเปิดเส้นทางรถไฟสายเก่าในพรมแดนสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร

ห้าปีที่แล้ว รถไฟสาย Borders Railway จากเอดินเบอระไปยัง Tweedbank ได้เปิดให้บริการอีกครั้งหลังจากปิดไปนาน 40 ปี หลังจากที่ไม่มีรถไฟจอดที่หมู่บ้านระหว่างทางตั้งแต่ปี 2512 เมื่อเกิด Beeching cuts ปิดทางรถไฟในท้องถิ่นหลายพันแห่ง สิ่งนี้ทำให้เมืองและหมู่บ้านเล็ก ๆ หลายแห่งถูกตัดขาดและต้องอาศัยการเดินทางด้วยรถยนต์

แต่ในตอนนี้ ผู้อยู่อาศัยใน Stow ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่บนเส้นทางนี้ไม่จำเป็นต้องเดินทางด้วยรถยนต์อย่างที่เคยทำมาหลายสิบปีได้แล้ว พวกเขากล่าวว่านี่เป็นการกระตุ้นให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งรวมถึงการเพิ่มขึ้นของผู้เดินเยี่ยมชมและนักปั่นจักรยานไปยังชนบทใกล้เคียงด้วย

ในเวลาเพียงสามปีหลังจากที่เปิดให้บริการอีกครั้งมีการเดินทางมากกว่าสี่ล้านครั้งบนเส้นทาง และขณะนี้แคมเปญกำลังดำเนินการเพื่อขยายขอบเขตไปยังเมือง Carlisle เพื่อให้สามารถเข้าถึงนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นเมื่อประเทศฟื้นตัวจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

รถไฟสาย Borders Railway ที่สถานี Waverly ในเอดินเบอระ (Photo: Andy Buchanan/AFP via Getty Images)

10. ยอร์ก เมืองแรกที่วางแผนจะเป็นเมืองปลอดรถยนต์ในสหราชอาณาจักร

ในช่วงปลายปี 2562 สภาที่ปรึกษาของเมืองยอร์ก ได้วางแผนอย่างทะเยอทะยานที่จะจำกัดจำนวนการอนุญาตเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวในใจกลางเมืองประวัติศาสตร์ของยอร์กภายในสามปีเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

ซึ่งหมายความว่าการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวที่ไม่จำเป็นภายในกำแพงเมืองยอร์กจะถูกห้ามภายในปี 2566 โดยมีข้อยกเว้นสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้รถ เช่น ผู้พิการ

การระบาดใหญ่ทำให้หลายเมืองได้เห็นว่าการใช้รถยนต์ที่ลดลงอย่างมากจะเป็นอย่างไรและยอร์กเองก็เช่นกัน ในช่วงสองสามสัปดาห์แรกของการปิดเมือง เมืองนี้มีมลพิษทางอากาศไนโตรเจนไดออกไซด์ลดลง 30% ซึ่งเป็นการปรับปรุงคุณภาพอากาศอย่างมีนัยสำคัญ

ภาพของมหาวิหารยอร์กมินสเตอร์ที่ตั้งตระหง่านอยู่เหนือเมืองประวัติศาสตร์ของยอร์กจากกำแพงเมืองยอร์กเชียร์สหราชอาณาจักร (Photo: Edwin Remsberg/VWPics/Universal Images Group via Getty Images)

11. แอพตัวเลือกสำหรับการขนส่งแบบครบวงจรในเฮลซิงกิ ฟินแลนด์

ในเมืองหลวงของฟินแลนด์การเดินทางสู่สาธารณะไม่ได้หมายถึงการขนส่งสาธารณะเท่านั้น ‘Mobility’ คือบริการสาธารณะที่รวมระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถประจำทางกับจักรยานรับจ้างและแม้แต่บริการเรียกรถ จากนั้นจะเข้าถึงและชำระเงินได้ในแอพเดียวที่เรียกว่า “Whim”

นักวางแผนของเฮลซิงกิออกแบบระบบโดยเฉพาะ เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวและตอบสนองความต้องการด้านการเดินทางของผู้คน

ผู้ใช้สามารถสร้างการเดินทางในแอพและสามารถชำระเงินเป็นรายบุคคลหรือสมัครสมาชิกรายเดือน โดยที่ค่าบริการ 59.70 ยูโรต่อเดือน ผู้ใช้จะได้รับบริการขนส่งสาธารณะและจักรยานแบบไม่จำกัด รวมถึงการเดินทางด้วยแท็กซี่ 10 ยูโร ส่วนแพคเกจ 499 ยูโรต่อเดือน Whim จะให้การใช้งานการขนส่งทุกประเภทไม่จำกัด แม้ว่าราคาจะสูง แต่ก็สามารถแข่งขันกับต้นทุนการวิ่งรถในเฮลซิงกิได้