ใต้ท้องทะเลลึกเป็นโลกของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเฉพาะตัวแฝงเร้นอยู่ ซึ่งเราก็เพิ่งจะเริ่มเรียนรู้และทำความเข้าใจ ใต้มหาสมุทรนั้นเต็มไปด้วยแนวปะการังอันเก่าแก่ ภูเขาใต้ทะเล และสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่มาเป็นเวลาหลายร้อยปี ใต้ท้องทะเลลึกเป็นสถานที่เร้นลับที่ซุกซ่อนร่องรอยของจุดกำเนิดสิ่งมีชีวิตให้เราค้นหา

แมงกะพรุนใต้ทะเลสีสันสดใสตัวนี้สามารถเรืองแสงตัวเองในเวลากลางคืนได้ พวกมันอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำลึกของเกาะอะโซร์ส

แต่กลุ่มอุตสาหกรรมกำลังหาทางเริ่มทำเหมืองแร่ใต้ทะเล ซึ่งเป็นการทำลายทรัพยากรส่วนรวมของโลกเพื่อผลกำไรของกลุ่มธุรกิจ นักวิทยาศาสตร์ออกมาเตือนว่าการทำเหมืองแร่ใต้ทะเลลึกจะทำลายสภาพแวดล้อมใต้ท้องทะเลและสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่อย่างร้ายแรงและมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถกลับมาฟื้นฟูได้ดีเหมือนเดิม เพราะเป็นการทำลายกระบวนการทางธรรมชาติ การจัดเก็บคาร์บอนและยังทำให้ภาวะฉุกเฉินทางสภาพอากาศ (Climate Emergency) เลวร้ายลงไปกว่าเดิมอีกด้วย 

ขณะนี้รัฐบาลต่างก็อยู่ในช่วงการเจรจาต่อรองกับสนธิสัญญาทะเลหลวง (Global Ocean Treaty) ซึ่งสามารถปกป้องมหาสมุทรได้ แต่กำลังถูกล็อบบี้โดยกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่เป็นภัยคุกคามซึ่งต้องการจะเปิดพื้นที่ใต้ทะเลเพื่อทำเหมืองแร่เชิงพาณิชย์

หินสีขาวรูปทรงประหลาดใต้ทะเล ด้วยรูปทรงที่เหมือนกับเสา ปราสาท จำนวนมาก จึงทำให้ผู้คนตั้งชื่อที่นี่ว่า Lost City หรือ เมืองที่สาบสูญ

นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมกรีนพีซสากล (Greenpeace International) หันมาสนใจในอุตสาหกรรมนี้ รวมถึงการล็อบบี้ทางการเมือง ตอนนี้มีการเปิดสำรวจสำหรับทำเหมืองแร่ใต้ทะเลในพื้นที่ที่กินบริเวณกว้างเทียบเท่ากับประเทศฝรั่งเศสและเยอรมันรวมกันโดยประมาณ

การสืบสวนยังเปิดเผยให้เห็นถึงเครือข่ายของบริษัทสาขา ผู้รับเหมารายย่อยและกลุ่มพันธมิตร ที่มีเหล่ากลุ่มทุนที่ควบคุมผลกำไรอยู่เบื้องหลังและอยู่ในประเทศพัฒนาแล้ว โดยบริษัทเหล่านี้ยังให้การสนับสนุนประเทศต่างๆ รวมถึงกลุ่มประเทศที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็กในประเทศกำลังพัฒนา ที่กำลังประสบกับความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางเงินและหนี้สิน ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากนักเคลื่อนไหวเพื่อสังคมและองค์กรภาคประชาสังคมต่อการเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในทะเล รวมถึงร้องความรับผิดชอบจากบริษัทเอกชนที่กำลังคุกคามท้องทะเลและเปิดเผยผลประโยชน์ทางการเงินเบื้องหลัง

'No Deep Sea Mining' Action in the Atlantic Ocean. © Bárbara Sánchez Palomero / Greenpeace
นักกิจกรรมกรีนพีซกางแบนเนอร์ ‘No Deep Sea Mining – Protect our Oceans’ ในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนกลาง บริเวณ ลอส ซิตี้ (Lost City) พื้นที่ที่เต็มไปด้วยปะการัง หินสีขาวรูปร่างแปลกประหลาดและน้ำพุร้อนใต้ทะเล และเป็นบริเวณเป้าหมายที่จะมีโครงการเหมืองใต้ทะเล © Bárbara Sánchez Palomero / Greenpeace

การค้นพบเหล่านี้ทำให้คำโต้แย้งของกลุ่มธุรกิจเพื่อที่จะได้รับอนุมัติทางการเมืองต่อการทำเหมืองแร่ใต้ทะเลชะลอลง ในช่วงเวลาของวิกฤตทั้งสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อม พร้อมกับปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทั่วโลกที่หยั่งรากลึก เราจำเป็นต้องช่วยกันปกป้องพื้นที่ใต้ทะเลลึกจากการทำลายเพียงเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจเพียงกลุ่มเดียว

ขณะที่การทำเหมืองแร่ใต้ทะเลเชิงพาณิชย์มีอิทธิพลอย่างมากต่อรัฐบาลต่างๆ และการเจรจาต่อรองระดับสากล เราจำเป็นต้องทำให้แน่ใจว่าความเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องท้องทะลของเราจะถูกรับฟังมากขึ้นกว่าเดิม ร่วมเป็นอีกเสียงสนับสนุนสนธิสัญญาทะเลหลวง (Global Ocean Treaty) ซึ่งช่วยปกป้องผู้คน สภาพอากาศและสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม