อาวุธนิวเคลียร์เป็นอาวุธที่น่าสะพรึงกลัว สิ้นคิดและสร้างความหายนะมากที่สุดเท่าที่มนุษยชาติสร้างขึ้นมา  แต่ ณ วันนี้เราเฉลิมฉลองให้กับหนึ่งเหตุการณ์สำคัญในการเดินทางไกลสู่เป้าหมายของสันติภาพ เมื่อสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์(Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons หรือเรียกทั่วไปว่า Non-Proliferation Treaty หรือ NPT) ได้เป็นส่วนหนึ่งของกฏหมายระหว่างประเทศ

เหตุการณ์หัวรบนิวเคลียร์ใต้น้ำระเบิดหลังจากถูกยิงจากเรือรบของกองทัพเรือสหรัฐฯ © US Navy / public domain

ปี พ.ศ.2564 นี้ยังเป็นปีที่กรีนพีซครบรอบ 50 ปี เริ่มต้นจากกลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งล่องเรือไปยังเกาะอัมชิตก้า ซึ่งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกของอลาสก้า เพื่อหยุดยั้งการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ในปีพ.ศ. 2514 ไม่มีอะไรที่น่าดีใจในวาระครบรอบการทำงานรณรงค์ของเรามา 50 ปี  เราร่วมเฉลิมฉลองที่สนธิสัญญาฉบับประวัติศาสตร์นี้กลายเป็นกฏหมายที่มีผลบังคับใช้ซึ่งประสบความสำเร็จได้โดยการนำของคณะกรรมการรณรงค์สากลเพื่อยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ (ICAN)

กรีนพีซ ฝรั่งเศสได้สัมภาษณ์กับ Jean-Marie Collin คณะกรรมการรณรงค์สากลเพื่อยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์(ICAN) ประเทศฝรั่งเศส เกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่สนธิสัญญามีผลบังคับใช้ทางกฏหมาย

สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์กำลังจะมีผลบังคับใช้ เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร ? 

อาวุธนิวเคลียร์ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2488 ตามมาด้วยความเสียหายที่รุนแรง นับตั้งแต่นั้นมา อาวุธนิวเคลียร์ได้กลายเป็นเครื่องเตือนใจว่าเป็นภัยคุกคามต่อมวลมนุษยชาติ  นี่เป็นเหตุผลให้ภาคประชาสังคมได้ร่วมรณรงค์ต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ แต่ทว่าไม่มีความคืบหน้าเกิดขึ้น ในปี พ.ศ.2553 คณะกรรมการรณรงค์สากลเพื่อยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ (ICAN) ได้ร่วมทำงานกับรัฐบาลต่างๆ ผ่านเวทีของสหประชาชาติเพื่อเจรจาด้านกฎหมายที่จะทำให้เกิดการยกเลิกนิวเคลียร์ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2560 มี 122 ประเทศได้รับรองสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์  และในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2563 มี 50 ประเทศได้ลงนามและให้สัตยาบันซึ่งทำให้สนธิสัญญามีผลบังคับใช้ 90 วันหลังจากนั้น และเมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา อาวุธนิวเคลียร์ได้กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมายในที่สุด

การประชุมครั้งแรกของรัฐภาคีจะจัดขึ้นใน 12 เดือนข้างหน้า คาดว่าจะจัดขึ้นในประเทศออสเตรีย

การบังคับใช้สนธิสัญญาหมายความว่าอย่างไร อะไรที่มีการเปลี่ยนแปลง และอะไรที่ยังคงเหมือนเดิม? 

การใช้อาวุธนิวเคลียร์เป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรมมาโดยตลอด ถึงตอนนี้ อาวุธนิวเคลียร์ถูกจัดกลุ่มว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับอาวุธเคมีและชีวภาพ ซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะทำให้ประชาชนจะได้รับรู้ถึงความเลวร้ายของอาวุธเหล่านี้ สนธิสัญญาฉบับนี้จะเกี่ยวพันกับข้อห้ามในหลาย ๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การครอบครอง การใช้ การแลกเปลี่ยน หรือภัยคุกคามจากการใช้งานเป็นต้น

ผลที่ตามมาจากสนธิสัญญาฉบับนี้กับประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ 9 ประเทศ (สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร รัสเซีย ฝรั่งเศส จีน อินเดีย ปากีสถาน อิสราเอล และเกาหลีเหนือ)

ประเทศทั้งหลายเหล่านั้นไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ พวกเขายังคงพยายามที่จะทำให้สนธิสัญญาฉบับนี้เกิดขึ้น ตราบใดที่พวกเขายังคงปฏิเสธในการลงนาม สนธิสัญญาก็ไม่สามารถใช้กับประเทศเหล่านี้ได้โดยตรง แต่มันก็เป็นเรื่องยากสำหรับประเทศเหล่านั้นด้วยเช่นกันที่จะคัดค้าน(การห้ามใช้อาวุธนิวเคลียร์) ประเทศเหล่านี้อาจจะต้องเตรียมตัวที่จะต้องเผชิญต่อคำวิพากษ์วิจารณ์จากหลายประเทศที่เพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกันกับแรงกดดันของการเมืองภายในประเทศ

สนธิสัญญาฉบับนี้จะมีผลโดยตรงต่อสถาบันการเงิน (กองทุนบำเหน็จบำนาญและธนาคาร) เนื่องจากสนธิสัญญามีการสั่งห้ามในการจัดหาเงินทุนสำหรับอาวุธนิวเคลียร์ โดยตอนนี้ พวกเขาจะต้องเลือกระหว่างที่จะยอมรับหรือปฏิเสธต่อสนธิสัญญาฉบับนี้ ถ้าหากพวกเขาเลือกที่จะปฏิเสธ แน่นอนว่าจะเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของตัวเองและบรรดาผู้ลงทุนอาจจะไม่เห็นด้วย หน่วยงานทางการเงินของประเทศต่าง ๆ (ยกตัวอย่างเช่น เยอรมนี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน) ซึ่งแม้ว่าจะไม่สนับสนุนสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ แต่ก็ตัดสินใจว่าจะไม่สนับสนุนการลงทุนด้านนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลสะเทือนที่เกิดขึ้นของสนธิสัญญาอย่างชัดเจน

อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่คณะกรรมการรณรงค์สากลเพื่อยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ (ICAN) จะต้องทำเมื่อสนธิสัญญานี้มีผลบังคับใช้ทางกฏหมาย?

สิ่งที่สำคัญที่สุดตอนนี้คือการทำให้สนธิสัญญามีความเป็นสากลมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยให้แต่ละประเทศร่วมกันลงนามและให้สัตยาบันเพื่อเพิ่มอำนาจทางกฎหมาย การตรวจสอบความคืบหน้าก็เป็นงานที่สำคัญมากเช่นกันเพราะว่าเป็นวิธีที่สามารถทำให้เห็นประสิทธิภาพของสนธิสัญญาฉบับนี้ และสุดท้าย การฟังความคิดเห็นของประชาชนถือเป็นสิ่งที่สำคัญ  ด้วยการรณรงค์ของแนวร่วมของเรา คณะกรรมการรณรงค์สากลเพื่อยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์(ICAN) ในยุโรป เราได้เห็นผู้สนับสนุนสนธิสัญญานี้เพิ่มมากขึ้น (ประชาชนในฟินแลนด์ 84% ให้การสนับสนุน และเบลเยียม 77% ให้การสนับสนุน) เรายังต้องทำงานนี้่ต่อไป ยิ่งมีผู้สนับสนุนร่วมกันกดดันรัฐบาลของตนลงนามในสนธิสัญญามากขึ้น และเราก็จะเข้มแข็งมากขึ้น