ปี2563 เป็นปีที่ยากลำบากสำหรับใครหลายๆคน การปิดพื้นที่และการเว้นระยะห่างทางสังคมกลายเป็น “New Normal” ซึ่งได้เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตราวกับว่าเราอยู่ในภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์

แม้ว่าเราจะพบอุปสรรคมากมายในปี2563 อาสาสมัครและนักกิจกรรมที่กล้าหาญของเราก็ไม่เคยหวั่นไหวต่อสัญญาณเตือนของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และนี่คือภาพที่ดีที่สุดของเหล่านักกิจกรรมกรีนพีซทั่วโลกในปี2563

© Robert Ormerod / Greenpeace

กรีนพีซ สหราชอาณาจักรและผู้สนับสนุนกางแบนเนอร์บริเวณด้านนอกของศาลเอดินเบิร์กในการพิจารณาคดีวันแรกที่บริษัทแท่นขุดเจาะของบริษัททรานส์โอเชี่ยน (Transocean) จัดจ้างโดย บริษัทบริติช ปิโตเลียม(British Petroleum, BP) ฟ้องร้องให้จำคุกนักรณรงค์กรีนพีซและลงโทษกลุ่มรณรงค์ด้วยค่าปรับจำนวนมาก ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เนื่องจากนักกิจกรรมกรีนพีซปีนขึ้นไปปิดกั้นแท่นขุดเจาะน้ำมันไม่ให้มีการขุดเจาะในทะเลเหนือเป็นเวลา 12วัน ทำให้บริษัทไม่สามารถดำเนินงานได้ชั่วคราว โดยกรีนพีซถูกกล่าวหาว่าการประท้วงดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิของบริษัท

© Jongjin Lim / Greenpeace

ข้อความจากเยาวชนในกิจกรรมการฉายภาพโฮโลกราฟิกที่สมัชชาแห่งชาติในกรุงโซล เกาหลีใต้ โดยมีตัวแทนเยาวชนจำนวน 33คนกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับภูมิหลังของสมัชชาแห่งชาติเพื่อเรียกร้องให้นักการเมืองเร่งแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศโดยทันที

© Bernd Hartung / Greenpeace

กรีนพีซ เยอรมนีจัดกิจกรรมการฉายภาพข้อความยินดีต่อการทำลายหอระบายความร้อนของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเมืองฟิลิปส์เบิร์ก ประเทศเยอรมนี โดยข้อความดังกล่าวแปลว่า “สร้างโอกาสเพื่อการเปลี่ยนผ่านพลังงาน” และแฮชเท็ก #NOMONEYFORYESTERDAY ซึ่งโรงไฟฟ้าแห่งนี้จะถูกทำลายลงทั้งหมด

© Vincent Chan / Greenpeace

พาราไกลดิงหรือร่มร่อน2ตัวของกรีนพีซฮ่องกงบินผ่านเกาะลันเตาในฮ่องกง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุติโครงการถมทะเลชื่อว ‘Lantau Tomorrow’ 

โครงการถมทะเล ‘Lantau Tomorrow Vision’ ของรัฐบาลฮ่องกงจะใช้งบประมาณอย่างน้อย 624พันล้านเหรียญฮ่องกง (68.3พันล้านยูโร) ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำลายระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพอันล้ำค่าของฮ่องกงแล้ว แต่ยังทำให้งบประมาณสำรองทางการคลังของฮ่องกงหมดไปด้วย

© Adhi Wicaksono / Greenpeace

ภาพการประท้วงเชิงสัญญะของการค้าแรงงานทาสสมัยใหม่ในอุตสาหกรรมประมงที่เมืองจากาตาร์ การประท้วงอย่างสันตินี้จัดขึ้นโดยสหภาพแรงงานผู้อพยพชาวอินโดนีเซีย (SBMI) และกรีนพีซ อินโดนีเซีย บริเวณหน้าทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงจาร์กาตาร์ เพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดีอินโดนีเซียให้อนุมัติร่างข้อบังคับของรัฐบาลว่าด้วยการคุ้มครองผู้อพยพชาวประมงอินโดนีเซีย

จากรายงานการสอบสวนระหว่างปี 2558-2563 ของสหภาพแรงงานฯและกรีนพีซ อินโดนีเซียพบว่า มีลูกเรือชาวอินโดนีเซียอย่างน้อย 11 คนตกเป็นเหยื่อของการใช้แรงงานและเสียชีวิตบนเรือต่างชาติ ร่างของพวกเขาถูกโยนทิ้งลงในน่านน้ำสากล

© Andrew McConnell / Greenpeace

นักกิจกรรมกรีนพีซ 4 คนว่ายน้ำมุ่งหน้าไปใกล้กับแท่นขุดเจาะน้ำมันในเดนมาร์ก พวกเขาชูป้ายที่มีข้อความว่า “เชื้อเพลิงฟอสซิลหรืออนาคตของเรา” สำหรับแท่นขุดเจาะด้านหลังบริเวณการทำกิจกรรมคือแท่นขุดเจาะ ‘แดน บราโว’ 

การรณรงค์ครั้งนี้ นักกิจกรรมว่ายน้ำจากเรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์ของกรีนพีซ ข้ามบริเวณแหล่งน้ำมัน ‘แดน’ ในทะเลเหนือเพื่อรณรงค์อย่างสันติ เรียกร้องให้แท่นขุดเจาะแดน บราโว หยุดการสำรวจหาเชื้อเพลิงฟอสซิลและน้ำมันทุกแห่งในเดนมาร์ก เปลี่ยนผ่านจากการผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นการขยายการผลิตพลังงานด้วยพลังงานหมุนเวียนจากลมแทน

© Dmitry Sharomov / Greenpeace

นักกิจกรรมกรีนพีซ รัสเซียถือป้ายที่มีข้อความว่า “ทั้งโลกกำลังเปลี่ยน แต่คุณกลับไม่เปลี่ยนตาม” เบื้องหน้าโรงงานอุตสาหกรรมในเมืองโนริลสค์ ที่นี่เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือที่สุดของโลก มีประชากรอาศัยอยู่ 150,000 คน และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในวงกลมอาร์กติก (Arctic Circle) อีกทั้งยังเป็นเมืองหนึ่งในสามเมืองที่ตั้งอยู่บนชั้นดินเยือกแข็งคงตัวและยังเป็นเมืองที่ก่อมลพิษมากที่สุดในรัสเซีย พบปัญหาในระบบนิเวศหลากหลายด้าน (มลพิษทางอากาศ, ฝนกรด, หมอกควัน, สารเคมีที่ปนเปื้อนในน้ำ) เนื่องจากการทำเหมืองและโรงถลุงเหล็กของผู้ผลิตนิกเกิลรายใหญ่ Norilsk Nickel

© Josh Edelson / Greenpeace

นักกิจกรรมกรีนพีซ อเมริกาล่องเรือไปยังอ่าวซานฟรานซิสโกพร้อมกับส่งข้อความถึงรัฐสภาคองเกรสและอุตสาหกรรมน้ำมัน 

นักกิจกรรมกางแบนเนอร์ที่มีข้อความว่า “ยุคของน้ำมันสิ้นสุดลงแล้ว อนาคตขึ้นอยู่กับพวกคุณ” ข้างแอมะซอน ฟัลคอน หนึ่งในเรือบรรทุกน้ำมันหลายสิบลำวึ่งลอยอยู่นอกชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย เนื่องจากการหยุดชะงักของอุตสาหกรรมน้ำมัน การประท้วงครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อรัฐสภาเริ่มการเจรจาเกี่ยวกับมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังการระบาดของไวรัสโควิด19 และอุตสาหกรรมน้ำมันเริ่มล็อบบี้นักการเมืองเพื่อหวังผลประโยชน์ด้านการนำภาษีมาสนับสนุนธุรกิจน้ำมัน

กรีนพีซ ฟิลิปปินส์ร่วมการประท้วงครั้งใหญ่กับหลายเครือข่ายในมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ หลังการปราศรัยประจำปีต่อหน้าสภาคองเกรสฟิลิปปินส์ครั้งที่ 5 ของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต (State of the Nation Address : SONA) โดยกรีนพีซ ฟิลิปปินส์เรียกร้องต่อประธานาธิบดีดูเตอร์เตให้มีการแก้ไขการบริการงานที่ดีขึ้นในประเด็นต่าง ๆ เช่น การบริหารที่เปิดรับฟังประชาชนมากขึ้น และมีความรับผิดชอบในการบริหารงาน โดยเฉพาะการใช้นโยบายทางทหารเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 รวมทั้งการห้ามไม่ให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์หรือคัดค้านการทำงาน

© Gordon Welters / Greenpeace

ภาพการฉายแสงรณรงค์เรื่องสภาพภูมิอากาศระหว่างการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ในกรุงเบอร์ลิน ด้วยการสนับสนุนจากกลุ่ม Fridays For Future’s ทำให้เกิด Climate Strike แบบดิจิทัลครั้งแรกของโลก

นักกิจกรรมกรีนพีซฉายภาพผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก่อนเช้าตรู่ที่บริเวณพื้นที่สาธารณะ Reichstag ในกรุงเบอร์ลิน ภาพที่นำมาฉายคือภาพการณรรงค์ในปี 2562 ของนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม เกรย์ต้า ทุนแบรย์และภาพการออกมาประท้วงเรียกร้องให้ผู้นำโลกแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศของกลุ่มเยาวชนทั่วโลก

บทความนี้แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านต้นฉบับได้ที่นี่

แปลโดย อลงกรณ์ ลัคนารจิต นักศึกษาฝึกงาน

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม