พจนานุกรมคอลลินส์เผย คำว่าล็อกดาวน์(Lockdown) เป็นคำศัพท์แห่งปี 2563

หากเรามองย้อนกลับไป ทั่วโลกจะจดจำปี พ.ศ.2563  ว่าเป็นปีที่ทำให้วิถีชีวิตของเราหยุดชะงัก ผู้คนส่วนใหญ่ถูกจำกัดพื้นที่เป็นระยะเวลาร่วมหลายเดือนและใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับบ้าน โดยไม่สามารถออกไปเจอเพื่อนพ้องหรือผู้คนที่รัก เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์และฝึกซ้อมการเว้นระยะห่างทางสังคม หลายคนรู้สึกวิตกกังวลกับสิ่งที่ไม่แน่นอนซึ่งมาพร้อมกับวิถีชีวิตที่ต้องกักตัวตลอดเวลา

ท่ามกลางการระบาดของโรคที่รุนแรง ผู้คนยังต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่ใหญ่กว่าแม้ว่าบางคนจะอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยในบ้านของเขา กลับมีผู้คนอีกนับพันที่ต้องต่อสู้เอาตัวรอดกับสภาพภูมิอากาศที่ร้ายแรง

ปี 2563 เกิดไฟป่าที่รุนแรง คลื่นความร้อน พายุเฮอริเคนและซูเปอร์ไต้ฝุ่น ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในหลาย ๆ พื้นที่ทั่วโลก

ภาพชุดนี้เป็นการยกย่องแก่เหล่าอาสาสมัครผู้กล้าหาญ นักกิจกรรมและช่างภาพที่ยอมเสี่ยงชีวิตระหว่างช่วงแพร่ระบาดเพื่อเป็นประจักษ์พยานและเพื่อให้แน่ใจว่าเหตุการณ์เหล่านี้ได้รับการบันทึกและเผยแพร่ให้ทุกคนได้ตระหนักรู้ว่า เราได้มาถึงจุดที่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นแล้ว และเราต้องแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นทันที

ไฟป่าในออสเตรเลีย © Kiran Ridley / Greenpeace

ไฟป่าในออสเตรเลีย

เกิดไฟป่าในออสเตรเลียซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งไฟป่าที่เกิดขึ้นได้ทำลายพื้นที่ป่าไปถึง 11 ล้านเฮกตาร์ โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 29 คน นอกจากนี้คาดว่ามีนกจำนวนกว่า 1 พันล้านตัว สัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดที่เป็นเอกลักษณ์ของออสเตรเลียได้รับผลกระทบและเสียชีวิต นักดับเพลิงอาสาสมัครในพื้นที่จับตาดูกลุ่มควันไฟขนาดใหญ่  ในนิวเซาท์เวลส์ ที่กำลังเข้าใกล้เขตชานเมืองของเมืองเล็ก ๆ อย่าง Tumbarumba ในเทือกเขาสโนวี

ดินแดนแอนตาร์กติกา © Abbie Trayler-Smith / Greenpeace

ดินแดนแอนตาร์กติกา

กรีนพีซได้กลับมาที่แอนตาร์กติกในช่วงท้ายของภารกิจปกป้องมหาสมุทร ที่ใช้เวลาหนึ่งปีในการเดินทางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้เราได้ร่วมมือกับกลุ่มนักวิทยาศาสตร์เพื่อตรวจสอบและบันทึกผลกระทบของวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่กำลังประสบปัญหาในพื้นที่ นกเพนกวินสายพันธุ์ชินสแตรปและเจนทูออกล่าหาปลาบนภูเขาน้ำแข็งนอกเกาะฮาล์ฟมูน 

การทำลายป่าในอาร์เจนตินา © Martin Katz / Greenpeace

การทำลายป่าในอาร์เจนตินา

กรานชาโก คือป่าที่ใหญ่เป็นอันดับสองในอเมริกาใต้รองจากแอมะซอน มีพันธุ์พืชราว 3,400 ชนิด นก 500กว่าชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีก 150ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 120ชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 100ชนิด และชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในพื้นที่  ในช่วง 30ปีที่ผ่านมาอาร์เจนตินาสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ไปกว่า 8ล้านเฮกตาร์ โดยมีสาเหตุจากการทำอุตสาหกรรมปศุสัตว์และอุตสาหกรรมการเกษตรอย่างหนาแน่น การตัดไม้ทำลายป่ายังมีส่วนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จนเป็นสาเหตุให้เกิดสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว เช่น ความแห้งแล้ง หรือ พายุรุนแรง เป็นต้น

ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวที่เกรต แบร์ริเออร์ รีฟ © Victor Huertas / Greenpeace

ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาวที่เกรต แบร์ริเออร์ รีฟ

แนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟของออสเตรเลียกำลังเผชิญกับเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งที่สามในรอบ5ปี ในเกาะแม็กเนติก

เกิดไฟป่าในแอมะซอนครั้งใหม่ © Christian Braga / Greenpeace

เกิดไฟป่าในแอมะซอนครั้งใหม่

ในทุกๆปี กรีนพีซบราซิลจะบินตรวจสอบการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าและไฟป่าในแอมะซอน เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา บินผ่านจุดตรวจจับการทำลายป่าแบบ real-time และจุดแจ้งเตือนไฟป่า ด้วยระบบ Deter (Real-Time Deforestation Detection System) ซึ่งสร้างโดยสถาบันวิจัยอวกาศแห่งชาติ (INPE) ในรัฐปาราและรัฐมาโตกรอสโซ ในปีนี้เหตุการณ์ไฟป่าในแอมะซอนนั้นเหมือนกับปีที่ผ่านมา นั่นคือไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นจากการขยายพื้นที่เพื่อใช้การทำอุตสาหกรรมเกษตรและปศุสัตว์ของผู้ถือครองที่ดิน ยิ่งไปกว่านั้นยังมีแนวทางปฏิบัติบางส่วนจากนโยบายทำลายสิ่งแวดล้อมของประธานาธิบดีโบลโซนาโรที่ทำให้สถานการณ์แย่ยิ่งกว่าเดิม ทำให้ชนพื้นเมืองกลายเป็นกลุ่มคนที่ตกอยู่ในความเสี่ยง ทั้งที่อยู่อาศัย วิถีชีวิตและสุขภาพของพวกเขาถูกคุกคามจากเหตุการณ์ไฟป่า

เมืองคิวชูในญี่ปุ่นเสียหายจากเหตุการณ์ฝนตกหนัก © Masaya Noda / Greenpeace

เมืองคิวชูในญี่ปุ่นเสียหายจากเหตุการณ์ฝนตกหนัก

ปี 2563 เป็นปีที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ สร้างความหายนะให้กับหลาย ๆ ประเทศ อาทิเช่น จีน อินเดีย เนปาล บังกลาเทศ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ปากีสถาน ไทย เกาหลีใต้ เคนยา ซูดาน ไนจีเรีย และเยเมน ทั่วโลกมีผู้ได้รับผลกระทบซึ่งมีจำนวนมากกว่า50ล้านราย และจำนวนผู้ได้รับผลกระทบนี้มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เปิดเผยว่า วิกฤตสภาพภูมิอากาศจะเลวร้ายลงหากเราไม่ลงมือหรือดำเนินการใด ๆ ในตอนนี้เพื่อที่จะจำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก

การเป็นประจักษ์พยานอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมในมหาสมุทร © Andrew McConnell / Greenpeace

การเป็นประจักษ์พยานอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมในมหาสมุทร

นักกิจกรรมกรีนพีซปีนขึ้นเรือตู้คอนเทนเนอร์ควบคุมอุณหภูมิชื่อว่า Taganrogskiy Zaliv (ซึ่งเชื่อมโยงกับบริษัท Laskaridis Shipping Ltd.) เพื่อตรวจสอบเรือบรรทุกสินค้าแช่เย็นซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการขนย้ายสินค้า ขณะนั้นเรือเอสเพอรันซาของกรีนพีซอยู่ในช่วงสุดท้ายของภารกิจปกป้องมหาสมุทร ‘Protect the oceans’ ซึ่งเดินทางจากมหาสมุทรอาร์กติกไปยังมหาสมุทรแอนตาร์กติก การเดินทางตลอดทั้งปีนับเป็นหนึ่งในการสำรวจครั้งใหญ่ที่สุดของกรีนพีซ และแสดงให้เห็นถึงภัยคุกคามมากมายที่เกิดขึ้นในมหาสมุทร และรณรงค์ผลักดัน เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก 

เกษตรกรรมเชิงนิเวศในเคนยา © Paul Basweti /Greenpeace

เกษตรกรรมเชิงนิเวศในเคนยา

เกษตรกรเผาใบPaw paw เพื่อให้ขี้เถ้ามีความเหนียวและจับตัวกัน เกษตรกรในเคนยาใช้แนวทางเกษตรเชิงนิเวศอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเพิ่มความสามารถในการสร้างความยืดหยุ่นและรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบันเคนยาประสบปัญหาด้านระบบอาหาร เพราะเกษตรเชิงอุตสาหกรรมได้คุกคามความมั่นคงทางอาหาร เกษตรอุตสาหกรรมนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลเสียกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเกษตรกรรายย่อยในประเทศด้วยเช่นกัน

แคลิฟอร์เนียในกองเพลิง © David McNew / Greenpeace

แคลิฟอร์เนียในกองเพลิง

ภาพต้นไม้ตามทางหลวง Angeles Crest Highway ถูกไฟป่าเผาผลาญ เนื่องจากไฟป่า Bobcat โดยเผาพื้นที่ป่าไปกว่า 100,000 เอเคอร์ ในช่วงเช้าของวันที่ 21 กันยายน 2563 ซึ่งอยู่ใกล้กับ เมืองไรท์วูด รัฐแคลิฟอร์เนีย

ไฟได้ลุกลามไปทั่วเขตป่าสงวนแห่งชาติแอนเจลิสเป็นวงกว้างและลุกลามไปถึงหอสังเกตการณ์โบราณสถานบนภูเขาวิลสัน ไฟป่า Bobcat กินพื้นที่กว่า 100,000 เอเคอร์ ทำให้กลายเป็นหนึ่งในไฟป่าที่ใหญ่ที่สุดของเมืองลอสแอนเจลิส

นี่เป็นแค่หนึ่งในหลาย ๆ เหตุการณ์ไฟป่าที่ลุกลามทั่วเมืองแคลิฟอร์เนียในปี 2563 ซึ่งฤดูกาลไฟป่าจะมีระยะเวลาที่นานและรุนแรงขึ้นในแต่ละปี อุณหภูมิสูงขึ้นจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศทำให้ป่าไม้และพื้นที่ธรรมชาติอื่น ๆ แห้งแล้งขึ้น ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดไฟป่าเพิ่มมากขึ้น ผู้คนจะสูญเสียทั้งชีวิต ที่อยู่อาศัย สิ่งของเครื่องใช้สำหรับการดำรงชีพ สูญเสียสัตว์ป่า รวมทั้งผืนป่าที่เราต้องพึ่งพา ยิ่งไปกว่านั้น ในปี2563  นอกจากผู้คนจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อสุขภาพที่สูงขึ้นเนื่องจากเพลิงไหม้รุนแรงและมลพิษทางอากาศที่เพิ่มขึ้น ยังต้องเผชิญกับโรคระบาด Covid-19 ซึ่งเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพขึ้นอีก 

อุบัติเหตุด้านสิ่งแวดล้อมในรัสเซีย © Elena Safronova / Greenpeace

อุบัติเหตุด้านสิ่งแวดล้อมในรัสเซีย

เกิดอุบัติเหตุด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคคัมชัตกา พบสัตว์ทะเลที่ตายแล้วลอยมาเกยตามชายฝั่งเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันมีการพิจารณาจากหลาย ๆ เหตุการณ์ทั้งการรั่วไหลของสารพิษจากหลุมฝังกลบสารกำจัดศัตรูพืช การรั่วไหลของสารอื่น ๆ หรือสาหร่ายที่เป็นอันตราย แต่ยังไม่มีข้อสรุป ซึ่งการสอบสวนยังคงดำเนินต่อไปโดยสำนักงานอัยการยอมรับว่าการดำเนินการของรัฐบาลนั้นเป็นไปอย่างล่าช้าและสำนักงานอัยการยังเปิดเผยถึงการละเมิดสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ อีกมากมายในภูมิภาคคัมชัตกา เบื้องต้นทางรัฐบาลได้ตัดสินใจระงับหลุมฝังกลบสารกำจัดศัตรูพืชและสร้างระบบเพื่อตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในมหาสมุทร

สภาพเมืองหลังพายุไต้ฝุ่น © Basilio H. Sepe / Greenpeace

สภาพเมืองหลังพายุไต้ฝุ่น

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนในปี 2563 ฟิลิปปินส์ถูกพายุไต้ฝุ่นพัดถล่ม ทำให้เกิดน้ำท่วมที่ทำให้ผู้คนกว่า 3 ล้านคนไร้ที่อยู่อาศัยในวันที่ 17 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่นยังสร้างความเสียหายต่อภาคเกษตรกรรมคิดเป็นมูลค่าถึง 256ล้านดอลลาร์ และสร้างความเสียหายต่อสาธารณูปโภคพื้นฐานกว่า 165ล้านดอลลาร์ ประธานาธิบดีดูแตร์เตประกาศภาวะฉุกเฉินบนเกาะลูซอน เพื่อเตรียมพร้อมทั้งเครื่องมือเพื่อปฏิบัติการกู้ภัย บรรเทาสาธารณะภัย

และการฟื้นฟูเกาะ อย่างไรก็ตาม ชาวฟิลิปปินส์ต่างใช้สื่อออนไลน์เรียกร้องความรับผิดชอบจากรัฐบาลของตนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ขาดความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ และต้องการความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Justice)โดยเรียกร้องให้ผู้ก่อมลพิษที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รายใหญ่ที่สุดของโลกรับผิดชอบต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น

ปรากฎการณ์สุดช็อกให้น้ำ © Paul Hilton / Greenpeace

ปรากฎการณ์สุดช็อกให้น้ำ

แม้ว่าป่าชายเลนในเขต ราชา อัมปัต ของปาปัว ประเทศอินโดนีเซีย จะเป็นผืนป่าที่เป็นบ้านของสัตว์สายพันธุ์หายากหลายชนิด รวมทั้งยังเป็นแหล่งอนุบาลสำคัญของปลาจำนวนมาก แต่ระบบนิเวศอันอุดมสมบูรณ์ที่นี่กลับเป็นพื้นที่ที่กำลังถูกคุกคามจากมลพิษพลาสติก โดยเฉพาะแนวปะการัง

บทความนี้แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ สามารถอ่านต้นฉบับได้ที่นี่

แปลโดย อลงกรณ์ ลัคนารจิต นักศึกษาฝึกงาน

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม