เหล่าผู้นำประเทศไม่ได้บรรลุเป้าหมายใด ๆ ทั้งสิ้นเพื่อชะลอการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและด้วยเหตุนี้สิ่งแวดล้อมจึงอยู่ในจุดที่ใกล้แตกหัก เป็นข่าวที่คุณคงไม่อยากบอกกับคนที่คุณรัก และแน่นอนว่าคุณก็คงไม่อยากบอกกับคนทั่ว ๆ ไปหรือสื่อมวลชนถึงความล้มเหลวที่เกิดขึ้น

กลุ่มหมอกในป่าดั้งเดิมใกล้กับแม่น้ำดิกัลทางใต้ของปาปัว © Ulet Ifansasti / Greenpeace

แล้วจากนี้จะเป็นอย่างไร?

เหล่านักการเมืองอาจมีท่าทีไม่พอใจ และโทษว่าเราไม่ควรตั้งเป้าหมายสูงเกินไป แต่ควรจะต้องลดความคาดหวังลงและ “ทำเท่าที่เราทำได้”

อย่างไรก็ดี เพียงแค่สิ่งที่คาดหวังนั้นยากแต่ไม่ได้หมายความว่ามันเป็นไปไม่ได้ ดังที่เหล่าเยาวชนได้รวมตัวกันต่อสู้เพื่ออนาคตของพวกเขา เราไม่สามารถปล่อยให้ผู้นำแต่ละประเทศยอมแพ้กับการจัดการวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพได้

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) คือระบบที่ทำให้มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ได้ ผืนป่า มหาสมุทรอันอุดมสมบูรณ์ช่วยให้เราต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เป็นแหล่งผลิตอากาศให้เราหายใจและเป็นเกราะป้องกันโรคร้ายใหม่ที่อาจจะเกิดการระบาด เมื่อเราปกป้องธรรมชาติก็เท่ากับเราปกป้องตัวเองไปด้วย แทนที่จะหมดหวัง เราจำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่าทำไมเหล่ารัฐบาลจึงล้มเหลวต่อเรื่องนี้ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดและรวดเร็ว

ธารน้ำแข็งในไรฟ์ฟยอร์ดนอกสกอร์เรสบี้ ซุนด์ ทางชายฝั่งตะวันออกของกรีนด์แลนด์ © Daniel Beltrá / Greenpeace

ทำไมการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงล้มเหลว?

หนึ่งในปัญหาที่ชัดเจนนั่นก็คืออุตสาหกรรมทำลายล้างที่กำลังคุกคามระบบนิเวศของโลกมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ไม่เพียงแค่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มาในรูปแบบของธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรของโลกเช่น ธุรกิจเชื้อเพลิงฟอสซิล ธุรกิจที่บุกรุกป่าด้วยการเผาเพื่อเอาพื้นที่มาใช้ประโยชน์ การเข้าไปเอาทรัพยากรในมหาสมุทรห่างไกลและลึกลงไปมากขึ้นเท่านั้น แต่พวกเขายังก่อมลพิษทางการเมือง เป็นอุปสรรคต่อการปกป้องสิ่งแวดล้อม ทำให้ตอนนี้เหลือผืนป่าบนโลกเพียงแค่ 15% และมหาสมุทรเพียง 3% เท่านั้นที่ยังไม่ถูกมนุษย์เข้าไปตักตวงทรัพยากร

หากยังคงลงทุนให้กับอุตสาหกรรมเหล่านี้คงไม่ใช่ผลดีต่อเราเองแน่ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอาหารหรืออุตสาหกรรมถ่านหิน เพราะจะยิ่งทำให้สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมแย่ลง อย่างเช่นการสนับสนุนอุตสาหกรรมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยเงินจากภาษีและการที่ประเทศที่ร่ำรวยจ่ายเงินเพื่อซื้อเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งสองกรณีนี้เป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ เท่านั้น ยังมีการลงทุนกับอุตสาหกรรมทำลายล้างแบบนี้อีกมากมายซ่อนอยู่

อย่างไรก็ดี การขับเคลื่อนในระดับโลกแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นภายในวันเดียว มันจะเกิดขึ้นได้จากการทำงานอย่างหนัก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับตรงกันข้ามเพราะตั้งแต่ปี 2553 มีการตั้งเป้าหมายที่จะจัดการกับปัญหาเหล่านี้ในระดับโลก แต่รัฐบาลแทบทุกประเทศกลับไม่ได้นำเป้าหมายนี้ไปพัฒนาเป็นกฎหมายหรือนโยบายของประเทศ นั่นหมายความว่าพวกเขาไม่ได้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่จะต้องนำเรื่องนี้ไปแก้ปัญหาเพื่อสร้างความก้าวหน้าร่วมกัน

กุ้งในฟองน้ำในทะเลซาร์กัสโซ © Shane Gross / Greenpeace

เราจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไร?

เพื่อชดเชยเวลาที่ผ่านมา เราจะต้องหลีกหลี่ยงการทำธุรกิจในวิถีเดิม ๆ ให้เร็วที่สุด แม้ว่าความล้มเหลวในอดีตที่ผ่านมาจะไม่ได้หมายความว่าสิ่งแวดล้อมจะไม่ดีขึ้น แต่นั่นหมายความว่าเราต้องกล้าที่จะดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อสร้างอนาคตที่แตกต่าง

เพื่อยุติการทำลายสิ่งแวดล้อม เหล่าผู้นำจะต้องหยุดยกผลประโยชน์ของกลุ่มทุนขึ้นมาเหนือกว่าคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารตั้งแต่วิธีการผลิตไปจนถึงการบริโภคอาหารและสินค้าต่าง ๆ การปรับปรุงแบบนี้จะช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม สร้างเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลกที่คุ้มครองสัตว์ทะเลและทรัพยากร ซึ่งจะสามารถช่วยจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ การสูญพันธุ์ ปกป้องความมั่นคงทางอาหารและลดความเสี่ยงของโรคระบาดในอนาคต

ดังที่รัฐบาลแต่ละประเทศกำลังอัดเม็ดเงินหลายพันล้านเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ตอนนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะต้องเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมไปในทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยใช้ประเด็นสุขภาพของประชาชนและธรรมชาติเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนานโยบาย หากสิ่งนี้เกิดขึ้นก็จะทำให้เราฟื้นฟูโลกกลับมาได้ดีและแข็งแรงกว่าเดิม สามารถยืนหยัดต่อสู้กับวิกฤตต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียม

สมาชิกของเผ่า Huni Kuin ตรวจสอบการทำลายป่าที่อยู่ใกล้บ้านในรัฐเอเคอร์ประเทศบราซิล © David Tesinsky / Greenpeace

ปีหน้า จะมีการประชุมลงมติจากเหล่าผู้นำทั่วโลก เพื่อทำข้อตกลงที่เป็นขั้นตอนต่อไปในการปกป้องสิ่งแวดล้อมโลก และการทำผิดพลาดซ้ำ ๆ จะไม่ช่วยให้เราได้รับชัยชนะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะแพ้ พวกเราต่างรู้ดีว่าในอีก 10 ปีข้างหน้านั้นเป็นช่วงปีที่มีความสำคัญต่อการลงมือปกป้องสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลเองก็ต้องมีแผนดำเนินการที่ฉลาดกว่านี้

การปกป้องสภาพภูมิอากาศและธรรมชาติได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนอย่างล้นหลาม รัฐบาลจำเป็นต้องยอมรับไม่เพียงแต่วิสัยทัศน์ของสิ่งที่พวกเขาตั้งเป้าเอาไว้เท่านั้น แต่พวกเขาจะทำอะไรเพื่อให้เป้าหมายสำเร็จ  รัฐบาลจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายใหม่พร้อมกับเงินทุนที่จำเป็นเพื่อทำให้มันเกิดขึ้น โดยวางแผนการที่ชัดเจนโดยมีความรับผิดชอบต่อเสียงของประชาชนอีกหลายล้านคนที่ลุกขึ้นเรียกร้องให้ดำเนินการเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและอนาคตที่ดีกว่า

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม