ในปี 2562 ขณะที่หลายๆคนรู้สึกเสียดายที่ต้องทิ้งอาหารที่กินไม่หมด ยังมีผู้คนอีกกว่า 690 ล้านคนที่ขาคแคลนอาหาร ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นจากข้อมูลเดิมในปี 2561 อีก 10 ล้าน ทั้งนี้ใน จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO)  5 ปีที่ผ่านมาตัวเลขของประชากรที่ขาดแคลนอาหารเพิ่มขึ้นเกือบ 60 ล้านคน และปัจจุบัน องค์การอาหารโลก (FAO) ก็ระบุว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็มีแนวโน้มที่จะทำให้สถานการณ์นี้ย่ำแย่ลงไปอีก

การขาดแคลนอาหารเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ซุกซ่อนอยู่หลังภาพความหิวโหยของประชากรเหล่านี้ ปัญหานี้นำมาสู่ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม องค์การอาหารโลกเปรียบเทียบว่าหากขยะอาหารเป็น 1 ประเทศ ประเทศนี้จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก แน่นอนว่าเราเริ่มลดปริมาณขยะอาหารได้จากบ้านของเราเอง แต่เพียงแค่การร่วมใจกันลดนั้นไม่อาจลดปริมาณขยะอาหารได้เพราะจริง ๆ แล้วปัญหาดังกล่าวเกิดจากระบบที่อยู่ในการผลิตอาหารปริมาณมหาศาลเหล่านั้น ดังนั้นหากต้องการแก้ปัญหานี้ เราต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน 

1.อะไรคือขยะอาหาร ?

โดยทั่วไปแล้วคำว่าขยะอาหาร เป็นคำที่เราเอาไว้อธิบายเศษอาหารที่เหลือจากมื้ออาหารในบ้าน รวมถึงอาหารที่หลุดออกจากห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ผลผลิตที่หลุดจากเกษตรกรรม จากโรงงาน ระหว่างขนส่ง ไปจนถึงในห้างสรรพสินค้าต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลภาพรวมของประเด็นขยะอาหารนั้นเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นว่า การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร (FLW : food loss and waste) ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับการสูญเสียอาหารและขยะอาหารนั้นยากที่จะระบุตัวเลขได้อย่างแน่นอนแต่ในตอนนี้รายงานศึกษาเกี่ยวกับขยะอาหารกำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆและชี้ว่ามันมีปัญหาที่ถูกซุกไว้ใต้พรม

เมืองบังคาลอร์ในอินเดียที่มีประชากรเกือบ 10 ล้านคน บังคาลอร์ผลิตขยะอยู่ที่ประมาณ 3,000 – 5,000 ตัน ต่อวัน ประมาณ 60% จากขยะทั้งหมดเป็นขยะอินทรีย์

2.แต่ละปี โลกมีขยะอาหารผลิตมากแค่ไหน

องค์การอาหารโลกประเมินว่าทั่วโลกผลิตขยะอาหารอย่างน้อย 30% จากอาหารทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่าราวๆ 940 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี สถานการณ์ปริมาณขยะอาหารในอเมริกาเหนือแย่กว่าที่คิดเพราะเป็นภูมิภาคที่ผลิตขยะอาหารในปริมาณมหาศาล ซึ่งเมื่อคำนวนแล้วเป็นมูลค่ากว่า 278 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอาหารในปริมาณนั้นสามารถเลี้ยงประชากรได้มากถึง 260 ล้านคน 

3.ใครเป็นคนรับผิดชอบขยะอาหารเหล่านี้?

อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มขนาดใหญ่ที่เป็นผู้ควบคุมระบบอาหาร คือผู้ที่มีบทบาทสำคัญค่อการผลิตและควบคุมการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร ทั้งซูเปอร์มาร์เก็ตและอุตสาหกรรมอาหารระดับโลกเหล่านี้เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอิทธิพลต่อระบบการระบบห่วงโซ่การผลิตอาหารมาก โดยสามารถบังคับเกษตรกรในหลายประเทศซึ่งเป็นผู้มีรายได้น้อยให้กลายเป็นผู้แบกรับภาระการสูญเสียอาหารและขยะอาหารในระบบการผลิตอาหารของโลก ส่วนในประเทศที่เกษตรกรมีรายได้สูง บริษัทใหญ่ๆก็จะใช้โมเดลการเกษตรเชิงอุตสาหกรรมในเชิงผลประโยชน์เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินและการลดหย่อนภาษี

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มขนาดใหญ่เหล่านี้ยังทำให้วัฏจักรการสูญเสียอาหารและขยะอาหารดำเนินต่อไปในภาคเกษตรกรรมเพราะการกดราคาอาหารให้ต่ำเกินไป ซึ่งการกระทำแบบนี้ทำให้ส่งผลต่อให้สูญเสียวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตอาหารและกลายเป็นขยะอาหารปริมาณมาก เป็นอีกผลกระทบหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าระบบการผลิตอาหารในปัจจุบันมีความผิดพลาด พืชในไร่ทั้งหมดจะไร้ค่าและต้องทิ้ง หากราคารับซื้อไม่คุ้มกับค่าขนส่ง ทำให้บางครั้งเกษตรกรจะปลูกพืชเกินกว่าความต้องการที่บริษัทกำหนด เพราะจะต้องเผื่อไว้สำหรับทดแทนพืชที่เสียหายจากสภาพอากาศหรือศัตรูพืช นอกจากนั้นยังมีเหตุผลเรื่องราคาที่ต่ำลงเมื่อถึงฤดูกาลของผลผลิตและผลผลิตที่เสียหายระหว่างการปลูกทำให้ขายไม่ได้ราคา

แม้ว่ายังต้องรวบรวมข้อมูลให้มากกว่านี้ แต่รายงานส่วนใหญ่ก็แสดงให้เห็นว่าปัญหาการสูญเสียอาหารและขยะอาหารมีแนวโน้มว่าจะเกิดกับผู้บริโภคในประเทศที่ร่ำรวยและเกิดมากขึ้นในกลุ่มประเทศที่ร่ำรวยน้อยกว่า ยกตัวอย่างเช่นการมีพื้นที่จัดเก็บผลิตผลไม่เพียงพอในประเทศที่ยากจนทำให้พืชผลเสียหายเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาขยะอาหาร

สำหรับประเทศที่มั่งคั่งนั้น การตลาดโดยบริษัทอาหารรายใหญ่พยายามให้ผู้บริโภคซื้อและกักตุนอาหารจนเกินความจำเป็น ซึ่งอาหารที่ถูกซื้อจนเกินความจำเป็นนั้นสุดท้ายก็กลายเป็นขยะในบ้าน ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นในตลาดค้าปลีกเมื่อผู้ขายเริ่มนำสินค้าเหล่านี้ออกจำหน่าย ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่าลืมว่าปัญหาขยะอาหารเป็นแค่ผลกระทบอย่างหนึ่งจากระบบการผลิตอาหารที่ผิดพลาด ไม่ใช่ต้นตอปัญหาที่แท้จริง

จากกราฟของ WasteDive จะเห็นว่าประเทศมั่งคั่งจะมีปัญหาการสูญเสียอาหารและขยะอาหารในช่วงการขายปลีกสูงมาก

4. COVID-19 ส่งผลอย่างไรต่อปัญหาขยะอาหาร

การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เผยให้เห็นถึงความเปราะบางของระบบที่มีอยู่ก่อนแล้ว ทั้งความเหลื่อมล้ำและความล้มเหลวของระบบผลิตอาหารแบบอุตสาหกรรม ในภาพรวมปริมาณของขยะอาหารและพืชผลทิ้งไปมีปริมาณเพิ่มขึ้นระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาด

เกษตรกรบางกลุ่มถูกจำกัดการเข้าไปทำงานในฟาร์มเนื่องจากมาตรการล็อคดาวน์ และบางกลุ่มยังต้องเผชิญกับการทำงานในโรงงานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัสที่เพียงพออีกด้วย การขาดแคลนแรงงานยังทำให้ไม่มีแรงงานทำงานในฟาร์มมากพอในช่วงการเก็บเกี่ยว เช่น มีรายงานว่าเกษตรกรในแคนาดารับสมัครแรงงานเพื่อทำงานในฟาร์มให้ได้ผลผลิตทันเวลายากขึ้น ทำให้ต้องเสียผลผลิตในฟาร์มไปเป็นจำนวนมาก

ส่วนผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจจากไวรัส COVID-19 นั้น มีรายงานว่าทำให้กลุ่มคนและชุมชนที่เป็นกลุ่มเปราะบางมีรายได้ลดลง มีความเหลื่อมล้ำสูงขึ้น ในบางกรณีเกิดความไม่มั่นคงทางอาหาร (ซึ่งไปเคยเกิดขึ้นมาก่อน) ซึ่งในช่วงเวลาอันยากลำบากนี้การสูญเสียอาหารและปัญหาขยะอาหารจากอุตสาหกรรมอาหารยิ่งเป็นเรื่องร้ายแรงและไม่สามารถยอมรับได้

5.ทำไมปัญหาขยะอาหารมีความสำคัญต่อเราและต่อสิ่งแวดล้อม

อาหารจากการผลิตมากกว่า 30% ที่ถูกทิ้งทั่วโลกในแต่ละปีแสดงให้เห็นว่าเรามีอาหารเพียงพอต่อคนทั้งโลก แต่อาหารเหล่านี้ไม่สามารถแจกจ่ายให้คนทั้งโลกที่ต้องการ อีกทั้งยังถูกทิ้งอย่างไร้ค่า แน่นอนว่าไม่ใช่แค่อาหารแต่เป็นต้นทุนทุกอย่างตั้งแต่การผลิต ผืนป่าที่ถูกถางเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร ผู้คนที่ต้องอพยพเนื่องจากขาดแคลนน้ำเพื่อบริโภคเนื่องจากความต้องการใช้น้ำมหาศาลของอุตสาหกรรมอาหาร ดินที่ปนเปื้อน อากาศที่เต็มไปด้วยมลพิษจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและยาฆ่าแมลง และสุดท้ายคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมหาศาลของอุตสาหกรรม

เมื่อคำนวนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งโลกแล้ว อาหารที่ถูกทิ้งทั้งหมดตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 8% เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคคมนาคม และมากกว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการบินทั่วโลกถึง 4 เท่า และเนื่องจากระบบอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกยังมีสายการผลิตที่ยาวกว่าระบบอื่นๆ ผลที่ได้คือการสูญเสียอาหารและขยะอาหารที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ขยะอาหารและการสูญเสียอาหารเป็นแค่ส่วนหนึ่งของระบบอุตสาหกรรมอาหารที่มุ่งแต่จะผลิตอาหาร “ให้คน” มากขึ้นแต่กลับมีอาหารถึง 1 ใน 3 ถูกทิ้งเป็นขยะ จริงๆแล้ว ความไม่มั่นคงทางอาหารเกิดจากความเหลื่อมล้ำไม่ใช่การผลิตไม่เพียงพอ ดังนั้น การแก้ปัญหานั้นคือการเปลี่ยนระบบการผลิตอาหารเดิม จากการผลิตอาหารเชิงอุตสาหกรรม แทนที่ด้วยการผลิตจากท้องถิ่นและการบริโภคอาหารที่ผลิตจากการเกษตรเชิงนิเวศ ซึ่งจะทำให้เราต้องทิ้งอาหารน้องลง 

กรีนพีซบราซิล ร่วมกับ Favela Orgânica ริเริ่มโครงการกระจายอาหารกลางวันในชุมชน Complexo do Caju และ do Caju and Rio das Pedras ในเมืองริโอ เดอ จาเนโร บราซิล © Carlos Oliveira / Greenpeace

6.เราทำอะไรได้บ้างเพื่อลดปริมาณขยะอาหาร ทั้งในด้านปัจเจกบุคคลและภาพรวม

ในแง่ของบุคคลทั่วไป เราสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการลดปริมาณขยะอาหารด้วยการคิดก่อนซื้อ เช่นการวางแผนว่าเราจะกินอะไรในแต่ละมื้อก่อนที่จะออกไปซื้อวัตถุดิบ อย่าซื้อของที่ไม่จำเป็น และพยายามใช้ไอเดียเพื่อสร้างสรรค์เมนูอาหารจากวัตถุดิบที่ยังเหลือค้าง หลีกเลี่ยงการกักตุนวัตถุดิบซึ่งสุดท้ายอาจกลายเป็นขยะอาหาร นอกจากนี้ยังมีอีกทิปส์ดีๆนั่นคือให้เลือกซื้อวัตถุดิบตามฤดูกาลที่ปลูกโดยเกษตรกรท้องถิ่น ตามตลาดเกษตรกรหรือชุมชนที่สนับสนุนเกษตรเชิงนิเวศซึ่งจะเป็นการเลี่ยงการสร้างอาหารเหลือทิ้งที่จะเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตของเกษตรเชิงอุตสาหกรรม 

โมเดลธุรกิจที่พยายามทำให้การผลิตวัตถุดิบอาหารมีราคาถูกกว่าอาหารนั้นเป็นการสร้างแนวคิดที่ว่าอาหารของเราไม่ได้มีมูลค่าสูง ไม่มีคุณค่า  ซึ่งเป็นแนวคิดอันตราย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ปริมาณขยะอาหารและการสูญเสียอาหารกลายเป็นผลของโมเดลธุรกิจแบบนี้ เราจำเป็นต้องคิดใหม่ด้วยการให้ความสำคัญกับอาหารของเรา ระบบนิเวศที่ทำให้พืชพรรณเหล่านี้เจริญเติบโตและคนที่ทำให้ผลผลิตเหล่านี้เติบโตมาอย่างสมบูรณ์ ทดแทนการคิดว่าอาหารเหล่านี้ราคาถูก นอกจากนี้เราจำเป็นจะต้องเรียกร้องกับภาครัฐให้สร้างระบบราคาอาหารที่เป็นธรรมสำหรับกลุ่มเกษตรกร และเคารพระบบนิเวศที่ผลิตสภาพอากาศที่ดีในการผลิตอาหารอันอุดมสมบูรณ์

7. หลังจากนี้ เราจะลดขยะอาหารด้วยการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นธรรมได้อย่างไร?

การฟื้นฟูเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นธรรมหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 จะช่วยให้เราลดขยะอาหารได้ด้วย การปรับเปลี่ยนนโยบายด้านอาหารและเพิ่มการลงทุนกับชุมชนให้มากขึ้น ดังนี้

  • ลดความยาวของห่วงโซ่การผลิต เพื่อปรับเปลี่ยนระบบอาหารที่ผลิตและบริโภคในพื้นที่ด้วยการจูงใจและขยายตลาดให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้โดยตรงกับผู้บริโภค
  • สนับสนุนให้ชุมชนและเทศบาลสามารถเชื่อมต่อ เข้าถึงอาหารจากคนในชุมชนเองผ่านโครงการเช่น แปลงผักของชุมชน แบ่งปันผักสวนครัวของแต่ละบ้าน การสร้างเครือข่าย “ครัวชุมชน” และโครงการชุมชนขยะอาหารเป็นศูนย์ (zero food waste programs)
  • สนับสนุนอุปกรณ์การทำเกษตรกรรมที่ดีกว่าในเกษตรกรระดับชุมชนเพื่อลดความเสียหายระหว่างการปลูกพืชซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้สูญเสียอาหารได้
  • สนับสนุนให้เกษตรกรเปลี่ยนผ่านมาทำเกษตรกรรมเชิงนิเวศมากขึ้นเพื่อปกป้องสุขภาพของเกษตรกรและปกป้องสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช
  • ปรับกลไกราคาผลผลิตให้เป็นธรรมต่อเกษตรกรมากขึ้น
ตลาดนัดออแกนิคโดยเกษตรกรในกรุงปักกิ่งกลายเป็นเทรนด์ใหม่และกำลังเป็นที่นิยมในปักกิ่ง จีน © Greenpeace

ทำให้ปัญหาขยะอาหาร กลายเป็นประเด็นสาธารณะ

ในปี 2564 องค์การสหประชาชาติจะจัดประชุม Food System Summit ซึ่งจะเป็นโอกาสของทั่วโลก ประเทศต่างๆรวมถึงชุมชนที่จะผลักดันให้ประเด็นขยะอาหารกลายเป็นประเด็นสาธารณะ เราสามารถเปลี่ยนระบบอาหารแบบเดิมที่ล้มเหลวไปสู่ระบบอาหารที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เคารพระบบนิเวศมากขึ้นและเป็นธรรมต่อผู้คนที่อยู่ในระบบนี้มากขึ้น อุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่จะต้องถูกเปิดโปง ถูกท้าทาย และถูกแทนที่ด้วยอำนาจอธิปไตยทางอาหาร (food sovereignty) เพื่อให้แน่ใจว่าความต้องการผลิต ความต้องการบริโภค และสิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจสำคัญของระบบอาหาร เราต้องฉวยโอกาสนี้เอาไว้ให้ได้

หากคุณกำลังสนใจหรือลดขยะอาหารในชีวิตประจำวันอยู่ หรือรู้จักชุมชนที่กำลังสร้างทางเลือกที่ดีกว่าให้กับระบบอาหาร อย่ารอช้ามาร่วมแชร์เรื่องราวเหล่านั้นกับเราในคอมเมนท์ด้านล่างได้เลย

Éric Darier & Monique Mikhail นักยุทธศาสตร์อาวุโส กรีนพีซ สากล

ถึงเวลาปฏิวัติระบบอาหาร

ร่วมเรียกร้องให้ภาครัฐออกกฎหมายติดฉลากผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทุกประเภทโดยเปิดเผยถึงข้อมูลการเลี้ยงสัตว์ ที่มาอาหารสัตว์ว่าเชื่อมโยงกับการทำลายป่าและก่อหมอกควันพิษหรือไม่ รวมถึงการใช้ยาปฏิชีวนะ และการตกค้างในเนื้อสัตว์

มีส่วนร่วม