เยาวชนเหล่านี้ต่างทำให้ผู้นำระดับโลกต้องละอายใจ เมื่อพูดถึงเรื่องความมุ่งมั่นในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

อายุไม่ใช่อุปสรรคในการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลก นักวิทยาศาสตร์ได้เตือนเราว่าเรามีเวลาเพียงแค่ 12 ปีเพื่อกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ เยาวชนเหล่านี้ที่กล้าหาญมุ่งมั่น และ มีแรงบันดาลใจ ที่ได้ดึงดูดความสนใจจากทั่วโลกผ่านความสร้างสรรค์และการเรียกร้องอย่างแน่วแน่เพื่อให้ทุกคนต่างเริ่มลงมือต่อกรกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นการนัดหยุดเรียนเพื่อประท้วง คุยกับเหล่านักการเมือง หรือ การเผชิญหน้ากับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลระดับโลก แรงบันดาลใจที่ได้จากเยาวชนเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นว่าเรายังมีหวังเพื่อวันพรุ่งนี้

งานเปิดของการเดินขบวน Zero Hour (ชั่วโมงที่ศูนย์) ของเยาวชนเพื่อหยิบยกประเด็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สหรัฐ วอชิงตัน ดีซี นำโดย เจมี่ มาร์โกลิน อายุ 16 ปี © Katie Nelson

ลิเทีย บาเลย์เลวูกา จากประเทศฟิจิ

ผู้มีส่วนก่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศน้อยที่สุดคือกลุ่มคนที่เปราะบางมากที่สุด เป็นสิ่งที่คนในแถบหมู่เกาะแปซิฟิกรู้กันเป็นอย่างดีและสำหรับเยาวชนเหล่านี้นี้ นี่จะเป็นสิ่งเดียวที่พวกเขาจะได้รับรู้

ในปี 2559 ลิเทีย ที่เพิ่งอายุ 18 ต้องเผชิญผลกระทบที่เป็นสร้างความเสียหายจากพายุไซโคลนวินสตัน พายุไซโคลนรุนแรง ระดับ 5 นี้ได้ทำลายประเทศ ส่งผลให้นับพันคนต่างไม่มีที่อาศัยและเสียชีวิต สำหรับลิเทีย ภาวะวิกฤตนี้ทำให้เธอได้ตระหนักและเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่เพียงแต่ส่งผลถึงระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น แต่ได้รวมถึงสภาพอากาศที่สุดขั้วที่สามารถทำให้ประเทศเหล่านั้นหายไปจากแผนที่

ในฐานะนักเคลื่อนไหวของ ตัวแทนเกาะแปซิฟิก ลิเทียกำลังทำงานอย่างหนักหน่วงเพื่อให้แน่ใจว่าเสียงของเธอจะได้รับการฟังจากทั้งคนในประเทศและต่างประเทศ ในการประชุมเจรจาสุดยอดว่าด้วยโลกร้อนในปีนี้ COP24 ที่โปแลนด์ เธอได้บอกเล่าเรื่องของตัวเอง เกี่ยวกับพายุไซโคลนวินสตันได้ทำลายหมู่บ้านที่แม่ของเธออาศัยอยู่ และในท้องถิ่นเธอก็ยังได้สร้างและสอนผู้คนเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

คำพูดของลิเทียนั้นเรียบง่าย “เราต้องยุติเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างเร่งด่วน เพราะมลพิษที่มาจากบริษัทและประเทศที่ที่ก่อมลพิษและส่งผลกระทบต่อประเทศอย่างฟิจิมากที่สุด” ประเทศของเธออาจจะเล็กแต่ความมุ่งมั่นของเธอนั้นยิ่งใหญ่

มารีเนล อูบาลโด หญิงสาววัย 21 จากฟิลิปปินส์

มารีเนล อูบาลโด ยืนประจันหน้ารูปปั้น “กระทิงวอลสตีท” เพื่อเป็นตัวแทนชุมชนที่ต่อต้านอุตสาหกรรมน้ำมัน แก๊สและ ซีเมนต์ ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ © Michael Nagle

คุณลองจินตนาการการเป็นพยานในศาสเพื่อสู้กับบริษัทที่ใหญ่ที่สุด รวยที่สุด และปล่อยมลพิษมากที่สุด ได้หรือเปล่า? นั้นเป็นสิ่งที่มารีเนลกำลังทำอยู่ ในฐานะผู้รอดชีวิตจากพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน – พายุที่รุนแรงที่สุดที่ถล่มประเทศฟิลิปปินส์ – มารีเนลเป็นพยานให้กับการสืบสวนสอบสวนครั้งแรกของโลกว่าด้วยว่าด้วยความรับผิดชอบของบรรษัทที่มีต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

ในปี 2556 พายุนั้นได้ทำลายและซัดบ้านและข้าวของของเธอไป แต่ความไม่ถ้อถอยและความมุ่งมั่นที่จะดำเนินชีวิตต่อ ความเปราะบางของเธอได้แปรเป็นพลังในการต่อต้านอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีบทบาทสำคัญต่อสภาพภูมิอากาศ และเธอต้องการให้เหล่าบริษัทผู้ก่อมลพิษนั้นได้รับรู้ ในงานสัปดาห์โลกร้อนที่นิวยอร์ก  มารีเนลได้รับการยืนปรบมือให้เกียรติหลังจากที่ได้เล่าถึงเรื่องราวของเธอที่เป็นผู้รอดชีวิต:

“ฉันอยู่ตรงนี้ข้างหน้าพวกคุณ ไม่ใช่เพียงแค่ตัวเลขของอากาศที่คุณเห็นในข่าว แต่ฉันอยู่ตรงนี้ในฐานะมนุษย์ – และหวังที่จะเตือนใจทุกคนว่าเราต้องกลับมาให้ความสำคัญกับชีวิตอีกครั้ง เรื่องราวของฉันเป็นเพียงหนึ่งเรื่องของคนอีกมากมาย และฉันอยู่ตรงนี้เพื่อพูดในฐานะตัวแทนของผู้คนในชุมชนที่เปราะบางและถูกมองข้าม ฉันหวังว่าเสียงของเราจะได้รับการฟัง”

นักเรียนมัธยมที่ออสเตรเลีย

นักเรียนมัธยมที่ออสเตรเลียได้โดดเรียนในวันศุกร์เพื่อมาร่วมเดินขบวนกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ © Richard Lebenholc

คุณจะทำอย่างไรเมื่อนายกรัฐมนตรีของประเทศคุณบอกให้คุณ “ลดความเป็นนักเคลื่อนไหว”? คุณหยิบกระดาษแข็ง ปากกามาร์คเกอร์สีดำ เขียนป้ายที่เริ่ดที่สุด และโดดเรียนเพื่อเดินขบวนบนท้องถนน

ในเดือนพฤศจิกายน เด็กนักเรียนทั่วออสเตรเลียได้เดินออกจากห้องเรียนเพื่อประท้วงการเฉยเมยของรัฐบาลต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ จากการเป็น “ผู้สนับสนุนถ่านหิน” จนถึงความอ่อนแอของการส่งสัญญาณเตือนของการรั่วไหลของน้ำมันใน เกรตออสเตรเลี่ยนไบท์ มีอีกหลายเรื่องที่ออสเตรเลียยังสามารถปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อมได้ แต่อย่างน้อยนักเรียนออสเตรเลียได้แสดงให้เห็นแล้วว่าควรทำอย่างไร

เจมี่ มาร์โกลิน เด็กสาววัย 16 ปีจากสหรัฐอเมริกา

ผู้ร่วมก่อตั้ง Zero Hour นาเดีย นาซาร์ (ซ้าย) และ เจมี่ มาร์โกลิน (ขวา) © Katie Nelson

ใครบ้างที่ใช้เวลาช่วงพักเที่ยงเพื่อจัดตารางโทรศัพท์ ทำงานหลายอย่างบนมือถือตอนอยู่บนรถบัสระหว่างกลับบ้าน และ ตื่นตอนตีห้าครึ่งเพื่อทำการบ้าน? เจมี่ มาร์โกลินนั้นเอง

คุณอาจไม่เคยได้ยินชื่อของเธอ แต่คุณอาจเคยได้ยินการเคลื่อนไหวที่เธอเป็นคนนำ – Zero Hour หรือ ชั่วโมงที่ศูนย์ จากความหงุดหงิดจากการถูกเพิกเฉยเพราะเห็นว่าเธอเป็นเยาวชนในการสนทนาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เจมี่จึงได้เริ่มการเคลื่อนไหวนี้กับกลุ่มเพื่อนเพื่อส่งสัญญาณถึงสมาชิกรัฐสภาว่าถ้าพวกเขาไม่ลงมือแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนนี้ เยาวชนเองที่จะเป็นกลุ่มคนที่จะได้รับผลกระทบ

ปีนี้ ชั่วโมงที่ศูนย์ ได้เป็นกำลังสำคัญในการแสดงให้เห็นว่าการชุมนุมของเด็กรุ่นใหม่ว่าเป็นยังไง งานเปิดตัวการเดินขบวนของเยาวชนเพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศได้เกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม ที่ห้างสรรพสินค้าแห่งชาติที่ รัฐวอชิงตัน แม้จะอยู่ในท่ามกลางฝน เยาวชนนับพันคนก็ได้ออกมาพร้อมป้ายเพื่อเรียกร้องให้ปกป้องสภาพภูมิอากาศ

นอกจากการเป็นผู้นำเยาวชนแล้ว เธอยังได้เป็นหนึ่งในเด็กวัยรุ่นที่น่าจับตามองในนิตยสาร Teen Vogue เจมี่ยังเป็นผู้นำในการยื่นฟ้องรัฐวอชิงตัน ที่เธอกล่าวว่าสิทธิตามรัฐธรรมนูญของเยาวชนนั้นไม่ว่าด้วยจะด้าน ชีวิต เสรีภาพ สินทรัพย์ และ การปกป้องที่เท่าเทียมในกฎหมายได้ถูกละเมิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถึงแม้คดีนี้จะถูกยกฟ้องในเดือนสิงหาคม เจมี่ก็ยังไม่ท้อถอยและยังมีแผนการที่จะยื่นอุทธรณ์ สำหรับเจมี่แล้ว การเอาตัวรอดของคนในรุ่นเธอกำลังถึงนาทีสุดท้ายและจะไม่มีอะไรที่จะหยุดเธอได้

เกรต้า ทันเบิร์ก เด็กสาววัย 15 ปี จากประเทศสวีเดน

เกรต้า ทันเบิร์ก การประท้วงเรื่องโลกร้อนด้านหน้ารัฐสภาในสตอกโฮล์ม ที่จัดขึ้นสองวันก่อน COP ในคาโตวีตเซ, โปแลนด์ © Jana Eriksson

เรื่องของเธอเริ่มจากการนั่งข้างนอกรัฐสภาในใจกลางเมืองสตอกโฮล์ม จากหนึ่งวันได้กลายเป็นสองสัปดาห์ และในช่วงเดือนสิงหาคมที่ร้อนระอุท่ามกลางผู้คนมากมายที่เดินผ่านไปมา เกรต้านั่งเงียบ ๆ พร้อมป้ายที่เขียนว่า Skolstrejk för klimatet (หยุดเรียนและประท้วงเพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศ)

สำหรับเกรต้าแล้ว เหตุผลชองเธอนั้นเรียบง่ายมาก – จะเสียเวลาไปโรงเรียนเพื่อไปเรียนเกี่ยวกับนักการเมืองที่ไม่ยอมลงมือกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศทำไม? ถึงแม้ผู้ใหญ่บางคนจะคิดว่าเด็ก 15 ปี ควรอยู่ในโรงเรียน แต่เกรต้าได้ “โต้กลับ” ด้วยความความสุจริตและเหตุผลส่วนตัว ในฐานะเยาวชน อนาคตของเธอจะเป็นภัยถ้าเราไม่ลงมือแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ตอนนี้ ความมุ่งมั่นของเธอได้สร้างแรงกระเพื่อมเพราะมีประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการประท้วงกับเธอ รวมถึงครูบางคนอีกด้วย

จากวันนั้น การแสดงออกอย่างเรียบง่ายที่แสดงความกล้าหาญของเกรต้าได้ทำให้เธอได้เป็นแกนนำของคนนับพัน และได้นำเธอไปอยู่ข้างหน้าและท่ามกลางผู้นำโลก ณ งาน COP24 เธอได้ทำให้คนทั่วโลกตะลึงด้วยการพูดที่ตรงและไร้ซึ่งดราม่า และสร้างความอับอายให้กับนักการเมืองและแสดงให้เห็นว่าผู้นำที่แท้จริงควรเป็นยังไง

“พวกคุณไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะยอมรับความจริง และทิ้งปัญหาไว้ให้กับพวกเรา เด็กๆ ทั้งหลาย หนูไม่สนใจว่าจะมีชื่อเสียงหรือไม่ หนูสนแค่เรื่องความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศและโลกที่ยังมีชีวิตอยู่”

ถึงแม้ COP24 จะจบลงพร้อมกับไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจนที่จะยกระดับการลงมือเพื่อต่อกรกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ชัดเจน แต่สิ่งที่เกรทต้าพูดจะถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์และสร้างความหวังที่ว่า ถ้าผู้ใหญ่ไม่กล้านำการเปลี่ยนแปลง เยาวชนเช่นเกรต้านั้นเองที่จะลงมือเอง

Fundraising Team in Manila. © Geric Cruz / Greenpeace
ร่วมบริจาค

ด้วยความช่วยเหลือจากคุณ ทำให้เราสามารถใช้วิธีการที่สร้างสรรค์อย่างสันติ เปิดโปงการทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องมหาสมุทร ป่าไม้ แหล่งน้ำ อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งล้วนเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกชีวิตบนโลกใบนี้

มีส่วนร่วม