This photo taken on July 19, 2020 shows the Guanyinge temple, a 700-year old temple built on a rock, in the swollen Yangtze River in Wuhan in China’s central Hubei province. – Heavy rains since June have left at least 141 people dead and missing, forced nearly 15 million people to be evacuated from their homes in July alone, and caused billions of dollars in economic losses, according to the government. (Photo by STR / AFP) / China OUT (Photo by STR/AFP via Getty Images)

ในขณะที่ทุกคนกำลังให้ความสนใจกับการระบาดของโควิด 19 ยังมีภัยร้ายอีกหนึ่งอย่าง นั่นก็คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง ถ้าคุณกำลังคาดหวังจะให้ทุกอย่างกลับไปเป็นเหมือนเดิม หลังจากโควิด 19 จบลงแล้ว คุณอาจจะต้องคิดใหม่

เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในเอเชียใต้เป็นเหตุการณ์ประจำปีที่สถานการณ์เลวร้ายขึ้นเรื่อย ๆ มีคนจำนวน 9.6 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในปีนี้

บังกลาเทศ

เด็กหญิงนั่งอยู่ข้าง ๆ ทางเดินที่ถูกน้ำท่วมในศรีนาการ์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 จำนวนผู้เสียชีวิตจากฝนมรสุมในเอเชียใต้เพิ่มขึ้นเกือบ 200 คน © MUNIR UZ ZAMAN / AFP / Getty Images

จีนแผ่นดินใหญ่

ประชาชนนั่งเรือผ่านบ้านที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วม ใกล้กับทะเลสาบโผหยาง เนื่องจากฝนตกหนักในเขตโผหยาง เมืองฉางเรา มณฑลเจียงซี ตอนกลางของจีน © STR/AFP via Getty Images
พื้นที่น้ำท่วมใกล้กับทะเลสาบโผหยาง เนื่องจากฝนตกหนักในเขตโผหยาง เมืองฉางเรา มณฑลเจียงซี ตอนกลางของจีน © HECTOR RETAMAL / AFP via Getty Images

ผู้คนราว 10,000 คนในมณฑลอันฮุยและหูเป่ยจะต้องอพยพ หลังจากน้ำท่วมและดินถล่มอย่างรุนแรงหลังจากฝนตกหนักที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายทศวรรษ ในจีนเพียงแห่งเดียวมีผู้คนที่ได้รับผลกระทบจำนวน 37.89 ล้านคน 1 ใน 3 ของบังกลาเทศถูกน้ำท่วม และมีคนได้รับผลกระทบจำนวน 2.8 ล้านคน และมีคนจำนวน 6.8 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เนปาล อินโดนีเซียและญี่ปุ่นก็ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยครั้งใหญ่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเช่นกัน

ญี่ปุ่น

ภาพเมืองฮิโตโยชิ จังหวัดคุมาโมโตะประเทศญี่ปุ่น หน้าฝนทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะคิวชู น้ำท่วมและดินถล่มทำให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในจังหวัดคุมาโมโตะ มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคนและอีกกว่าหนึ่งล้านคนได้รับคำสั่งให้อพยพ เมื่อปีที่แล้วพื้นที่คิวชูถูกฝนตกหนักกระหน่ำซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมาก © Masaya Noda / Greenpeace
ภาพเมืองฮิโตโยชิ จังหวัดคุมาโมโตะประเทศญี่ปุ่น หน้าฝนทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะคิวชู น้ำท่วมและดินถล่มทำให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในจังหวัดคุมาโมโตะ มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคนและอีกกว่าหนึ่งล้านคนได้รับคำสั่งให้อพยพ © Masaya Noda / Greenpeace

อินเดีย

ชาวบ้านพายเรือเข้าไปใกล้กระท่อมที่จมอยู่ใต้น้ำบางส่วนในพื้นที่ประสบอุทกภัย เมือง Hatishila ในเขตกัมรัป ของรัฐอัสสัมเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 น้ำท่วมเป็นเหตุการณ์ประจำปีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียซึ่งมีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนในแต่ละปี © BIJU BORO/AFP via Getty Images
ชาวบ้านเดินทางด้วยเรือในพื้นที่ประสบอุทกภัย หมู่บ้าน Gagalmari ในเขต Morigaon ของรัฐอัสสัมเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 © BIJU BORO/AFP via Getty Images

เนปาล

หญิงชาวบ้านยืนอยู่บนระเบียง ในเหตุการณ์น้ำท่วมหลังแม่น้ำพาคมตี (Bagmati River) เอ่อล้นจากฝนมรสุมในรัฐกาฐมาณฑุ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 © PRAKASH MATHEMA/AFP via Getty Images

อินโดนีเซีย

ทีมค้นหาและกู้ภัยอพยพผู้ประสบภัยน้ำท่วมฉับพลันในหมู่บ้านราดดา เขตลูวูเหนือ สุลาเวสีใต้ น้ำท่วมฉับพลันและดินถล่มเกิดจากฝนตกหนักในวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 ซึ่งทำให้แม่น้ำ Masamba  Rongkang และ Radda เอ่อล้นในเขตลูวูเหนือ สุลาเวสีใต้  มีผู้เสียชีวิต 32 รายและอีก 16 คนสูญหาย มุสตารีหัวหน้าสำนักงานค้นหาและกู้ภัยมากัสซาร์ (บาซาร์นาส) ระบุว่ามีผู้อยู่อาศัย 1,590 คนได้รับผลกระทบ สำนักงานจัดการภัยพิบัติแห่งชาติ (BNPB) ระบุว่าน้ำท่วมฉับพลันเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าจำนวนมากสำหรับสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ต้นน้ำ © Hariandi Hafid / Greenpeace

เคนยา

ภาพหญิงสาวยืนอยู่ข้างบ้านที่ถูกทำลายโดยเหตุการณ์น้ำท่วม เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมอีกครั้งในเคนยา หลายครัวเรือนต้องพลัดถิ่นในช่วงหลายวันที่ผ่านมา  เหตุการณ์น้ำท่วมทำให้ผู้คนหลายพันต้องพลัดถิ่นฐาน พืชผลถูกทำลายและปศุสัตว์ล้มตาย สภาพอากาศโดยรวมในแอฟริกาตะวันออกได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงที่เกิดขึ้น เช่น  น้ำท่วมและภัยแล้งเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงขึ้นตามวิกฤตภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น จากวิกฤตโควิด 19 และการระบาดของตั๊กแตนในปัจจุบันรวมถึงเหตุการณ์น้ำท่วมจะทำให้สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในประเทศแย่ลงอีก © Greenpeace
ภาพถ่ายทางอากาศของหมู่บ้านและที่ดินที่ถูกน้ำท่วม เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมอีกครั้งในเคนยา หลายครัวเรือนต้องพลัดถิ่นในช่วงหลายวันที่ผ่านมา  เหตุการณ์น้ำท่วมทำให้ผู้คนหลายพันต้องพลัดถิ่นฐาน พืชผลถูกทำลายและปศุสัตว์ล้มตาย สภาพอากาศโดยรวมในแอฟริกาตะวันออกได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงที่เกิดขึ้น เช่น  น้ำท่วมและภัยแล้งเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงขึ้นตามวิกฤตภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น จากวิกฤตโควิด 19 และการระบาดของตั๊กแตนในปัจจุบันรวมถึงเหตุการณ์น้ำท่วมจะทำให้สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในประเทศแย่ลงอีก © Greenpeace

ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน เคนยาต้องเจอกับเหตุการณ์น้ำท่วมที่ทำให้มีผู้พลัดถิ่นหลายพันคน และมีผู้สูญหายอีกหลายร้อยคน พืชผลถูกทำลายและปศุสัตว์ล้มตาย สภาพอากาศโดยรวมในแอฟริกาตะวันออกได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงที่เกิดขึ้น เช่น  น้ำท่วมและภัยแล้งเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงขึ้นตามวิกฤตภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น

ไทย

https://www.facebook.com/1118589771815325/videos/346227983060540/
เหตุการณ์ฝนตกหนักข้ามคืน ส่งผลน้ำป่าทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านสูบ 4 ต.น้ำสวย อ.เมือง จ.เลย (2 ส.ค. 2563))

นักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลโดยใช้ปัจจัย “การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก” มุ่งเน้นไปที่พื้นที่ทั่วโลกที่มีความเสี่ยงต่ออุทกภัยจากพายุ การเป็นประเทศชายฝั่ง และคลื่นทะเล ผลที่ได้ระบุว่าสาเหตุที่เมืองใกล้ชายฝั่งทะเลกว่า 68% ทั่วโลกถูกน้ำท่วมเพราะกระแสน้ำและพายุ ส่วนอีก 32% เกิดจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เหตุการณ์น้ำท่วมเป็นอุทกภัยที่อันตรายสามารถสร้างความเสียหายได้ในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

ในไทยเองก็ต้องเฝ้าระวังวิกฤตนี้เพราะ ชายฝั่งทะเลไทยล่อแหลมต่อการเพิ่มของระดับน้ำทะเล ในระยะยาวของประเทศไทย(ปลายศตวรรษที่ 22) ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นราว 2.39 เมตร เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกสูงขึ้น 4.3 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับการเพิ่มของระดับน้ำทะเล 1.36 เมตร ที่อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลก 1.6 องศาเซลเซียส ความเสี่ยงที่มาจากพายุหมุนเขตร้อนจะเพิ่มขึ้นอย่างมากด้วย 

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ผลักดันเขตคุ้มครองทางทะเล

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม