จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหามลพิษพลาสติก ไปจนถึงการทำเหมืองแร่ และการทำประมงเกิดขนาด สิ่งเหล่านี้คือภัยคุกคามที่มหาสมุทรต้องเผชิญเพิ่มมากขึ้นทุกวัน

แต่ตอนนี้ เรามีโอกาสช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับมหาสมุทรแล้ว นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากทั่วโลกร่วมกับกรีนพีซ ได้จัดทำแผนการปกป้องมหาสมุทรของเราขึ้น และดำเนินการผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล  ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ทั่วทุกมุมโลก โดยจะมีการวางอาณาเขตหลายล้านตารางกิโลเมตร เพื่อจำกัดการทำประมงแบบทำลายล้าง การทำเหมืองแร่ในทะเลและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ทำลายระบบนิเวศในมหาสมุทร

หากแผนการที่เราตั้งใจทำขึ้นนี้นับเป็นความพยายามครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งของประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ที่จะช่วยปกป้องโลกใบนี้ และแม้ว่าเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลนี้อาจจะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกที่กำลังป่วยหนักขณะนี้ แต่การสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางบวกเพียงเล็กน้อย ก็สามารถช่วยประสานความเจ็บปวดของโลกและลดการสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าได้อย่างประเมินมูลค่าไม่ได้

เนื้อหาโดยสรุป

  • มหาสมุทรนั้นเต็มไปด้วยความพิเศษ ที่เชื่อมโยงสรรพชีวิต เพราะมหาสมุทรนั้นเปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธุ์ ที่มีความหลากหลายมากกว่าสัตว์ป่าในป่าฝนเขตร้อนเสียอีก
  • ออกซิเจนกว่าครึ่งบนโลกนั้นมาจากมหาสมุทร และเป็นแหล่งอาหารให้กับผู้คนอีกกว่าพันล้านคน เพราะมหาสมุทรสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก จึงทำให้มหาสมุทรเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ดีที่สุดในการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • แผนการช่วยเหลือมหาสมุทรจะช่วยสร้างโครงข่ายพื้นที่คุ้มครอง หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำในมหาสมุทรขนาดใหญ่ ซึ่งในบริเวณนี้มนุษย์จะไม่อนุญาตให้ทำการประมง ทำเหมืองแร่ใต้ทะเล และการทำอุตสาหกรรมอื่นๆ
  • ร่วมแสดงพลังในการผลักดัน เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก เพื่อฟื้นฟูมหาสมุทรให้อุดมสมบูรณ์

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าแผนการนี้จะได้ผลจริง? และเพราะอะไรมันจึงสำคัญ? 

Sardinia, Marine Protected Area of Island of Tavolara - Secca Papa. © Egidio Trainito / Greenpeace
Brown meagre เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ปลาที่สวยที่สุดในบริเวณปหล่งปะการังในทะเลเมดิเตอเรเนียน © Egidio Trainito / Greenpeace

อย่างแรกเลยทำไมเราต้องปกป้องมหาสมุทร? ไกลออกไปจากชายฝั่งหลายร้อยกิโลเมตร มหาสมุทรที่กว้างใหญ่นี้หากดูเผิน ๆ แล้วอาจดูห่างไกลจากวิถีชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา

แต่ความจริงแล้ว มหาสมุทรนั้นเต็มไปด้วยความพิเศษ ที่เชื่อมโยงสรรพชีวิต เพราะมหาสมุทรนั้นเปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธุ์ ที่มีความหลากหลายมากกว่าสัตว์ป่าในป่าฝนเขตร้อนเสียอีก นอกจากนี้ ลึกลงไปใต้มหาสมุทรยังมีภูเขาใต้ทะเลที่สูงที่สุดและยาวที่สุดในโลก ภูเขาเหล่านี้มีร่องลึกคล้ายเหวที่ลึกพอ ๆ กับความสูงของเทือกเขาเอเวอร์เรส ที่นี่เองที่เปรียบเสมือนเส้นทางสำหรับการอพยพย้ายถิ่นฐานของฝูงวาฬและเต่าทะเล

การปกป้องสิ่งมีชีวิตที่น่าอัศจรรย์เหล่านี้คือสิ่งที่เราควรทำ ซึ่งไม่ใช่การปกป้องที่เพียงคำกล่าวอ้างแต่คือการปกป้องทุกชีวิต

ออกซิเจนกว่าครึ่งบนโลกนั้นมาจากมหาสมุทร และเป็นแหล่งอาหารให้กับผู้คนอีกกว่าพันล้านคน เพราะมหาสมุทรสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก จึงทำให้มหาสมุทรเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ดีที่สุดในการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แผนการนี้มีรายละเอียดอย่างไร

แผนการช่วยเหลือมหาสมุทรจะช่วยสร้างโครงข่ายพื้นที่คุ้มครอง หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำในมหาสมุทรขนาดใหญ่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อย่างน้อย 30% ของมหาสมุทรทั้งโลกภายในปี  พ.ศ. 2573 ซึ่งในบริเวณนี้มนุษย์จะไม่อนุญาตให้ทำการประมง ทำเหมืองแร่ใต้ทะเล และการทำอุตสาหกรรมอื่นๆ หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

Protect the Oceans  Photo Exhibition at Welwyn Garden City. ©  Anastasia Yates / Greenpeace
แผ่นพับข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรและสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร ตั้งแต่ขั้วโลกเหนือไปจนถึงขั้วโลกใต้ ที่เรือเอสเพอรันซาของกรีนพีซออกสำรวจ © Anastasia Yates / Greenpeace

เมื่อเราเห็นภาพรวมการเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ก็จะช่วยให้เราเห็นภาพและเข้าใจว่าเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลนี้จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้อย่างไร หากเราดำเนินการตามสิ่งที่เราวางแผนเอาไว้อย่างเต็มรูปแบบแล้ว ก็จะทำให้ทรัพยากรในมหาสมุทรอุดมสมบูรณ์ขึ้น และสามารถรับมือกับภัยคุกคามระดับโลกอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ปัญหามลพิษพลาสติกได้

มีวิธีคัดเลือกพื้นที่อย่างไร ?

ด้วยเหตุนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์จึงใช้ข้อมูลประกอบ อาทิ แหล่งที่อยู่อาศัย ชนิดพันธุ์สิ่งมีชีวิต รูปแบบการทำประมง และรายละเอียดอื่น ๆ เช่น มีภูเขาใต้ทะเลและร่องน้ำลึกใต้ทะเลหรือไม่ เพื่อสร้างทางเลือกหลากหลายรูปแบบ สำหรับเป็นแนวทางในการกำหนดเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล พวกเขายังนำข้อมูลผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและข้อมูลการวิเคราะห์วิธีการปกป้องมาใช้ประกอบการวิเคราะห์อีกด้วย

เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลแตกต่างกับเขตคุ้มครองทั่วไปอย่างไร?

หลายคนอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับเขตคุ้มครองระบบนิเวศมหาสมุทรที่มีอยู่แล้ว  ไม่ว่าจะเป็นเขตคุ้มครองในน่านน้ำของประเทศต่าง ๆ หรือในพื้นที่อนุรักษ์พิเศษ เช่น ในทวีปแอนตาร์กติก

ทว่า เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เขตคุ้มครองเหล่านั้นส่วนใหญ่มักเป็นเพียง “นโยบายบนกระดาษ” เพราะกฎเกณฑ์ที่ร่างขึ้นไม่สามารถปกป้องคุ้มครองมหาสมุทรบริเวณได้ในทางปฏิบัติ เพราะขาดระเบียบข้อบังคับและบทลงโทษที่จริงจัง มีเขตคุ้มครองไม่กี่ที่ซึ่งได้รับการออกแบบมาอย่างเป็นระบบ และสามารถปกป้องมหาสมุทรได้จริง

Dusky Dolphins in the Argentine Sea. © Martin Katz / Greenpeace
ภาพโลมาดัสกี้ (Dusky dolphins ) ในทะเล Argentie ที่ถูกถ่ายได้ระหว่างการสำรวจมหาสมุทรในการรณรงค์ปกป้องมหาสมุทรโลก © Martin Katz / Greenpeace

ทั้งนี้ เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลที่เราเสนอนั้นมีข้อแตกต่างจากเขตคุ้มครองแบบเดิมอยู่ 2 ข้อ ข้อแรกคือเรามั่นใจว่า แผนของเราจะสามารถคุ้มครองสรรพชีวิตได้อย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ เมื่อได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเต็มที่ทั้งในด้านการใช้กฎหมายและในด้านเงินทุน ข้อที่ 2 คือ เรามีแผนที่จะดูแลและปกป้องสิ่งมีชีวิตทางทะเลอย่างเป็นระบบและชัดเจน 

แล้วเราต้องทำอย่างไรเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลแบบนี้จึงจะเกิดขึ้น? 

ในตอนนี้ เรายังไม่สามารถประกาศเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในน่านน้ำสากลได้ นอกเสียจากว่าผู้นำจากหลายประเทศจะร่วมลงนามยินยอมในสนธิสัญญาทะเลหลวง หากเป็นเช่นนั้น เราจะสามารถผลักดันให้เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นได้จริง 

ปัจจุบันมีการเจรจาในประเด็นสนธิสัญญาทะเลหลวงซึ่งจัดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (Unnited Nation หากเหล่าผู้นำโลกลงนามในสนธิสัญญาทะเลหลวงร่วมกัน ก็จะเป็นใบเบิกทางให้เราผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลทั่วโลกให้เกิดขึ้นจริง สนธิสัญญาทะเลหลวงฉบับนี้จะช่วยทำให้องค์การสหประชาชาติร่างแผนการสร้างเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลโดยใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ และจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเต็มที่ที่จะจำกัดอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ทำลายระบบนิเวศในท้องทะเลและมหาสมุทร

อะไรคือความท้าทายในการทำสนธิสัญญาทะเลหลวง ?

ความท้าทายของสนธิสัญญาทะเลหลวง หลักๆ ก็คือกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ลงทุนในมหาสมุทร เช่น อุตสาหกรรมประมงแบบทำลายล้าง หรือมีแผนทำเหมืองแร่ในทะเล บริษัทเหล่านี้ต่างก็คงพยายามอย่างมากที่จะรักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจของตนเองไว้ รวมทั้งรัฐบาลบางประเทศก็ได้รับผลประโยชน์จากกลุ่มดังกล่าว ซึ่งอาจปฏิเสธที่จะการลงนามในสนธิสัญญา

Protect The Oceans Banner in Antarctica. © Andrew McConnell / Greenpeace
นักกิจกรรมกรีนพีซ ชูป้าย “Protect the Oceans” หน้าเรือขนถ่ายฝูง “เคย” จากเรือลำเล็กไปยังเรือแม่ บริเวณเกาะ South Orkney ในแอนตาร์กติก © Andrew McConnell / Greenpeace

เราสามารถช่วยกันสะกัดอุปสรรคเหล่านั้น เหล่าผู้นำทางการเมืองจำเป็นต้องเห็นพลังการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องมหาสมุทรของคนทั้งในประเทศและทั่วโลกที่ออกมาเรียกร้องสนับสนุนการลงนามในสนธิสัญญาทะเลหลวง 

ร่วมแสดงพลังในการผลักดัน เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก เพื่อฟื้นฟูมหาสมุทรให้อุดมสมบูรณ์ และจำกัดการเข้าถึงของอุตสาหกรรมที่ทำลายระบบนิเวศในทะเลและมหาสมุทรโลกร่วมกัน

บทความนี้แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่

https://www.greenpeace.org/international/story/28712/the-bold-new-plan-to-rescue-the-worlds-oceans-explained/

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม