“กะเบอะดิน”

กะเบอะดินเป็นชุมชนเล็กๆชุมชนหนึ่งในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มีประชากรในหมู่บ้านราว 400 คน นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ รวมทั้งการผสมผสานความเชื่อในทางด้านจิตวิญญาณเป็นหลัก ชื่อของหมู่บ้านกะเบอะดิน มาจากคำว่า “กะเบอะ” ซึ่งเป็นชื่อของหม้อชนิดหนึ่งในภาษา “ปกาเกอะญอ” ซึ่งเมื่อมารวมกับคำว่าดินจะแปลว่า “หม้อดิน” ที่ชาวบ้านในหมู่บ้านในสมัยก่อนจะทำปั้นหม้อดินเพื่อขายให้ตามหมู่บ้านต่างๆ จนกระทั่งถูกนำมาตั้งเป็นชื่อของหมู่บ้านแห่งนี้  

วิถีชีวิตของชุมชนบ้านกะเบอะดินได้เชื่อมโยงวิถีชีวิตของพวกเขาเข้ากับทรัพยากรธรรมชาติและธรรมชาติรอบตัวในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการใช้ชีวิตประจำวันหรืออาชีพของชาวบบ้านในชุมชนล้วนต้องพึ่งพิงธรรมชาติไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งรวมแม้กระทั่งพิธีกรรมและความเชื่อของชุมชน แต่ในปัจจุบันหมู่บ้านกะเบอะดินเป็นกลายที่ต้องตาต้องใจของนายทุนซึ่งต้องการจะเข้ามาตักตวงผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ในพื้นที่

“อัตลักษณ์” แห่งชนเผ่าที่มีความพิเศษแตกต่างจากพื้นที่อื่น

“จิตวิญญาณ” ที่จะปกป้องผืนแผ่นดินบ้านเกิด

“ผืนป่า” ที่หล่อเลี้ยงชีวิต

“อัตลักษณ์ จิตวิญญาณ ผืนป่า”

ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาชาวบ้านบ้านกะเบอะดินและหมู่บ้านต่างๆกว่า 500 คน ได้มารวมตัวกันในพิธีบวชป่าจิตวิญญาณของหมู่บ้านกะเบอะดินที่อยู่ในเขตของรัศมีการขอทำเหมืองแร่ถ่านหิน เพื่อปกป้องผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ของพวกเขาไว้และประกาศถึงเจตนารมณ์ที่ไม่เอาเหมืองแร่ถ่านหิน ซึ่งกิจกรรมนี้ได้ผสานเอาวิถีชีวิตของชุมชนและพิธีของศาสนา พุทธ คริสต์ และความเชื่อทางจิตวิญาณเข้าด้วยกัน จนมาเป็นพิธีบวชป่าที่คงไว้ซึ่งความเชื่อ ในชื่อของงานว่า “กะเบอะดิน อัตลักษณ์ จิตวิญญาณ ฝืนป่า”

“ป่าจิตวิญญาณ” คืออะไร ป่าจิตวิญญาณเป็นป่ารอบๆหมู่บ้านที่ชาวบ้านบ้านกะเบอะดินอนุรักษ์เอาไว้ โดยป่าแห่งนี้จะห้ามไม่ให้มีการตัดไม้หรือถางป่าปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อรักษาความอุดสมบูรณ์ของป่าไม้และเป็นแหล่งต้นน้ำ ที่ใช้ในการอุปโภคและบริโภคภายในชุมชน

ภายในงานมีการจัดพิธีกรรมบวชป่าตามความเชื่อของศาสนาพุทธ คริสต์ และความเชื่อทางจิตวิญญาณและเวทีเสวนาเรื่องเหมืองถ่านหินและสิทธิของชุมชน

กะเบอะดิน ฟ้องศาลปกครอง เพิกถอน EIA
ร่วมจับตาโครงการเหมืองถ่านหินกับชุมชนกะเบอะดิน

ร่วมติดตามความคืบหน้าการคัดค้านโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อยผ่าน Facebook Page โดยชุมชนกะเบอะดิน

ติดตาม

“พี่น้องทุกคนมีสิทธิและความเท่าเทียมกันที่จะรักษาสิทธิที่มีไว้ตามกฏหมายตามที่รัฐธรรมนูญได้กล่าวไว้”- สุมิตรชัย หัตถสาร หรือทนายแย้  ทนายความศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น 

“ชุมชนที่นี่มีความพิเศษที่ได้อาศัยความเชื่องโยงของระบบนิเวศและการใช้ชีวิตของคนในชุมชนไว้ด้วยกัน” – ธนากร อัฎฐ์ประดิษฐ์ นักวิชาการอิสระ

“ปัญาหาที่น่าเป็นห่วงของในพื้นที่ก็คือปัญหาเรื่องการใช้น้ำซึ่งถ้าหากมีเหมืงอแร่เกิดขึ้นมาอาจส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำของชาวบ้าน เพราะอาจมีน้ำไม่เพียงพอที่จะทำการเกษตรและการอุปโภคและบริโภค” -สนธยา แสงเพชร เจ้าหน้าที่รณรงค์ยุติถ่านหิน กรีนพีซ ประเทศไทย

ในเวทีการเสวนาได้มีการดำเนินโดยมีล่ามแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาปกาเกอะญอ เพื่อให้ชาวบ้านสามารถได้เข้าใจได้ เนื่องจากชาวบ้านบางคนไม่สามารถเข้าใจหรืออ่านภาษาไทยได้ ซึ่งเนื้อหาในงานได้ให้ความรู้เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนได้ทราบถึงสิทธิและข้อกฏหมายที่ชาวบ้านสามารถเรียกร้องได้ รวมทั้งการเชื่อมโยงถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนต่อระบบนิเวศรอบๆและผลกระทบของเหมืองแร่ถ่านหิน นอกจากนี้ภายในงานได้จัดนิทรรศการบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของชุมชนในสมัยก่อนและการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติของชุมชน

“เมื่อผลกำไรมีคุณค่ามากกว่าชีวิตและสิ่งแวดล้อม”

“กะเบอะดินแมแห้แบ” เป็นคำพูดในภาษา ปกาเกอะอ ที่แปลว่า “กะเบอะดินไม่เอาเหมืองแร่”  ชาวบ้านในหมู่บ้านกะเบอะดินและพื้นที่ใกล้เคียงที่อาจได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ต่างพากันต่อต้านเหมืองแร่ถ่านหินที่จะเกิดขึ้นในหมู่บ้านของพวกเขา 

“ทำไมเขาไม่เห็นใจเรา บ้านเราก็ไม่ได้รวยอะไรแค่ต้องการที่จะใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านของเราหมู่บ้านที่เราเกิด” คำพูดคำพูดหนึ่งของ พาตี่ (ลุง) คนหนึ่งที่ได้แสดงความคิดเห็นและความกังวลต่อโครงการเหมืองแร่ถ่านหินที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ “ถ้าเราไม่หยุดเหมืองแร่เราก็อาจไม่มีบ้านอยู่” คำพูดเหล่านี้หลั่งใหลออกมาจากชาวบ้านที่มารวมงาน ปฏิเสธไปไม่ได้เลยว่าพวกเขานั้นกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเพียงใดหากเกิดโครงการขึ้นจริง รวมถึงการสูญเสียของพื้นที่ป่าต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำยม ผลกระทบที่จะเกิดจากการขนส่งตลอดจนปัญหาการแย่งใช้น้ำระหว่างเหมืองแร่กับชุมชนโดยรอบ 

“กะเบอะดินแมแห้แบ กะเบอะดินไม่เอาเหมืองแร่” คำพูดเหล่านี้ยังคงก้องอยู่ในหูของคนที่ไปร่วมงานที่จะฝังในใจของชาวบ้านและผู้ไปร่วมงานอีกนานเท่านาน เพื่อที่จะส่งเสียงของประชาชนในหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบให้ดังก้องเขาไปถึงผู้คนที่อยู่ภายนอกที่ไม่เคยได้ยินเสียงของพวกเขาเหล่านั้น เสียงที่สื่อความหมายว่าเราจะไม่ยอมแพ้ต่อนายทุนและจะปกป้องบ้านเกิดของเราใว้

“กะเบอะดินแมแห้แบ กะเบอะดินไม่เอาเหมืองแร่”