มลพิษทางอากาศกำลังทำร้ายพวกเราในขณะนี้ พวกเรากำลังหายใจอากาศที่สร้างความเสียหายให้กับอวัยวะส่วนใหญ่ในร่างกายเข้าไป ที่แย่ไปกว่านั้น สาเหตุหลักของมลพิษทางอากาศเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และยังเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศของโลกที่พวกเรากำลังอาศัยอยู่ในขณะนี้
เนื้อหาโดยสรุป
- การเผาถ่านหินไม่เพียงแค่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ทำให้โรคร้อน แต่ยังปล่อยสารอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพออกมา
- การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ต่างจากการเผาถ่านหิน รถยนต์ไม่ว่าจะใช้น้ำมันเบนซินหรือดีเซลล้วนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่น ๆ ที่ส่งผลต่ออุณหภูมิของโลก
- ปีพ.ศ.2562 พบว่าเป็นปีที่มีการลดการใช้ถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้ามากที่สุดตั้งแต่เคยบันทึกมา
แม้ว่าเรากำลังเผชิญกับวิกฤตมลพิษทางอากาศ แต่พวกเราสามารถแก้ไขได้ และผู้คนทั่วโลกก็กำลังแก้ไขวิกฤตนี้อยู่
1.ถ่านหิน

เรารู้กันดีอยู่แล้วว่าการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นเป็นสิ่งไม่ดี แต่ที่เลวร้ายที่สุดคือ การเผาถ่านหิน การเผาถ่านหินจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ต่อหน่วยพลังงานมากกว่าน้ำมันหรือก๊าซ ซึ่งหมายความว่ามันทำให้โลกเราร้อนเร็วขึ้น
การเผาถ่านหินทำให้เกิดสารมากมาย เช่น ปรอท สารหนู และอนุภาคเล็กๆของเขม่าซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ เมื่อเราหายใจในอากาศแบบนี้จะทำให้เกิดอันตรายต่อหัวใจและปอด อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย
ขณะนี้มีการใช้ถ่านหินอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า เราใช้ถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้ามากกว่าหนึ่งในสามของกระแสไฟฟ้าทั่วโลก โรงไฟฟ้าถ่านหินเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศหลายร้อยกิโลเมตรและส่วนใหญ่มักจะอยู่ในศูนย์กลางของเมือง ดังนั้นผู้คนนับล้านมีความเสี่ยงที่จะได้รับมลพิษที่เกิดจากโรงไฟฟ้าเหล่านี้
เราต้องยุติการใช้ถ่านหิน และหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดอย่างพลังงานลม พลังงานงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานมหาสมุทรโดยใช้กระแสน้ำขึ้นน้ำลง
หลายประเทศได้เริ่มไปบ้างแล้ว ในปีพ.ศ.2562 พบว่ามีการลดการใช้ถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้ามากที่สุดตั้งแต่เคยบันทึกมา ซึ่งเราต้องการทุกประเทศทั่วโลกให้หันมาใช้พลังงานหมุนเวียนโดยเร็ว กรีนพีซสากลได้วางแผนไว้ว่าเราจะสามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้อย่างไร
- ในวันที่ฝุ่นควัน PM 2.5 กับปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้าม คุยกับนายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์
- “ฝุ่น” อีกมิติว่าด้วย PM 2.5 : คุยกับศาสตราจารย์ นายแพทย์ชายชาญ โพธิรัตน์ หนึ่งในทีมจัดตั้ง Chiang Mai Air Quality Health Index
2. รถยนต์

รถยนต์ส่วนมากใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ต่างจากการเผาถ่านหิน รถยนต์ไม่ว่าจะใช้น้ำมันเบนซินหรือดีเซลล้วนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่น ๆ ที่ส่งผลต่ออุณหภูมิของโลก นอกจากนั้นไอเสียจากรถยนต์ยังปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเราเช่นกัน
แต่เรามีวิธีที่สามารถเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยไม่ต้องใช้รถยนต์ได้
หลายเมืองทั่วโลกเริ่มตื่นตัวกับการเดินทางโดยไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ ตั้งแต่การเดินเท้าบนทางเดินฟุตบาท ไปจนถึงระบบขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุมและราคาไม่แพง นี่คือสิ่งที่รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีขึ้น เพื่อที่ประชาชนจะได้ใช้งานขนส่งสาธารณะได้อย่างทั่วถึง และมากขึ้น ซึ่งจะเป็นทางออกให้คนใช้รถยนต์น้อยลง และทำให้เราได้อากาศ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วย
แต่ในบางครั้งรถยนต์ยังคงจำเป็นต่อการเดินทาง เราควรริเริ่มที่จะคิดเกี่ยวกับรถยนต์ให้แตกต่างออกไปจากเดิม อาทิเช่น การใช้รถพลังงานไฟฟ้าแทนที่จะใช้รถน้ำมันเบนซินหรือดีเซล รถยนต์พลังงานไฟฟ้าไม่มีการปล่อยควันจากท่อไอเสีย แต่จะปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตรถยนต์และการผลิตไฟฟ้าที่ใช้เพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ ถ้ารถยนต์ไฟฟ้าใช้พลังงานหมุนเวียนในการขับเคลื่อน อัตราการเกิดก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์พลังงานไฟฟ้านั้นก็จะเทียบเท่ากับศูนย์ แต่ประเทศที่ใช้ถ่านหิน อาทิเช่นประเทศโปแลนด์ก็ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ด้วยการลดขนาดรถยนต์ลง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงที่ทำให้การปล่อยมลพิษจากท่อไอเสียลดลงไปด้วย เนื่องจากมีการใช้พลังงานในการผลิตและขับขี่น้อยลง นอกจากนี้การใช้ขนส่งมวลชนแทนการใช้รถส่วนบุคคลก็จะช่วยลดมลพิษได้ด้วยเช่นกัน
3. ชุมชน

มลพิษทางอากาศไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง เป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องช่วยกัน วิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ระบุไว้นั้นเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก และทุกคนต่างร่วมกันเรียกร้องให้เกิดขึ้น
ความกังวลเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศทำให้เกิดความเคลื่อนไหวในหลาย ๆ ที่ เช่น เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน ใช้ไฟฟ้าในการเดินรถของรถโดยสาร, ผู้ปกครองในเบลเยี่ยมมีการรวมตัวกันเพราะอากาศในโรงเรียนสกปรก ตอนนี้เมืองบรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยี่ยม ได้ห้ามใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล และยังมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของขนส่งสาธารณะ และทางจักรยานอีกด้วย ในขณะที่ทั่วโลกกังวลกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากถ่านหิน รัฐบาลได้เล็งเห็นวิธีการใหม่ ๆ ที่จะทำให้เราได้พลังงานมา ตุรกีเองก็ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหิน 5 แห่งภายในปีพ.ศ. 2563
พวกเราคือทางออกของวิกฤตมลพิษทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นใคร เราสามารถร่วมมือและแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ และสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ตอนนี้

กรีนพีซเสนอให้กรมควบคุมมลพิษยกร่างมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศสำหรับประเทศไทยขึ้นใหม่
มีส่วนร่วม
Discussion
วิธีการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ
1 10 วิธีลดจำนวนขยะในบ้าน ช่วยลดโลกร้อน 1เลือกซื้อของที่รีไซเคิลได้ 2ทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร 3แยกประเภทขยะ 4ดัดแปลงนำมาใช้อีกครั้ง 5เลือกใช้ถังขยะใบเล็ก 6นำขยะเปียกไปทิ้งทุกวัน 7เลี่ยงผลิตภัณฑ์ใช้แล้วทิ้ง 8ลดปริมาณการจับจ่ายของใช้ 9รักษาและซ่อมแซม 10. ซื้อของมือสอง 2 7 วิธีลดขยะ ที่ทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น 1. Refuse (ปฏิเสธถุงพลาสติกและโฟม) 2. Recycle (แยกขยะให้เป็นนิสัย) 3. Reuse (ใช้อย่างคุ้มค่า) 4. Refill (เลือกซื้ออะไรที่เติมได้ ลดขยะจากบรรจุภัณฑ์) 5. Repair (ใช้อย่างทะนุถนอม ซ่อมแซมเท่าที่ทำได้) 6. Reduce (ลดการใช้สิ่งต่างๆ) 7. Return (หมุนเวียนมาใช้ใหม่) 3 10 ไอเดีย ลดขยะพลาสติก เริ่มต้นง่ายๆ ได้ที่ตัวเรา ไอเดียรักษ์โลก “แอทโฮม (@home)” 1.กำจัดขยะให้ถูกวิธีด้วยการแยกขยะในบ้าน ด้วยการหาถัง ลิ้นชัก กล่อง ฯลฯ สัก 3-5 ใบ เพื่อแยกเก็บขยะแต่ละประเภท เช่น เศษอาหาร ขวดแก้ว กระดาษ และพลาสติก เพื่อความสะดวกในการนำไปทิ้งและนำไปรีไซเคิล 2.ซื้อสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล โดยมองหาสัญลักษณ์รีไซเคิล 100% ที่ข้างบรรจุภัณฑ์ หรืออย่างน้อย อาจเลือกสินค้าที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ 3.เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านสูตรเข้มข้น เพื่อลดจำนวนบรรจุภัณฑ์พลาสติกลง เช่น ผลิตภัณฑ์ซักผ้าและปรับผ้านุ่ม น้ำยาความสะอาดบ้าน น้ำยาล้างจาน ฯลฯ ไอเดียรักษ์โลก “เอนิแวร์ (Anywhere)” 1.หลีกเลี่ยงจานชามที่ทำจากโฟมหรือพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ 2.พกบรรจุภัณฑ์หรือเครื่องใช้ต่างๆ ติดตัวไปด้วย เริ่มง่ายๆ ด้วยการเตรียมกล่องใส่อาหารไป หากจะซื้อกลับบ้าน หรือพกแก้วน้ำและหลอดส่วนตัวเวลาไปซื้อเครื่องดื่มที่ร้าน นอกจากช่วยลดขยะพลาสติกแล้ว อาจได้ส่วนลดพิเศษด้วย 3.พกถุงผ้าไว้ใส่ของแทนการขอถุงพลาสติกจากร้านค้า 4.เลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการรักษ์โลกตั้งแต่ต้นทางของผู้ผลิต ไอเดีย “ล้างจานรักษ์โลก” 1.ขจัดความมันและคราบอาหารบนเครื่องครัวและภาชนะต่างๆ ก่อนล้าง ถ้ามีคราบอาหารที่ฝังแน่นอยู่ ให้แช่น้ำร้อนไว้สักครู่ จะช่วยเบาแรงและประหยัดน้ำได้มากขึ้น 2.เริ่มล้างจากจานชามที่มีคราบเบา ไปจนถึงภาชนะที่มีคราบหนักๆ ทำให้ประหยัดเวลาเพราะไม่ต้องล้างฟองน้ำบ่อย และใช้น้ำยาล้างจานและน้ำในการทำความสะอาดน้อยลง 3.ใช้หัวก๊อกแบบที่ช่วยกระจายน้ำเพราะจะทำให้ใช้น้ำน้อยลงแต่ทำความสะอาดได้ดีขึ้น และควรปิดน้ำตอนล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างจาน แล้วจึงเปิดน้ำตอนล้างน้ำเปล่าพร้อมกันทีเดียว ไม่ควรล้างทีละใบ เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำ