แม้ว่าพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-Use Plastic) จะถูกผลิตขึ้นมาเพื่อความสะดวกสบายต่อชีวิตมากขึ้น แต่พลาสติกชิ้นนั้นกลับใช้เวลานานในการย่อยสลายและส่งผลกระทบมากมาย แต่เราแก้ปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นได้

Plastic Brand Audit ณ หาดไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต. © Songwut Jullanan / Greenpeace
Brand Audit on Wonnapa Beach in Chonburi, Thailand. © Wason Wanichakorn / Greenpeace

เราทำอะไรได้บ้าง

การร่วมแก้ปัญหาจากผู้กำหนดนโยบายทั่วโลก : ผู้นำทั่วโลกต้องผลักดันให้สนธิสัญญาพลาสติกโลกเกิดขึ้นจริง สนธิสัญญาดังกล่าวจะต้องมีเป้าหมายในการลดการผลิตพลาสติกลงอย่างน้อยร้อยละ 75 ภายในปี 2583 เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส


การแก้ปัญหาจากภาคเอกชน : กรีนพีซเรียกร้องให้แบรนด์ผู้ผลิตเหล่านี้เข้ามารับผิดชอบผลิตภัณฑ์ที่แบรนด์ได้ก่อขึ้นคือข้อเรียกเสนอหลักการ การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Polluter Responsibility : EPR)

การแก้ปัญหามลพิษพลาสติกด้วยหลักการ 7R : เป็นหลักการเพื่อย้ำเตือนพฤติกรรมการบริโภคของเราให้ตระหนักรู้เท่าทันการจับจ่ายซื้อสินค้าของตนเอง และมองหาสิ่งอื่นก่อนการตัดสินใจกดสั่งซื้อสินค้าทุกครั้ง และเป็นหลักการที่มีประสิทธิภาพหากผู้บริโภคสามารถลดใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งไปตามลำดับความสำคัญคือ Reduce, Reuse, Refill, Return, Repair/Repurpose, Replace และ Recycle

Waitrose Refill Station in Oxford. © Isabelle Rose Povey / Greenpeace