มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของเมืองในประเทศไทย ช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน พ.ศ.2560

**ข้อมูลค่าฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ 14 จังหวัด เป็นการรวบรวมข้อมูลจากสถานีตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560

จากข้อมูลของสถานีตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษ 19 สถานีทั่วประเทศ1 กรีนพีซทำการประมวลค่าเฉลี่ยของความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2560 โดยมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

  1. ความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ย 6 เดือน มีค่าสูงสุด 44 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร(มก./ลบ.ม) ที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และมีค่าต่ำสุด 13 มก./ลบ.ม ที่เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เมื่อนำมาเทียบกับค่าเฉลี่ย 1 ปี ของ PM2.5 พบว่า ทั้ง 14 เมือง มีความเข้มข้นของ PM2.5 เกินค่ามาตรฐานที่แนะนำไว้โดยองค์การอนามัยโลก (ไม่เกิน 10 มก./ลบ.ม) และมีเพียง 4 เมืองจาก14 เมือง ที่มีค่าความเข้มข้นของ PM2.5 ไม่เกินค่ามาตรฐานค่าเฉลี่ย 1 ปีของประเทศไทย(ไม่เกิน 25 มก./ลบ.ม) สอดคล้องกับการประเมินสถานการณ์คุณภาพอากาศในร่างแผนยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพอากาศ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) โดยกรมควบคุมมลพิษที่ระบุไว้ในบทที่ 2 ของร่างแผนฯ ว่า “จากการติดตามตรวจสอบพบว่าปริมาณ PM2.5 ในหลายพื้นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน”
  2. ความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ย 6 เดือน และความเข้มข้นสูงสุดรายเดือนของ PM2.5 ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2560 สะท้อนให้เห็นว่า “ความเข้มข้นของ PM2.5 ในพื้นที่เมือง” ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs) ยังอยู่ในระดับแย่ ดังนั้น ร่างแผนยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพอากาศ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) จะต้องให้ความสำคัญโดย (1) ปรับเปลี่ยนดัชนีคุณภาพอากาศให้สอดคล้องและใกล้เคียงอย่างที่สุดกับข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก(WHO Guideline) โดยกำหนดให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) เป็นสารมลพิษทางอากาศหลักในการคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศ และ (2)ปรับมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปที่สอดคล้องและใกล้เคียงอย่างที่สุดกับข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงอากาศสะอาด เมื่อพิจารณาถึงข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก ค่ามาตรฐาน 1 ปี PM2.5 ของประเทศไทยอยู่ที่ 25 มก./ลบ.ม สูงกว่าค่ามาตรฐาน PM2.5 ขององค์การอนามัยโลก 2.5 เท่า ส่วนค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง PM2.5 ของประเทศไทยอยู่ที่ 50 มก./ลบ.ม ซึ่งสูงกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก

http://aqmthai.com/public_report.php นับตั้งแต่ครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2559 กรมควบคุมมลพิษติดตั้งเครื่องวัด PM2.5 เพิ่มเติมใน 7 จุด จนถึงปัจจุบันมีสถานีตรวจวัดค่า PM2.5 รวมกันเป็น 19 สถานีทั่วประเทศ

ทุกคนมีสิทธิในเข้าถึงอากาศสะอาด ถึงเวลาที่รัฐบาลไทยต้องลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังต่อปัญหาเร่งด่วน ด้านสุขภาพนี้และสร้างแผนปฏิบัติการที่หนักแน่นกว่าที่เป็นอยู่เพื่อทําให้อากาศดีขึ้น ลดมลพิษและช่วยชีวิตคน กรีนพีซเรียกร้องให้ :

กรมควบคุมมลพิษ

  • ติดตั้งตรวจวัดและรายงานPM2.5ในทุกสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่มีอยู่61แห่งใน29 จังหวัดทั่วประเทศ ผ่านทางเว็บไซต์ Air4thai.pcd.go.th และโมบายแอพพลิเคช่ัน Air4Thai
  • ใช้ค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน2.5ไมครอนในการคํานวณดัชนีคุณภาพอากาศ (PM2.5 AQI)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  • ภายใต้วิสัยทัศน์ภูมิภาคอาเซียนปลอดหมอกควันภายในปี2563(Haze-freeASEANby2020) นอกเหนือจากการควบคุมและป้องกันการเผาวัสดุการเกษตรในพื้นที่เพาะปลูก ป่าไม้ และพื้นที่ สงวนแล้ว จะต้องรับประกันว่ามีการติดตามตรวจสอบและรายงานความเข้มข้นของฝุ่นละออง ขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) และสารมลพิษทางอากาศอื่นๆ ที่เป็นภัยคุกคามสุขภาพ อนามัยของประชาชน เช่น โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน(PAHs) โดยสาธารณชน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้

กรมควบคุมมลพิษและกระทรวงสาธารณสุข 

  • ปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2),ออกไซด์ของไนโตรเจน(NOx)และฝุ่น ละอองขนาดเล็กทั้ง PM10 และ PM2.5 ให้สอดคล้องกับข้อแนะนําขององค์การอนามัยโลก

กรมควบคุมมลพิษและกรมโรงงานอุตสาหกรรม

  • กําหนดค่ามาตรฐานPM2.5และปรอทที่แหล่งกําเนิดที่อยู่กับที่รวมถึงการตรวจวัดและรายงาน การปล่อย PM2.5 และปรอทจากปล่องโรงไฟฟ้า

กระทรวงพลังงานกระทรวงคมนาคมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสภา อุตสาหกรรมยานยนต์

  • ส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงสะอาดในภาคการขนส่งให้มากขึ้น(Clean Fuel & Renewable fuel)
  • ส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่มากขึ้น(Traffic management & Mass Transportation System)
  • บริหารจัดการด้านการใช้พลังงานในภาคการขนส่งทางถนนโดยการปรับปรุงระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานมากขึ้น
  • บริหารจัดการอุปสงค์เพื่อลดการเดินทางที่ไม่จําเป็นสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะและรูปแบบการขนส่งสินค้าที่ประหยัดพลังงาน
  • จัดการสิ่งแวดล้อมด้านการขนส่งทางถนนโดยการส่งเสริมให้มีการพัฒนาและใช้พลังงานสะอาด การสนับสนุนการใช้จักรยาน การเดิน ยานพาหนะไฟฟ้าและการส่งเสริมการขับขี่ที่ประหยัดเชื้อ เพลิง (Eco driving)

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่นี่

Air Pollution in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace
ขออากาศดีคืนมา

กรีนพีซเสนอให้กรมควบคุมมลพิษยกร่างมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศสำหรับประเทศไทยขึ้นใหม่

มีส่วนร่วม