มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของเมืองในประเทศไทย ช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน พ.ศ.2560

รายงานสถานการณ์มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ใน 14 เมืองของประเทศไทยปี พ.ศ.2560 ประมวลผลจากการรายงานข้อมูลของสถานีตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษ 19 สถานีทั่วประเทศมีผลสรุปและข้อสังเกตดังนี้

  • หากพิจารณาตามค่าเฉลี่ยรายปี ค่าเฉลี่ยสูงสุดรายเดือน และจำนวนวันที่เกินค่ามาตรฐาน รวมกัน เมืองที่มีมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)  5 อันดับแรกคือ สระบุรี(ตำบลหน้าพระลาน) กรุงเทพฯ(ถ. อินทรพิทักษ์ ธนบุรี) สมุทรสาคร(เมือง) ราชบุรี(สนง.สิ่งแวดล้อมภาค 8) และเชียงใหม่(ต.ศรีภูมิ อ.เมือง)
  • ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน 19 แห่ง ในปี พ.ศ.2560 ทุกพื้นที่ (ยกเว้นดินแดงที่เครื่องวัดไม่ทำงาน) มีค่าเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 เกินระดับที่ีกำหนดโดยองค์การอนามัยโลก(ที่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และ 9 พื้นที่มีค่าเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 เกินค่ามาตรฐานของประเทศไทยซึ่งกำหนดไว้ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • จนถึงสิ้นปี พ.ศ.2560 มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน  (PM2.5) ซึ่งดำเนินงานโดยกรมควบคุมมลพิษรวม 25 สถานีทั่วประเทศ เพิ่มจากปี พ.ศ. 2558 ที่มีอยู่ 12 สถานี แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญที่เพิ่มมากขึ้นต่อปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ของประเทศไทย ความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5)ในพื้นที่เมือง ยังคงเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่อยู่ในระดับแย่และยังไม่มีเป้าหมายรับมือ
  • การที่มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่เมืองยังอยู่ในระดับแย่และ หลายพื้นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน จำเป็นอย่างยิ่งที่ร่างแผนยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพอากาศ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ของรัฐบาลจะต้องให้ความสําคัญเป็นอันดับแรกในการ (1) ปรับดัชนีคุณภาพอากาศให้ สอดคล้องและใกล้เคียงอย่างที่สุดกับข้อแนะนําขององค์การอนามัยโลก(WHO Guideline) โดยกําหนดให้ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) เป็นสารมลพิษทางอากาศหลักในการคํานวณดัชนี คุณภาพอากาศ และ (2) ปรับมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปให้เป็นไปตามข้อแนะนํา ขององค์การอนามัยโลกเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงอากาศสะอาด

1 http://aqmthai.com/public_report.php จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2560 กรมควบคุมมลพิษติดตั้งเครื่องวัด PM2.5 เพิ่มเติม รวมทั้งหมดเป็น 25 สถานีทั่วประเทศ
2 http://thaipublica.org/2017/03/sdgindex
3 เมื่อ พิจารณาถึงข้อแนะนําขององค์การอนามัยโลก ค่ามาตรฐาน 1 ปี PM2.5 ของประเทศไทยอยู่ที่ 25 มก./ ลบ.ม สูงกว่าค่ามาตรฐาน PM2.5 ขององค์การอนามัยโลก 2.5 เท่า ส่วนค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง PM2.5 ของ ประเทศไทยอยู่ที่ 50 มก./ลบ.ม ซึ่งสูงกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก

ข้อเสนอของกรีนพีซ

ทุกคนมีสิทธิในเข้าถึงอากาศสะอาด ถึงเวลาที่รัฐบาลไทยต้องลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังต่อปัญหาเร่งด่วน ด้านสุขภาพนี้และสร้างแผนปฏิบัติการที่หนักแน่นกว่าที่เป็นอยู่เพื่อทำให้อากาศดีขึ้น ลดมลพิษและช่วยชีวิตคน กรีนพีซเรียกร้องให้ ;

กรมควบคุมมลพิษ

  • ติดตั้ง ตรวจวัดและรายงาน PM2.5 ในทุกสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่มีอยู่ 61 แห่งใน 29 จังหวัดทั่วประเทศ ผ่านทางเว็บไซต์ Air4thai.pcd.go.th และโมบายแอพพลิเคชั่น Air4Thai
  • ใช้ค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในการคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศ (PM2.5 AQI)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  • ภายใต้วิสัยทัศน์ภูมิภาคอาเซียนปลอดหมอกควันภายในปี 2563 (Haze-free ASEAN by 2020) นอกเหนือจากการควบคุมและป้องกันการเผาวัสดุการเกษตรในพื้นที่เพาะปลูก ป่าไม้ และพื้นที่สงวนแล้ว จะต้องรับประกันว่ามีการติดตามตรวจสอบและรายงานความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) และสารมลพิษทางอากาศอื่นๆ ที่เป็นภัยคุกคามสุขภาพอนามัยของประชาชน เช่น โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน(PAHs) โดยสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้

กรมควบคุมมลพิษและกระทรวงสาธารณสุข

  • ปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2), ออกไซด์ของไนโตรเจน(NOx)และฝุ่นละอองขนาดเล็กทั้ง PM10 และ PM2.5 ให้สอดคล้องกับข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก

กรมควบคุมมลพิษและกรมโรงงานอุตสาหกรรม

  • กำหนดค่ามาตรฐาน PM2.5 และปรอทที่แหล่งกำเนิดที่อยู่กับที่ รวมถึงการตรวจวัดและรายงานการปล่อย PM2.5 และปรอทจากปล่องโรงไฟฟ้า

กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสภาอุตสาหกรรมยานยนต์

  • ส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงสะอาดในภาคการขนส่งให้มากขึ้น (Clean Fuel & Renewable fuel)
  • ส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่มากขึ้น(Traffic management & Mass Transportation System)
  • บริหารจัดการด้านการใช้พลังงานในภาคการขนส่งทางถนน โดยการปรับปรุงระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานมากขึ้น
  • บริหารจัดการอุปสงค์เพื่อลดการเดินทางที่ไม่จำเป็น สนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะและรูปแบบการขนส่งสินค้าที่ประหยัดพลังงาน
  • จัดการสิ่งแวดล้อมด้านการขนส่งทางถนนโดยการส่งเสริมให้มีการพัฒนาและใช้พลังงานสะอาด การสนับสนุนการใช้จักรยาน การเดิน ยานพาหนะไฟฟ้าและการส่งเสริมการขับขี่ที่ประหยัดเชื้อเพลิง (Eco driving)

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่นี่

Air Pollution in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace
ขออากาศดีคืนมา

กรีนพีซเสนอให้กรมควบคุมมลพิษยกร่างมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศสำหรับประเทศไทยขึ้นใหม่

มีส่วนร่วม