การเผาไหม้ถ่านหินมีมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษ และถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงตามที่ได้มีการบันทึกไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1653 ซึ่งใช้ในการขับเคลื่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมโดยเริ่มจากประเทศสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรก และขยายไปทั่วทั้งโลกในเวลาต่อมา โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาคือโรงไฟฟ้า เพิร์ล สตรีท สเตชั่น (Pearl Street Station) ตั้งขึ้นบริเวณชายฝั่งทางทิศตะวันออกของแม่น้ำในมหานครนิวยอร์กในเดือนกันยายน พ.ศ.2425 หลังจากนั้นไม่นานถ่านหินก็กลายมาเป็นวัตถุดิบหลักของอุตสาหกรรมทั่วโลก

ในปัจจุบันถ่านหินเกือบร้อยละ 40 ถูกนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าทั่วโลก อย่างไรก็ตามการเผาไหม้ของถ่านหินเป็นสิ่งที่ให้โทษอย่างร้ายแรงที่สุดต่อโลก เพราะทำลายสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถสร้างทดแทนได้ รวมถึงสุขภาพของมนุษย์และสังคมต่างๆทั่วโลก อุตสาหกรรมถ่านหินไม่ได้เป็นผู้เสียหายจากสิ่งที่ก่อขึ้น แต่โลกโดยรวมกลับเป็นผู้ได้รับความเสียหาย และนั่นคือต้นทุนที่ถือว่าเป็นต้นทุนที่จริงของถ่านหินที่รายงานฉบับนี้เปิดเผย และแสดงให้เห็นผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม รวมถึงจำนวนผู้ได้รับผลกระทบนั้น

ความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นหมายถึงการใช้ปริมาณพลังงานถ่านหินที่สูงขึ้น และเป็นอัตราที่น่าตกใจ เพราะในระหว่างปีพ.ศ. 2542ถึง พ.ศ. 2549 การใช้ถ่านหินทั่วโลกเติบโตขึ้นร้อยละ 30 เป็นการเพิ่มขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ ถ้าเรายังไม่ลดการพึ่งพาพลังงานจากสิ่งที่สกปรกที่สุดอย่างเชื้อเพลิงฟอสซิล ความจริงคือถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานที่มีมลพิษมากที่สุด และเป็นแหล่งที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าแหล่งพลังงานอื่นๆในโลก โดยคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณ 11พันล้านตันของทั่วโลก จะถูกปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในแต่ละปี

ในปี พ.ศ. 2548 มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากเชื้อเพลิงฟอสซิลออกมาร้อยละ 41 และหากแผนการสร้างโรงงานถ่านหินแห่งใหม่ได้รับการอนุมัติ จะทำให้การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากถ่านหิน เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ60 ในปีพ.ศ. 2573

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นภัยคุกคามทางสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงที่สุดต่อผู้คนและเศรษฐกิจ ที่โลกที่ไม่เคยได้ประสบมาก่อน ประชาชนหลายล้านคนได้รับรู้ถึงผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงแล้ว และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 150,000 คนต่อปีจากผลกระทบนี้ ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วโลก อันรวมถึงภัยแล้ง อุทกภัยและการย้ายถิ่นที่อยู่ของประชากรจำนวนมากเนื่องจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เราต้องจำกัดให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นสูงสุดไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส (เมื่อเทียบกับระดับในช่วงก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม) ในการนี้ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือIPCC ระบุในรายงานการประเมินครั้งที่ 4 ว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะต้องเพิ่มขึ้นสูงที่สุดปีพ.ศ. 2558

เมื่อถึงตอนนั้น ไม่ว่าเราจะจัดการกับปัญหาถ่านหินได้สำเร็จหรือล้มเหลวลง  แต่ เจมส์ แฮนเซน นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของนาซ่าก็ได้กล่าวว่า”วิธีที่สำคัญที่สุดเพียงวิธีเดียวในการจัดการปัญหาทางด้านภูมิอากาศก็คือ  คือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากถ่านหิน ซึ่งเป็นความเห็นที่ถูกยกขึ้นมากล่าวครั้งแล้วครั้งเล่าจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก”

ทำไมการเผยแพร่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหินจึงสำคัญ ?

ถ่านหินอาจจะเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ถูกที่สุดในตลาด แต่ราคาตลาดเป็นแค่เพียงครึ่งหนึ่งของเรื่องทั้งหมด ราคา ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เริ่มจากต้นทุนการทำเหมืองและต้นทุนการขายปลีก ไปถึงภาษีที่รัฐเรียกเก็บ และรวมถึงกำไร แต่ไม่ได้คำนึงถึงภาษีและต้นทุนที่สูงที่สุดของถ่านหิน นั่นคือ ความเสียหายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากถ่านหิน และหากต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหินที่เกิดกับประเทศต่างๆและประชาชนทั่วโลกสะท้อนให้เห็นอยู่ในราคาตลาดแล้ว การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่เพิ่มขึ้นก็จะแตกต่างจากปัจจุบันนี้มาก

ผลกระทบนี้ไม่ได้เริ่มต้นและจบเพียงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กระบวนการทั้งหมดเริ่มจากการทำเหมืองไปจนถึงกระบวนการเผาไหม้เพื่อกำจัดของเสียที่เป็นผลกระทบที่ร้ายแรงอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพของคน โครงสร้างทางสังคมของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใกล้กับเหมือง โรงไฟฟ้าหรือบริเวณที่ทิ้งขยะ สิ่งเหล่านี้รบกวนระบบนิเวศ และทำให้แหล่งน้ำถูกเจือปนไปด้วยสารพิษ อีกทั้งยังปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ไนโตรเจนออกไซด์ มีเทน คาร์บอนดำ (Black Carbon) และสารเคมีเป็นพิษ เช่น ปรอท และสารหนู การรั่วไหลของสารเคมีเหล่านี้จะทำลายประชากรสัตว์นำ้ การเกษตร รวมถึงวิถีการดำรงชีวิต อีกทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพ เช่น โรคฝุ่นจับปอด (Black lung disease) เหล่านี้ไม่ได้รวมอยู่ในต้นทุนของถ่านหิน ซึ่งถือเป็น “ต้นทุนภายนอก”

ซึ่งมีสังคมเป็นผู้รับภาระอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และบ่อยครั้งโดยประชาชนที่มีฐานะยากจนที่สุด ประชาชนหลายพันคนในเมืองจาร์เรีย ประเทศอินเดีย ที่อาศัยอยู่บริเวณรอบๆพื้นที่ย่อยสลายถ่านหิน ต้องทนอยู่กับสภาพความเป็นอยู่ที่น่ากลัวอันเนื่องมาจากไฟถ่านหินที่ไม่สามารถควบคุมได้

Close-up Coal. © Greenpeace / Jiri Rezac

Close-up view of imported coal on the quayside in the port of Gijon.

สภาพการทำเหมืองที่ไม่ปลอดภัยในประเทศรัสเซียหมายถึงความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของคนงานจำนวนมาก การทำเหมืองในรัฐคูยาเวีย ปอมเมอร์ราเนียร์ (Kuyavia Pomeraniar) ในประเทศโปแลนด์ ส่งผลทำให้ระดับน้ำในทะเลสาบออสโทรวสกี้ (Ostrowskie) ลดลงอย่างรวดเร็ว และยังมีตัวอย่างความเสียหายอีกไม่รู้จบ ในทางเศรษฐกิจ การนำถ่านหินมาใช้อย่างต่อเนื่องก็เหมือนกับระเบิดเวลาดีๆ ลูกหนึ่ง การวิเคราะห์ขั้นต้นเกี่ยวกับต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหินของกรีนพีซ ภายใต้การกำกับของสถาบันวิจัย ซีอี เดลฟท์ (CE Delft) ในเนเธอร์แลนด์ แสดงให้เห็นถึงความเสียหายจากการครอบครองถ่านหิน เป็นมูลค่าประมาณ 360พันล้านยูโรในปีพ.ศ. 2550 (จากต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหิน จะเห็นได้ว่าเป็นการประเมินที่ตำ่เกินไป เนื่องจากไม่ใช่ตัวเลขความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริงจากถ่านหิน แต่อย่างไรก็ ตามผลการศึกษาดังกล่าวก็ทำให้เราทราบถึงระดับความเสียหายที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งต่อพวกเราเองและต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการยังคงทำเหมืองและเผาไหม้ถ่านหินต่อไป

เมื่อโรงไฟฟ้าถ่านหินถูกสร้างขึ้น ต้นทุนภายนอกก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เราพูดถึงจำนวนเงินมหาศาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องต่อสู้กับภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ของถ่านหิน

รายงานเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศของสเสทิร์น (the Stern Review on the Economics of Climate Change)ที่จัดทำขึ้นในปีพ.ศ. 2549ยืนยันว่าจะต้องนำเงินร้อยละ 1 ของมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีของทั่วโลกในแต่ละปีมาลงทุนในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพิ่มเป็นร้อยละ 2 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551

นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่า ต้นทุนที่จะต้องใช้ในการต่อสู้กับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5 – 20 ของจีดีพีทั่วโลก ภายในปีพ.ศ. 2643

และนี่เป็นเรื่องเร่งด่วน ต้นทุนที่แท้จริงของถ่านหินเป็นสิ่งย้ำเตือนถึงความจำเป็นที่จะต้องลงมือทำเพื่อหลีกเลี่ยงผลที่ตามมาของพลังงานถ่านหินในอนาคต รัฐบาลส่วนมากในโลกตอบสนองต่อประเด็นนี้อย่างล่าช้ามาก ในขณะที่สังคมทั่วโลกกำลังเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้ยุติถ่านหิน ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่แข็งแกร่ง มีพลัง และกำลังได้รับแรงผลักดันอย่างมาก

ข่าวดีก็คืออนาคตที่ปราศจากถ่านหินสามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากโดยหลักการแล้ว ทุกวันนี้โลกมีพลังงานหมุนเวียนที่เข้าถึงได้ง่ายมากกว่าความต้องการใช้พลังงานปัจจุบันถึง 6 เท่า

ตัวอย่างเช่น มีการประมาณการณ์ไว้ว่า เพียงแหล่งพลังงานลมของโลกอย่างเดียวสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่คาดการณ์ไว้สำหรับปีพ.ศ. 2563 ถึงสองเท่า ร่างรายงานการปฏิวัติพลังงานของกรีนพีซแสดงให้เห็นว่า การใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนร่วมกับประสิทธิภาพพลังงานที่เพิ่มขึ้น จะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ถึงร้อยละ 50 และสามารถให้พลังงานได้ครึ่งหนึ่งของความต้องการใช้พลังงานทั่วโลกภายในปีพ.ศ. 2593 การขับเคลื่อนอนาคตไปสู่พลังงานหมุนเวียน สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 180 พันล้านต่อปีเมื่อเทียบกับการใช้ปกติ นี่คือสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) สำหรับปีพ.ศ. 2558

ถ่านหินเคยเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่ขณะนี้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดจะเข้ามาแทนที่และผลักดันให้เกิดการปฏิวัติพลังงานครั้งใหม่ เพื่อช่วยโลกรอดจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อ่านหรือดาวน์โหลดรายงาน ที่นี่


แปลและเรียบเรียงโดย กานต์ธิดา กันทา อาสาสมัครกรีนพีซในโครงการแปลเปลี่ยนโลก

Fundraising Team in Manila. © Geric Cruz / Greenpeace
ร่วมบริจาค

ด้วยความช่วยเหลือจากคุณ ทำให้เราสามารถใช้วิธีการที่สร้างสรรค์อย่างสันติ เปิดโปงการทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องมหาสมุทร ป่าไม้ แหล่งน้ำ อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งล้วนเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกชีวิตบนโลกใบนี้

มีส่วนร่วม