เหมืองถ่านหินของบริษัทบ้านปูฯ จำกัด (มหาชน) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เป็นรอยแผลที่บาดลึกและยากเกินจะเยียวยาของผู้คนในจังหวัดกาลิมันตัน อินโดนีเซีย ไม่ว่าจะเป็นการทำลายป่า การปนเปื้อนมลพิษในแหล่งน้ำและผืนดิน รวมไปถึงการละเมิดสิทธิชุมชน

อ่านหรือดาวน์โหลดรายงาน “ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม จากการลงทุนถ่านหินของบริษัทไทยในอินโดนีเซีย” ที่นี่

Read or download English version here

เงินลงทุน 6.48 พันล้านบาทที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.) พิจารณาอนุมัติการเปิดขายหุ้นให้แก่บริษัท บ้านปู พาวเวอร์ จำกัด (บริษัทในเครือชองบ้านปู) จะถูกนำไปลงทุนขยายธุรกิจอุตสาหกรรมถ่านหินทั้งในและต่างประเทศนี้ยังไม่รวมถึงต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม(ต้นทุนภายนอก) รายงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ระบุถึงต้นทุนภายนอกว่า มลพิษทางอากาศหลากชนิดจากโรงไฟฟ้าถ่านหินก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนนับล้านชีวิตและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและนำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชาชนในแต่ละประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

บ้านปูมีศักยภาพในการลงทุนพลังงานหมุนเวียนแทนถ่านหิน และมีความพร้อมที่จะเปลี่ยนการลงทุนจากถ่านหินสู่พลังงานหมุนเวียนได้ เต็มร้อยในอีก 5 ปีนับจากนี้ จากเดิมที่บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ตั้งเป้าหมายการลงทุนพลังงานหมุนเวียนเพียงร้อยละ 20 ในปี 2568 ซึ่งหากบ้านปูทำได้ จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญสู่การลงทุนพลังงานที่ยั่งยืน ไม่ทำร้ายคนและสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์วิสัยทัศน์ขอบ้านปูที่มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียอย่างแท้จริง

เทปบันทึกงานเสวนา

“บนเส้นทางสู่ความยั่งยืน : การลงทุนพลังงานและธรรมาภิบาลเพื่อการเปลี่ยนผ่าน” การลงทุน ความเสี่ยง อนาคตพลังงานของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังเดินหน้าไปในทิศทางใด เพื่อความยั่งยืนทางพลังงานของประเทศไทย

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2559 เวลา เวลา 09:00-16.45 น. สถานที่ห้อง Auditorium 801 ชั้น 7 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ่านรายละเอียดงานเสวนาเพิ่มเติม ที่นี่