การวิเคราะห์ข้อมูลนำเข้า-ส่งออกจาก 21 ประเทศผู้ส่งออก และ 21 ประเทศผู้นำเข้า 23 เมษายน พ.ศ.2562

นโยบายของจีนในปี พ.ศ.2561 ที่ห้ามนำเข้าพลาสติกรีไซเคิลผสมทำให้ระบบรีไซเคิลทั่วโลกต้องสะเทือนโดยเผยให้เห็นลักษณะที่เป็นอันตรายและสิ้นเปลืองของระบบการค้าขยะรีไซเคิล ผลสะเทือนนี้เกิดขึ้นทั้งโลก และในปัจจุบันพลาสติกยังไม่มีสถานที่ใดที่เหมาะสมที่จะไป

แนวโน้มหลัก 2 ประการที่เกิดขึ้นจากการห้ามนำเข้าขยะพลาสติกของจีน: (1) พลาสติกส่วนใหญ่เปลี่ยนเส้นทางไปยังประเทศ/ภูมิภาคที่มีการควบคุมที่ไม่เข้มงวดโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในพื้นที่อื่นๆ ที่ขาดกฏเกณฑ์ที่เพียงพอในการยุติการนำเข้า หรือไม่มีขีดความสามารถที่แท้จริงในการจัดการของเสีย (2) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559-2561 การส่งออกพลาสติกทั้งหมดทั่วโลกลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง ปัจจุบัน ประเทศผู้ส่งออกรายเดิมต้องเจอกับขยะทั้งส่วนที่ไม่แปรรูปและแปรรูปไม่เพียงพอ ตกค้างในประเทศของตน  ข่าวสารในช่วงนี้จะนำเสนอการหยุดชะงักลงของการรีไซเคิลและระบบจัดการของเสียภายในท้องถิ่น ทั้งในแง่ของการเก็บรวบรวม[1] และในแง่ของการนำวัสดุ     รีไซเคิลไปหลุมฝังกลบและโรงงานเผาขยะ[2] การเก็บสำรอง[3] และการส่งออกที่ผิดกฎหมาย[4],[5]

การวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งมีรายละเอียดการส่งออกและนำเข้าขยะพลาสติกโดย 21 ประเทศผู้ส่งออกมากที่สุด และ 21 ประเทศผู้นำเข้ามากที่สุดตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2559 ถึงพฤศจิกายน พ.ศ.2561 นี้ได้ประเมินถึงวิกฤตพลาสติก และการตอบรับของอุตสาหกรรมทั่วโลกที่มีต่อการห้ามนำเข้า(ของจีน) นั่นคือ การส่งออกเปลี่ยนเส้นทางไปยังประเทศผู้นำเข้าที่ไม่มีการควบคุมในลักษณะที่รวดเร็วแต่   ไร้ประสิทธิภาพ

มาเลเซีย เวียดนาม และไทยกลายเป็นจุดหมายปลายทางแรกๆ ของการค้าขยะพลาสติก หลังจากจีนประกาศห้ามนำเข้าขยะ ภายใน 6 เดือนซึ่งได้รับผลกระทบจากคำสั่งห้ามนี้ ช่วงกลางปี พ.ศ.2561 ประเทศข้างต้นได้ออกกฏควบคุมของตนเองขึ้น ทำให้การส่งออกขยะพลาสติกทั่วโลก (ส่วนใหญ่มาจากสหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น) เปลี่ยนเส้นทางการส่งออกขยะทั้งหมดไปยังอินโดนีเซียและตุรกี ซึ่งเป็น 2 ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ของโลกในปัจจุบัน รายงานเน้นย้ำให้เห็นถึงความล้มเหลวของการรีไซเคิล(จากการที่ขยะพลาสติกถูกส่งไปยังประเทศปลายทางที่ขาดมาตรการควบคุมและการสะสมของขยะพลาสติกในประเทศต้นทาง) ซึ่งจะเกิดแรงกดดันมากยิ่งขึ้น หากการผลิตพลาสติกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 40 ในทศวรรษหน้า[6]

อ่านหรือดาวน์โหลดรายงานที่นี่


[1] Trashed: China is forcing small-town America to stop recycling, https://www.scmp.com/news/world/united-states-canada/article/2183075/trashed-china-forcing-small-town-america-stop

[2] Recycling: Where is the plastic waste mountain? https://www.bbc.com/news/science-environment-46566795

[3] Japan finds itself buried in plastic waste after China stops importing world’s trash, https://www.rt.com/business/441847-japan-plastic-ban-china/

[4] Tons of illegally imported plastic waste found in Lat Krabang district, http://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/WNSOC6106020010019

[5] Philippines rejects contaminated South Korean waste. https://www.ft.com/content/bffeace8-e892-11e8-8a85-04b8afea6ea3

[6] $180bn investment in plastic factories feeds global packaging binge. https://www.theguardian.com/environment/2017/dec/26/180bn-investment-in-plastic-factories-feeds-global-packaging-binge