SCG ได้ประกาศเป้าหมายด้านความยั่งยืนมากมาย  เช่นการประกาศเป้าหมายของบริษัทฯ เพื่อบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2593  (Energy Transition Solutions: ETS), การประกาศเป้าหมายบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals), ประกาศ Net Zero Cement & Concrete Roadmap ในปี 2565, อีกทั้งหนึ่งในนโยบายด้านความยั่งยืนที่ SCG ระบุว่ายึดถือคือ ESG: Environment, Social, Governance (สิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล) ซึ่งองค์กรที่ประกาศว่าใช้ ESG นำทาง

ไม่ควรมีส่วนสนับสนุนโครงการที่ก่อผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน สังคมและสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนและนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนที่บริษัทได้ประกาศถึงแนวปฏิบัติในการพัฒนาและดำเนินกระบวนการจัดการด้านสิทธิมนุษยชน (Due Diligence Process) เพื่อที่จะระบุประเด็นและประเมินความเสี่ยงผลกระทบด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน  หาก SCG ยังมีส่วนเดินหน้าโครงการเหมืองถ่านหินแม่ทะและรับซื้อถ่านหินจากโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย การประกาศนโยบายด้านความยั่งยืนและนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนทั้งหมดของ SCG ย่อมมีค่าเป็นเพียงการฟอกเขียว เป็นการลดทอนหลักปฏิบัติสากลด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน อีกทั้งเป็นการสร้างความเข้าใจต่อนโยบายความยั่งยืนของบริษัทที่ไม่ครบถ้วนต่อทั้งผู้บริโภค ผู้ถือหุ้นของบริษัท และประชาชน


กะเบอะดิน ฟ้องศาลปกครอง เพิกถอน EIA
ถึงเวลา SCG ต้องปลดระวางถ่านหิน

SCG ต้องยุติการดำเนินโครงการเหมืองถ่านหินแม่ทะ จ.ลำปาง และยุติแผนการรับซื้อถ่านหินจากพื้นที่อมก๋อย จ.เชียงใหม่โดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข 

มีส่วนร่วม