ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในประเทศไทย

อาจกล่าวได้ว่า ปี พ.ศ.2561 เป็นหมุดหมายของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในเรื่องนโยบายการจัดการมลพิษทางอากาศ ด้วยเสียงเรียกร้องของประชาชนเพื่อ “ขออากาศดีคืนมา” #RightToCleanAir

ในที่สุด เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2561 กรมควบคุมมลพิษประกาศใช้ดัชนีคุณภาพอากาศใหม่ที่นำ PM2.5 มาร่วมคานวณ พร้อมเปิดตัว Application : Air4Thai เวอร์ชั่นใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ที่สนใจสามารถติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และป้องกันตนเองได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดสถานการณ์มลพิษทางอากาศ รวมถึงขยายเครือข่ายการตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 เป็นจานวน 28 สถานี ใน 19 จังหวัด และเครือข่ายการตรวจวัดจะขยายให้ครบทุกสถานีภายใน ปี 2563 อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองต่างๆ ของประเทศยังคงต้องเผชิญกับมลพิษ PM2.5 ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพโดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดในระดับประเทศและระดับสากล

ในการรณรงค์ขับเคลื่อน “ขออากาศดีคืนมา” กรีนพีซได้จัดลำดับเมืองที่มีปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) ในประเทศไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 มาจนถึงปัจจุบัน เพื่อสะท้อนถึงสถานการณ์และพัฒนาการของการจัดการคุณภาพอากาศในเมืองและพื้นที่ต่างๆ และกระตุ้นให้ผู้กำหนดนโยบายทุกระดับทบทวนแผนปฏิบัติการจัดการมลพิษทางอากาศที่ยังไร้ประสิทธิภาพ และยกร่างมาตรการที่ก้าวหน้าโดยมีเป้าหมายที่เจาะจง (specific) วัดได้ (measurable) ทาได้ (Attainable) สอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ (Relevant) โดยเฉพาะเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และมีกรอบเวลาที่ชัดเจน (Time-bound) เพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน

การจัดลำดับเมืองที่มีปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5)ในประเทศไทย ปี พ.ศ 2561 นี้ ใช้ข้อมูลที่สาธารณะชนสามารถเข้าถึงได้ ของการตรวจวัดความเข้มข้นฝุ่น PM2.5 จากทั้งหมด 53 สถานี ครอบคลุมพื้นที่ 29 จังหวัด โดยใช้เกณฑ์ค่าเฉลี่ยรายปี (หน่วย : ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ค่าเฉลี่ยสูงสุดรายเดือน (หน่วย : ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และจำนวนวันที่เกินค่ามาตรฐาน มาพิจารณาในการจัดลำดับ


ผลการจัดลำดับและประเด็นสำคัญ

  • ในปี พ.ศ.2561 พื้นที่เมือง 10 อันดับข้างต้นที่ต้องเผชิญกับมลพิษ PM2.5  คือ (1) ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร  (2) ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก (3) ต.ทรงคะนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ (4) ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (5) ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (6) ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง (7) ต.หน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี (8) ริมถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ (9) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น และ (10) ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ
  • พื้นที่เมืองที่ต้องเผชิญกับมลพิษ PM2.5 ใน 10 อันดับแรกในปี พ.ศ.2561 มีจำนวนวันที่มีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงเกินมาตรฐานของประเทศไทย (50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) อยู่ระหว่าง 19-68 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่ระบุว่าค่า PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่ควรเกินค่ามาตรฐาน (25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) มากกว่า 3 วันในช่วงเวลา 1 ปี จะเห็นได้ว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองต้องเสี่ยงกับผลที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจากการรับสัมผัสมลพิษ PM2.5 ที่เกินมาตรฐานเป็นระยะเวลานาน และหากไม่มีมาตรการจัดการมลพิษทางอากาศที่ก้าวหน้า ผลที่เกิดขึ้นคือวิกฤตด้านสาธารณสุขมีแนวโน้มจะขยายวงกว้างมากขึ้น
  • มีพื้นที่ 28 แห่ง จาก 53 แห่ง (ใน 29 จังหวัด) ที่มีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินมาตรฐานของประเทศไทยซึ่งกำหนดไว้ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และพื้นที่เมืองทั้ง 53 แห่ง (ยกเว้น อ. เมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งเริ่มต้นวัดในช่วงปลายปี พ.ศ. 2561) มีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินค่าตามคำแนะนำองค์การอนามัยโลกซึ่งกำหนดไว้ที่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • ในปี 2561 มีพื้นที่เมือง 39 แห่งจาก 53 แห่งใน 29 จังหวัด ที่มีความเข้มข้นของ PM 2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกินมาตรฐานของประเทศไทยซึ่งกำหนดไว้ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยจำนวนวันที่เกินมาตรฐานมีตั้งแต่ 1 วันไปจนถึง 68 วัน

ข้อเสนอของกรีนพีซ

การดำรงชีวิตในที่ที่มีอากาศสะอาดเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน รัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายต้อง ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังต่อวิกฤตมลพิษ PM2.5 ที่เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน กรีนพีซเรียกร้องให้ ;

กรมควบคุมมลพิษ/กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  • ยกร่างมาตรฐานในบรรยากาศของ PM2.5 ขึ้นใหม่สำหรับประเทศไทยโดยกำหนดค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เป็น 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีเป็น 12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ภายในปี พ.ศ. 2562
  • การดำเนินนโยบายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศ กรมควบคุมมลพิษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องคำนึงถึงการดำเนินมาตรการในข้อ 8 (Article 8) ของอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท[1]
  • กำหนดมาตรการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายภูมิภาคอาเซียนปลอดหมอกควันภายในปี 2563 (Haze-free ASEAN by 2020) อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม (Haze-free ASEAN by 2020) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติที่มีความเป็นธรรมทางสังคมในการควบคุม และป้องกันการเผาวัสดุการเกษตรในพื้นที่เพาะปลูก ป่าไม้และพื้นที่อนุรักษ์
  • ติดตามตรวจสอบและรายงานความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศอื่นๆ ที่เป็นภัยคุกคามสุขภาพอนามัยของประชาชน เช่น โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน(PAHs) โดยให้เป็นรายชื่อมลพิษเป้าหมาย (target substances/pollutants) ที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้ระบบทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ(Pollutant Release and Transfer Registers: PRTR)

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

  • เพิ่มข้อกำหนดใน “มาตรฐานสัญญา” และ “การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ” ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา (หรือที่รู้จักกันว่ากฏหมายเกษตรพันธสัญญา)โดยเน้นขยายความรับผิดชอบของบริษัทและผู้ประกอบการเมื่อเกิดความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เกิดขึ้นจากเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว เช่น ในกรณีเกิดหมอกควันจากการเผาในพื้นที่ที่เป็นเกษตรแบบพันธสัญญา และรับประกันว่าความเสี่ยงของเกษตรกรจะถูกกระจายอย่างเป็นธรรม
  • ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2560-2564 ภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน และเกษตรกรรมยั่งยืน ให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางชีวภาพ ความเป็นธรรมระหว่างเกษตรกรรายย่อยกับผู้ประกอบการมีการจัดการ/จัดสรรงบประมาณจัดสรรในสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรรายย่อย รวมถึงระบบสินเชื่อเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และตลาดสีเขียว

กระทรวงสาธารณสุข

  • ดำเนินนโยบายการจัดการคุณภาพอากาศให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดี ของคนทุกเพศทุกวัย (Ensure healthy lives and promote well-being for all at all ages) ตามเป้าประสงค์ที่จะลดจำนวนผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บจากมลพิษทางอากาศโดยมีตัวชี้วัด คือประชากรในเขตเมืองที่ได้รับมลพิษทางอากาศกลางแจ้งเกิน ค่ามาตรฐานตามค่าที่กำหนดขององค์การอนามัยโลก (WHO) ดังต่อไปนี้
    • พัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสัมผัสมลพิษทางอากาศเพื่อประโยชน์ในการประมาณการและคาดการณ์จำนวนผู้ป่วย จากกลุ่มโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง(ทั้งระยะสั้นและระยะยาว) และคาดการณ์ได้ถึงจำนวนผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในช่วงอายุต่างๆได้
    • ประเมินโรงพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลในพื้นที่มีระดับมลพิษสูงถึงการเตรียมพร้อมการเผชิญเหตุ จากโรคและการเจ็บป่วย ด้วยการคาดการณ์จำนวนผู้ป่วยในแต่ละโรคที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางให้ โรงพยาบาลในพื้นที่มีแผนรองรับและดูแลให้คาแนะนาแก่ผู้ป่วยที่มีโรคดังกล่าวในช่วงที่ระดับมลพิษสูง
    • จัดประชุม เผยแพร่รูปแบบ การเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลเพื่อรองรับผู้ป่วยในช่วงที่มีปัญหาจากมลพิษทางอากาศ
    • ติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของผลกระทบต่อสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการนำมาตรการลดมลพิษอากาศอย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้ เช่น การเปลี่ยนชนิดน้ามันเชื้อเพลิง เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการคำนึงถึงประโยชน์ทางสาธารณสุข จากนโยบาย หรือมาตรการในการลดมลพิษอากาศ
    • การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพและการป้องกันที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ รวมทั้งมีการแจ้งเตือนเมื่อระดับมลพิษสูง เป็นวิธีการที่ช่วยให้ประชาชนสามารถป้องกันตนเองและหลีกเลี่ยง การได้รับมลพิษทางอากาศ ส่งผลตามมาทำให้ลดผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากมลพิษทางอากาศได้
  • ประกาศดัชนีผลกระทบสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ (Air Quality Health Index) แยกออกจากดัชนีคุณภาพอากาศ(AQI) ของกรมควบคุมมลพิษเพื่อใช้สื่อสารและปกป้องประชาชนกลุ่มเสี่ยง

กรมควบคุมมลพิษและกรมโรงงานอุตสาหกรรม

  • ปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2), ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และฝุ่นละออง ขนาดเล็กทั้ง PM10 และ PM2.5 จากแหล่งกำเนิดที่อยู่กับที่โดยให้เป็นรายชื่อมลพิษเป้าหมาย (target substances/pollutants) ที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้ระบบทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Registers: PRTR)
  • กําหนดค่ามาตรฐานPM2.5และปรอทที่แหล่งกําเนิดที่อยู่กับที่รวมถึงการตรวจวัดและรายงานการปล่อย PM2.5 และปรอทจากปล่องโรงไฟฟ้าโดยให้เป็นรายชื่อมลพิษเป้าหมาย (target substances/pollutants) ที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้ระบบทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Registers: PRTR)

กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสภาอุตสาหกรรมยานยนต์

  • ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงสะอาดในภาคการขนส่ง
  • ส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและราคาที่สมเหตุสมผล
  • บริหารจัดการด้านการใช้พลังงานในภาคการขนส่งทางถนนโดยการปรับปรุงระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพ ด้านการใช้พลังงานมากขึ้น
  • บริหารจัดการอุปสงค์เพื่อการเดินทางที่ไม่จําเป็น สนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้ระบบขนส่ง สาธารณะและรูปแบบการขนส่งสินค้าที่ประหยัดพลังงาน
  • จัดการสิ่งแวดล้อมด้านการขนส่งทางถนนโดยการส่งเสริมให้มีการพัฒนาและใช้พลังงานสะอาด สนับสนุนการใช้จักรยาน การเดิน ยานพาหนะไฟฟ้าและการส่งเสริมการขับขี่ที่ประหยัดเชื้อเพลิง (Eco driving)

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่นี่

Air Pollution in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace
ขออากาศดีคืนมา

กรีนพีซเสนอให้กรมควบคุมมลพิษยกร่างมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศสำหรับประเทศไทยขึ้นใหม่

มีส่วนร่วม