Unmask our cities

ในปัจจุบันประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองกว่าร้อยละ 80 กำลังเผชิญกับคุณภาพอากาศที่มีมลพิษเกินมาตรฐานที่ World Health Organization (WHO) กำหนดไว้ มลพิษทางอากาศที่มีอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์มากที่สุด คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) แต่ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 ค่าเฉลี่ยของความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 19 จุดใน 14 เมืองทั่วประเทศไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 ระบุ ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของ PM 2.5 ทั้ง 14 เมืองเกินค่าความปลอดภัยตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก

ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM 2.5) คือฝุ่นที่เล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอดและกระแสเลือดโดยตรง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง ขณะนี้ประเทศไทยใช้เพียง PM10 เข้ามาประเมินดัชนีคุณภาพอากาศและยังไม่ได้นำ PM2.5 เข้ามาคำนวณจึงอาจทำให้ดัชนีคุณภาพอากาศไม่ได้สะท้อนคุณภาพอากาศที่แท้จริง

เพราะอากาศดีเป็นผลดีกับทุกคน ดังนั้นกรีนพีซจึงได้จัดทำคู่มืออากาศสะอาด (Unmask Our Cities) เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการเรียนรู้และป้องกันสุขภาพของเราจากฝุ่นพิษ PM2.5


อ่านคู่มืออากาศสะอาด (Unmask Our Cities)

ทุกคนมีสิทธิในเข้าถึงอากาศสะอาด กรีนพีซเรียกร้องให้กรมควบคุมมลพิษใช้ค่าเฉลี่ย PM 2.5 ในการคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศ (PM 2.5 AQI)เพื่อความแม่นยำในการระบุผลกระทบต่อสุขภาพและแนวทางป้องกันร่วมลงชื่อขออากาศดีคืนมา คลิกที่นี่

Air Pollution in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace
ขออากาศดีคืนมา

กรีนพีซเสนอให้กรมควบคุมมลพิษยกร่างมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศสำหรับประเทศไทยขึ้นใหม่

มีส่วนร่วม