ต่อไปนี้คือตัวเลขที่น่าสนใจของ “รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการวิจัย เรื่อง การประเมินระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีโครงการเหมืองแร่ถ่านหิน หมู่บ้านกะเบอะดิน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่” ที่เรารวบรวมมาไว้ดังนี้

50 คน คือจำนวนประชาชนที่แจ้งว่าไม่เคยมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำ EIA โครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย จากจำนวนที่ผู้วิจัยเก็บข้อมูลมาทั้งหมด 54 คน เหตุผลที่ผู้วิจัยเก็บข้อมูลประชาชนเพียง 54 คน เป็นเพราะผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยที่ทำงานกับชุมชนอย่างใกล้ชิดไม่สามารถหาผู้ที่เคยมีส่วนร่วมได้มากกว่านี้แล้ว โดยประชาชนเกือบทั้งหมดระบุว่าตนรู้สึกว่าตนไม่มีส่วนร่วมในการจัดทำ EIA

12 คน คือจำนวนประชาชนที่ระบุว่าตนมีชื่ออยู่ใน EIA แต่ในตอนลงชื่อนั้นลงเพื่อรับสิ่งของบริจาค เช่น ผ้าห่ม เสื้อ หรือลงชื่อในการประชุมที่ไม่ได้ระบุว่าเป็นเรื่องการสร้างเหมืองถ่านหินแต่อย่างใด จึงไม่ทราบว่าการลงชื่อของคนเกี่ยวกับการจัดทำอีไอเอหรือโครงการเหมือง

2 คน คือจำนวนประชาชนที่ปรากฏใน EIA ว่าพิมพ์ลายนิ้วมือ แต่แท้จริงตนสามารถเซ็นชื่อได้

1 คน คือจำนวนประชาชนที่มีลายเซ็นชื่อตนในอีไอเอ แต่ความเป็นจริงคือตนเซ็นไม่ได้ ต้องประทับลายนิ้วมือเท่านั้น

จากข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงเหตุผลส่วนหนึ่ง ที่ทำให้การประเมินระดับการมีส่วนร่วมเหมืองถ่านหินอมก๋อยในระดับสากล มีถึง 2 หมวดด้วยกันที่อยู่ในระดับต่ำที่สุด คือ “ระดับพิธีกรรม” ส่วนหมวดการเปิดเผยข้อมูลอยู่ในระดับ “ใกล้เคียงกับระดับพิธีกรรม” โดยยังมีเหตุผลอีกมากมายที่ทำให้การจัดทำ EIA อมก๋อยนั้น มีสถานะใกล้เคียงกับการทำพิธีรรม ไม่ได้มีผลเพื่อประเมินผลกระทบหรือรับฟังความคิดเห็นประชาชนอย่างแท้จริง

กรีนพีซ ประเทศไทย จึงขอชวนดาวน์โหลดและอ่าน “รายงานฉบับสมบูรณ์:  โครงการวิจัย เรื่อง การประเมินระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีโครงการเหมืองแร่ถ่านหิน หมู่บ้านกะเบอะดิน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่” ซึ่งจัดทำโดย มหาวิทยาลัยนเรศวร, มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม, และเยาวชนชุมชนกะเบอะดิน ได้ที่นี่


‘อมก๋อย’ แหล่งอากาศดีที่เชียงใหม่กำลังจะสูญเสีย

ชวนรู้จักชุมชนกะเบอะดิน อำเภออมก๋อย และส่งกำลังใจให้ประชาชนในพื้นที่ซึ่งยืนหยัดต่อสู้มาแล้วกว่า 4 ปี เพื่อปกป้องไม่ให้เหมืองเกิดขึ้น

มีส่วนร่วม