ภาพรวมของรายงาน

  • รายงาน 30×30: From Global Ocean Treaty to Protection at Sea เผยข้อมูลการวิเคราะห์ของภัยคุกคามทะเลหลวง และสาเหตุว่าทำไมเราต้องใช้สนธิสัญญาทะเลหลวงสร้างเขตคุ้มครองทางทะเลให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของมหาสมุทรทั้งหมดภายในปี 2573 พื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด 11 ล้านตารางกิโลเมตรต้องได้รับการปกป้องตามเป้าหมาย 30×30 ของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมตั้งแต่ปี 2565  และสนธิสัญญาฉบับนี้เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้ทันกำหนด
  • สนธิสัญญาทะเลหลวงนับเป็นหนึ่งในข้อตกลงในการปกป้องระบบนิเวศที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นข้อตกลงแรกในการปกป้องสิ่งมีชีวิตในน่านน้ำสากล 
  • มหาสมุทรกำลังเผชิญกับภัยคุกคามอย่างหนัก ขณะที่เวลาในการไปถึงเป้าหมายที่จะปกป้องมหาสมุทรให้ได้ร้อยละ 30 ลดลงเรื่อยๆ ขอเรียกร้องของเราคือ รัฐบาลต่างๆต้องรีบให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาทะเลหลวงให้ได้ก่อนการประชุมสหประชาชาติทางทะเลในปี 2568  โดยรัฐบาลต้องเริ่มร่างแผนคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลพร้อมไปกับกระบวนการให้สัตยาบัน และต้องเริ่มในทันที ยิ่งล้าช้ายิ่งทำให้การนำสนธิสัญญามาใช้ได้เต็มประสิทธภาพลดน้อยลง
  • นอกจากการที่รัฐบาลต้องให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาทะเลหลวงแล้ว รายงานชิ้นนี้ยังครอบคลุม ตั้งแต่การจัดตั้งองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ และการบังคับใช้สนธิสัญญา

ข้อมูลโดยสรุป

  • ภัยคุกคามทะเลมีความหลากหลายและรุนแรง ทั้งทะเลกรด ความเข้มข้นของออกซิเจนที่ลดลงและน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น มลภาวะจากพลาสติก เรือขนส่ง ภัยคุกคามจากอุตสาหกรรมอย่างเหมืองทะเลลึก และอุตสาหกรรมประมงพาณิชย์
  • บทวิเคราะห์ในรายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นผลกระทบของการทำอุตสาหกรรมประมงพาณิชย์ในทะเลหลวงในห้าปีล่าสุด โดยเผยให้เห็นภาพใหญ่ของการทำประมงในทะเลหลวง และการทำประมงในเขตมหาสมุทรที่ควรเป็นพื้นที่ที่ได้รับการปกป้อง 
  • กรีนพีซใช้ข้อมูลจาก Global Fishing Watch เพื่อวิเคราะห์และประมาณการเวลาในการทำประมงในทะเลหลวง และพบว่าเพิ่มสูงขึ้นถึง 8.5% (662,483 ชั่วโมง) ระหว่างปี 2018-2022 โดยในปี 2565 เรือประมงพาณิชย์ในทะเลหลวงใช้เวลาจับปลารวมกันทั้งหมด 8,487,894 ชั่วโมง
  • เบ็ดราว เครื่องล่อหมึก และอวนลาก เป็นเครื่องมือประมงที่ใช้มากที่สุดในทะเลหลวงโดยเบ็ดราวถูกใช้มาถึง 3 ใน 4 ของเรือประมงทั้งหมดในทะเลหลวงทั่วโลก เบ็ดราวเป็นเบ็ดที่มีสายยาวกว่า 100 กิโลเมตร พวกด้วยตะขอกว่าพันตัว เป็นหนึ่งในวิธีทำประมงทำลายล้างที่จับทุกสิ่งอย่างที่ขวางหน้า 
  • ในรายงานชิ้นก่อนหน้านี้ เราระบุพื้นที่ที่เหมาะกับการเป็นเขตคุ้มครองทางทะเล แต่รายงานฉบับนี้กลับพบว่าพื้นที่เหล่านั้นมีกิจกรรมประมงรวมถึง 2,938,182 ในปี 2565 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นถึง 22.5 เปอร์เซ็นต์จากปี 2018 
  • อุณหภูมิมหาสมุทรทำลายสถิติสูงสุดในปี 2566 ความร้อนผนวกกับทะเลกรดและความเข้มข้นของออกซิเจนที่ลดลงกำลังทำลายมหาสมุทร กระทบต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ และทำลายความสามารถในการรักษาอุณหภูมิและสภาพภูมิอากาศของโลก
  • นอกจากนี้ โครงการเหมืองทะเลลึกยังมาคุกคามทะเลหลวงมากขึ้น รัฐบาลหลายรัฐบาลสนับสนุนให้เกิดโครงการนี้ขึ้น เป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะไม่ยอมให้เกิดอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่จะมาทำลายสุขภาพของมหาสมุทร 
  • ปัญหามลพิษพลาสติกก็ยังแย่ลง กระทบต่อทั้งสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลและระบบนิเวศโดยรวม การขนส่งสินค้าทางเรือสร้างภาวะทางเสียงและมลพิษจากน้ำมันในทะเลหลวง และยังมีโอกาสที่จะเกิดน้ำมันรั่วอีกด้วย 
  • นอกจากปัญหาภัยคุกคามแล้ว รายงานฉบับนี้ยังระบุขั้นตอนการนำสนธิสัญญามาใช้ในการสร้างพื้นที่คุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล (Marine Protected Areas – MPAs) ในทะเลหลวง โดยเริ่มตั้งแต่การยื่นแผนไปที่ภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ (COP) การดำเนินการ และการสร้างพื้นที่คุ้มครองทางทะเลพื้นที่ใหม่ 
  • รัฐบาลต้องเร่งให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาทะเลหลวง เพื่อให้เราไปถึงเป้าหมายในการสร้างเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลให้ได้ตามเป้าหมาย ข้อมูลการทำประมงทำลายล้างที่นับวันยิ่งจะเพิ่มขึ้นๆ ทำให้เราต้องเร่งมากขึ้น ยิ่งเราช้าลงเท่าไร มหาสมุทรยิ่งเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น และเมื่อระบบนิเวศพังลงในที่สุด ผลกระทบจะมาตกอยู่ที่ความมั่นคงทางอาหาร และผู้คนกว่าพันล้านคนทั่วโลก