วิกฤตฝุ่นพิษข้ามแดนเป็นภัยที่คุกคามภาคเหนือตอนบนของไทยและอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงมายาวนาน หลายทศวรรษ โดยทวีความรุนแรงขึ้นทุกปีและยังไม่มีการหาทางออกอย่างจริงจัง การวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมาพบว่า การขยายพื้นที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีบทบาท สำคัญต่อการทำลายผืนป่าและวิกฤตฝุ่นพิษ PM2.5

ข้อมูลการวิเคราะห์จากภาพถ่ายดาวเทียมล่าสุดระบุว่าในปี 2566 พบจุดความร้อนในแปลงข้าวโพดเลี้ยง สัตว์มากถึงร้อยละ 41 ของจุดความร้อนทั้งหมดในอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง ขณะเดียวกัน ผืนป่าในอนุภูมิภาค ลุ่มนํ้าโขงหายไป 11.8 ล้านไร่จากการขยายตัวของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในระยะเวลาเพียง 9 ปี (ปี 2558-2566) 

กรีนพีซ ประเทศไทยร่วมกับศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) คณะ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อติดตามพื้นที่ปลูกข้าวโพดและจุด ความร้อนระหว่างปี 2564-2566 ในอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง (ตอนบนของประเทศไทย, ตอนบนของ สปป.ลาว และรัฐฉานของเมียนมา) เปิดเผยข้อค้นพบหลักในรายงานนี้

ดาวน์โหลดข้อค้นพบ


ถึงเวลาปฏิวัติระบบอาหาร

ร่วมเรียกร้องให้ภาครัฐออกกฎหมายติดฉลากผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทุกประเภทโดยเปิดเผยถึงข้อมูลการเลี้ยงสัตว์ ที่มาอาหารสัตว์ว่าเชื่อมโยงกับการทำลายป่าและก่อหมอกควันพิษหรือไม่ รวมถึงการใช้ยาปฏิชีวนะ และการตกค้างในเนื้อสัตว์

มีส่วนร่วม