รายงานการจัดอันดับด้านความโปร่งใสของกลุ่มบริษัทเทคโนโลยี โดยองค์กร Friends of the Earth, Avaaz และ กรีนพีซ สหรัฐอเมริกา

บทสรุป

เป็นเวลาหลายสิบปีที่อุตสาหกรรมฟอสซิลได้ทุ่มงบประมาณหลายล้านดอลลาร์สหรัฐในการบิดเบือนข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศ [1] ทั้งในแพลตฟอร์มออนไลน์และทั่วไปเพื่อแบ่งขั้วความคิดเห็นของสาธารณะเกี่ยวกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ นี่จึงเป็นเหตุผลที่รายงานฉบับล่าสุดขององค์การสหประชาชาติระบุว่า การบิดเบือนข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศคือภัยคุกคามต่อการแก้ไขและรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

การจัดอันดับครั้งล่าสุดโดยองค์กร  Friends of the Earth, Avaaz และ กรีนพีซ สหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่ากลุ่มบริษัทด้านโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่ทิ้งให้สาธารณะไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความพยายามที่จะต่อกรกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นการทำงานที่ไม่โปร่งใสอย่างร้ายแรง เนื่องจากกลุ่มบริษัทเหล่านี้ปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศที่ถูกบิดเบือนในช่องทางออนไลน์จำนวนมาก รวมถึงมาตรการภายในที่บริษัทได้ลงมือทำเพื่อจัดการกับการแพร่กระจายของข้อมูล แม้ว่า พินเทอเรส (Pinterest) และ ยูทูบ (YouTube) จะเป็นกลุ่มบริษัทที่มีขั้นตอนในจัดการอย่างเห็นได้ชัดกับข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศที่ไม่เป็นความจริงหรือข้อมูลที่ถูกบิดเบือน แต่ความพยายามในการจัดการปัญหาดังกล่าวของ เฟซบุ๊ค(Facebook) ติ๊กต่อก(TikTok) และ ทวิตเตอร์ (Twitter) ยังคงตามหลังปัญหาอยู่อีกหลายก้าว

อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทโซเชียลมีเดียทั้งหมดล้มเหลวที่จะเปิดเผยนโยบายที่มีเพื่อต่อกรกับข้อมูลสภาพภูมิอากาศที่ถูกบิดเบือน รวมทั้งประเด็นดังต่อไปนี้ 

  • การเผยแพร่รายงานความโปร่งใสประจำสัปดาห์ที่ลงรายละเอียดและการแพร่กระจายของข้อมูลสภาพภูมิอากาศที่ถูกบิดเบือนบนแพลตฟอร์มของบริษัท และได้จัดการรับมือกับสิ่งนี้ภายในองค์กร
  • ให้ข้อมูลที่ละเอียดและสม่ำเสมอในด้านการจัดการกับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามนโยบายซ้ำ ๆ โดยเฉพาะในกรณีการให้ข้อมูลที่บิดเบือนเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ

แต่บริษัทบางกลุ่มมีนโยบายในการจัดการมากกว่าบริษัทอื่นๆ 

  • พินเทอเรส (Pinterest) และ ยูทูบ (YouTube) ได้นำคำนิยามของ ‘ข้อมูลสภาพภูมิอากาศที่ถูกบิดเบือน’ จากที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำมาใช้ในการจัดการ ในขณะที่  เฟซบุ๊ค(Facebook) ติ๊กต่อก(TikTok) และ ทวิตเตอร์ (Twitter) ไม่ได้นำมาปรับใช้กับแพลตฟอร์มของตนเอง

รายงานชิ้นนี้ เราใช้ระบบการตอบแบบประเมิน 27 ข้อ เพื่อวิเคราะห์นโยบายการบิดเบือนข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศในเฟซบุ๊ค พินเทอเรส ติ๊กต่อก ทวิตเตอร์ และยูทูบ

ข้อค้นพบจากการตอบแบบประเมินนี้ตอกย้ำว่าทั่วโลกจะต้องมีกฎระเบียบที่เข้มงวดเกี่ยวกับความโปร่งใสในกลุ่มบริษัทโซเชียลมีเดีย เช่น ร่างกฎระเบียบ ‘Digital Services Oversight and Safety Act (DSOSA)’ ที่จะบังคับให้บริษัทเหล่านี้ดำเนินการด้วยความโปร่งใสมากขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับข้อมูลที่ถูกบิดเบือนยังกล่าวอีกว่าความโปร่งใสนี้จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของการบิดเบือนข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศที่ดีขึ้น มีผลทำให้ผู้ปล่อยข้อมูลดังกล่าวต้องมีภาระรับผิด และจะทำให้เราหยุดวิกฤตสภาพภูมิอากาศได้ ปัจจุบัน กลุ่มบริษัทเหล่านี้ยังไม่ได้จัดหานักวิจัยด้านความโปร่งใสรวมถึงทนายความที่จะต้องให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามของการบิดเบือนข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศในโซเชียลมีเดีย ปล่อยให้ผู้ใช้สาธารณะไม่สามารถติดสินได้ว่าบริษัทโซเชียลมีเดียบริษัทใดบ้างที่ออกมารับผิดชอบต่อแพลตฟอร์มที่พวกเขาสร้างขึ้น