มลพิษพลาสติกกลายเป็นปัญหาที่รุนแรงมากขึ้นในระดับวิกฤต ตลอดทั้งวงจรชีวิตของพลาสติก ตั้งแต่การขุดเจาะปิโตรเลียมเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบจนถึงการกำจัดขยะพลาสติกในขั้นสุดท้าย และการหลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อมซึ่งนำ ไปสู่การแตกตัวเป็นไมโครพลาสติกและการปนเปื้อนสารเคมีในห่วงโซ่อาหาร ผู้คนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากมลพิษพลาสติกในหลายระดับด้วยกัน

สถานที่ซึ่งมีการใช้พลาสติกจำ นวนมากในแต่ละวันจนเป็นเรื่องปกติคือ ร้านค้าปลีกหรือซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเป็นธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ใกล้บ้านคุณนั่นเอง ถึงเวลาแล้วที่ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทยจะต้องเป็นผู้นำ การเปลี่ยนแปลงเพื่อลดรอยเท้าพลาสติก(plastic footprint) ของตนและมีส่วนร่วมในการจัดการกับวิกฤตมลพิษพลาสติกนี้

“ร้านค้าปลีก ซูเปอร์มาร์เก็ต และวิกฤตมลพิษพลาสติก : การจัดอันดับนโยบายพลาสติกของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทย ปี2563” เป็นรายงานฉบับแรกที่ประเมินนโยบายและแนวทางการจัดการพลาสติกของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทยเพื่อประโยชน์สาธารณะ (public interest) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. กระตุ้นให้บริษัทต่าง ๆ ตระหนักถึงบทบาทของตนในฐานะผู้ผลิตที่จะหาทางออกจากวิกฤตมลพิษพลาสติกที่ต้นทางอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม แทนที่จะผลักภาระไปที่ผู้บริโภค
  2. ให้ข้อมูล ส่งเสริมสิทธิและพลังของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลให้เกิดการลดรอยเท้าพลาสติกของผู้ผลิตและธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่
  3. สร้างข้อมูลฐาน (baseline) เกี่ยวกับการรับรู้เข้าใจของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทยในประเด็นวิกฤตมลพิษพลาสติก และการจัดการปัญหาผ่านนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการดำ เนินกิจการ เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของการจัดการมลพิษพลาสติกในอนาคต
  4. สร้างความตระหนักแก่ผู้บริโภคในประเทศไทยเกี่ยวกับการบริโภคและการผลิตอย่างรับผิดชอบ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) อันเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน และเป้าหมายที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น
  5. เพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะ ด้วยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เพื่อการตัดสินใจของผู้บริโภค

ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็ม

รายงานนี้จัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อประเมินนโยบายและแนวทางการจัดการพลาสติกของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทยเพื่อประโยชน์สาธารณะ กรีนพีซ ประเทศไทยใช้แบบสำรวจที่ประกอบด้วยเกณฑ์ 4 ด้านหลัก คือ ด้านนโยบาย(Policy) ด้านการลดพลาสติก(Reduction) ด้านนวัตกรรมและการริเริ่ม(Initiatives) และด้านความโปร่งใส(Transparency) ประกอบกับการสืบค้นข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงและสื่อสาธารณะ ช่วงเวลาการประเมินคือระหว่างเดือนมิถุนายน 2563-กุมภาพันธ์ 2564