ติดตามแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลก 2564

อัตราการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในสาธารณรัฐประชาชนจีนเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็วจนเทียบเท่ากับปริมาณการลดใช้ถ่านหินทั่วโลกทั้งหมดในปี 2563 นับเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกของการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินทั่วโลกนับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา จะเห็นว่าได้ทำสถิติเสมอกัน โดยในปี 2563 มีการปลดระวางโรงไฟ้าถ่านหินกำลังการผลิตรวม 37.8 กิกะวัตต์ นำโดยประเทศสหรัฐอเมริกา 11.3 กิกะวัตต์ และสหภาพยุโรปอีก 10.1 กิกะวัตต์ ทว่า ความสามารถในการปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินนี้กลับถูกบดบังรัศมีเมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ กำลังการผลิตรวม 38.4 กิกะวัตต์ สาธารณรัฐประชาชนจีนมีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่คิดเป็นร้อยละ 76 ของทั้งหมดที่เปิดใช้ในปี 2563 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 64 ในปี 2562 ส่งผลให้กลุ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มกำลังการผลิตสุทธิขึ้นอีก 12.5 กิกะวัตต์ในปี 2563

ความนิยมในการเสนอแผนสร้างและดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในสาธารณรัฐประชาชนจีนเริ่มต้นขึ้นในเดือนมีนาคม 2563 เมื่อหลายจังหวัดใช้โครงการด้านถ่านหินเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจของตน เพื่อให้ฟื้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจากภาวะการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 แม้ว่าโครงการเหล่านี้จะริเริ่มโดยหน่วยงานระดับท้องถิ่น ทว่า กลับได้รับความนิยมเนื่องจากมีการผ่อนปรนกฏระเบียบในการอนุมัติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ อีกทั้งรัฐบาลกลางยังเพิ่มเงินกู้ให้แก่โครงการถ่านหินขนาดใหญ่อีกเช่นกัน อย่างไรก็ตามในปี 2564 คณะตรวจสอบสิ่งแวดล้อมส่วนกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีนจัดทำรายงานด้วยข้อเท็จจริงแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยวิจารณ์การทำงานของสำนักงานบริหารพลังงานแห่งชาติเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎข้อบังคับของประเทศด้านการพัฒนาถ่านหินที่ขาดความเข้มงวด และยังกล่าวอีกว่ายุครุ่งเรือของถ่านหินของประเทศอาจเสื่อมความนิยมไปได้ในอนาคต ทว่า ในช่วงปลายปี 2564 รัฐบาลกลางจีนได้ตั้งเป้าหมายพลังงาน โดยระบุเป้าหมายด้านพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะเวลา 5 ปี ระหว่างปี 2564-2568 เปิดทางให้การใช้พลังงานจากถ่านหินเติบโตต่อไปได้จนถึงปี 2568

นอกเหนือจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนแล้ว จะเห็นว่าหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนได้ประกาศยกเลิกหรือทบทวนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ เมื่อประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีใต้ได้ปฏิญาณตนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ภายในปี 2593 การปรับเปลี่ยนนโยบายและภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลกของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ท่อลำเลียงถ่านหินสู่โรงไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ต้องพังทลายลง เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าที่หดตัวลง เศรษฐกิจภายของประเทศลดขนาดลง และโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่จำเป็นต้องดิ้นรนเพื่อหาเงินสนับสนุน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐเวียดนาม ได้เคลื่อนไหวเพื่อยกเลิกแผนการสร้างโรงไฟฟ้ากำลังการผลิตรวม 62 กิกะวัตต์ โดยในจำนวนนี้ เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังการผลิต 25.2 กิกะวัตต์ที่อยู่ในระยะการวางแผนก่อนสร้างใน 4 ประเทศดังกล่าว นับเป็นปริมาณที่ลดลงถึงร้อยละ 80 เมื่อเปรียบเทียบกับแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเมื่อ 5 ปีก่อนหรือปี 2558 ซึ่งขณะนั้นมีกำลังการผลิตรวมถึง 125.5 กิกะวัตต์ นอกจากนี้แล้ว สาธารณรัฐปากีสถานยังได้ประกาศว่าจะไม่มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่อีก เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยความท้าทายด้านการเงินของโรงไฟฟ้าถ่านหิน ประกอบกับต้นทุนที่ลดลงของพลังงานหมุนเวียนแล้ว จะเห็นได้ว่าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินต้องดิ้นรนอย่างหนักเพื่อหาเงินสนับสนุนทั้งในช่วงก่อนการเกิดโรคระบาด และยังต้องเผชิญกับปัญหาการชะลอตัว ทำให้สามารถอยู่รอดได้ยากในสภาวะเศรษฐกิจท่ามกลางโรคระบาดเช่นนี้ 

การลดใช้ถ่านหินในระยะยาวในสหรัฐอเมริกาเพิ่มอัตราความเร็วในสมัยการทำงานของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์โดยมีการปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้นเป็น 52.4 กิกะวัตต์ในช่วงระยะเวลา 4 ปีของการดำรงตำแหน่ง เปรียบเทียบกับการปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหิน 48.9 กิกะวัตต์ในระหว่างการดำรงตำแหน่งสมัยที่ 2 ของประธานาธิบดีบารัค โอบามา  แม้ว่าจะเป็นสถิติการปลดระวางที่ดี ทว่า ที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนปฎิญาณว่าจะหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาภายในปี 2578 จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีการปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ให้เร็วขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากแผนการปัจจุบันระบุให้ปลดระวางโรงไฟฟ้าเพียงจำนวน 1 ใน 3 ของทั้งหมดภายในปี 2578 เท่านั้น 

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ต้องประกาศใช้ระบบ Net Metering

ร่วมเรียกร้องให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ออกมาตรการ net metering รับซื้อไฟฟ้าโซลาร์รูฟจากบ้านเรือนของประชาชนทั่วไป

มีส่วนร่วม