จากทะเลสู่กระป๋อง: การจัดอันดับความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องในไทย

อะไรอยู่ในกระป๋อง?

ปลาทูน่าเป็นหนึ่งในพันธุ์ปลาซึ่งเป็นที่นิยมและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากสุดในโลก แต่ความต้องการบริโภคในระดับโลกเช่นนี้ตามมาด้วยต้นทุน มหาสมุทรของเรา ยังคงเผชิญกับปัญหาการทำประมงเกินขนาด การประมงแบบทำลายล้าง และการประมงผิดกฎหมาย

การจับสัตว์น้ําพลอยได้ (bycatch) ไม่ว่าจะเป็นฉลาม เต่า และปลาทูน่าวัยอ่อนท่ีติดเข้ามาในอวนจากการทําประมงประเภทนี้ และถูกโยนคืนกลับไปในทะเลในสภาพ ที่ตายแล้วหรือกําลังจะตาย เป็นปัญหาที่ยังคงเกิดขึ้น และรอการเปิดเผยต่อไป การนําสัตว์น้ําที่จับได้จํานวนมากไปทิ้งในทะเลส่งผลคุกคามต่อระบบนิเวศทางทะเล รวมทั้งความมั่นคงด้านอาหารระดับโลก การประมงผิดกฎหมาย ไม่มีการรายงานและขาดการควบคุม (Illegal, Unreported, and Unregulated fishing) ในอุตสําหกรรมทูน่าเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เลวร้ายกว่าน้ันการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง มักเชื่อมโยงกับการทำประมงปลาทูน่าที่ผิดกฎหมาย แต่มันไม่ควรเป็นเช่นนี้ อุตสาหกรรมปลาทูน่าสามารถใช้โอกาสนี้เป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา แทนท่ีจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา

อุตสาหกรรมทูน่าขนาดใหญ่หลายแห่งต้ังอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบริษัทระดับโลกหลายแห่งเหล่านี้อยู่ที่ประเทศไทย กรีนพีซทําการประเมินการดําเนินงานของบริษัทบางแห่งเหล่านี้ในแง่การส่งออก โดยมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่จัดส่งไปยังประเทศต่างๆ ท่ีมีอัตราการบริโภคปลาทูน่าค่อนข้างสูง (เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร) และให้ข้อมูลผู้บริโภค เกี่ยวกับควํามยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ปลําทูน่ากระป๋องที่มีวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศเหล่านั้น อย่างไรก็ดีประชาชนในภูมิภาคซึ่งเป็นแหล่งประมงปลาทูน่าขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก กลับมีข้อมูลน้อยมากถึงทางเลือกในการซื้อผลิตภัณฑ์ท่ีจัดจำหน่ายในประเทศ

ผู้บริโภคในประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรปลาทูน่าเพื่อประโยชน์ของคนในรุ่นต่อไป ตลาดผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ากระป๋องในไทยมีมูลค่า 700 ล้านบาท กรีนพีซทำหน้าท่ีให้ข้อมูลกับผู้บริโภคชาวไทย เกี่ยวกับการดำเนินงานของผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋อง แต่ละแบรนด์ที่มีวางจำหน่ายในร้านชำในประเทศ และ ได้จัดอันดับแบรนด์สินค้าเหล่านี้ โดยใช้หลักเกณฑ์ทั้งในด้านการตรวจสอบย้อนกลับความยั่งยืนและความเป็นธรรม การได้มาซึ่งการจัดอันดับที่ดีอุตสาหกรรมทูน่าควรรับประกันให้มีการตรวจสอบได้ถึงแหล่งที่มําของปลาทูน่า ตั้งแต่เรือประมงไปจนถึงการวางจำหน่ายในช้ันวางสินค้า เพื่อทำให้มั่นใจว่าปลาทูน่า มาจากแหล่งท่ีมีประชํากรจำนวนมากพอ และมีการทำประมงปลาทูน่าอย่างรับผิดชอบ รวมทั้งมีมาตรฐาน ที่เข้มแข็งท้ังด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ บริษัทอุตสําหกรรมทูน่ายังควรใช้ผู้ตรวจสอบท่ีเป็นบุคคลที่สามและเป็นอิสระท่ีเข้ามาตรวจสอบการดำเนินงานว่ามีการปฏิบัติตามนโยบายท่ีประกาศไว้ตลอดวงจรการผลิตหรือไม่ หลักเกณฑ์ท่ีเราใช้ในการจัด อันดับความยั่งยืนประกอบด้วยแนวคดิ 3 ประการหลักที่จะปรากฎในรายงาน ดังรายละเอียดด้านล่าง

การตรวจสอบย้อนกลับ: บริษัทอุตสําหกรรมทูน่า ควรสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปในห่วงโซ่อุปทาน ของปลาทูน่า และทราบอย่างชัดเจนว่ามีการจับมาจากที่ไหนและอย่างไร เพื่อรับประกันว่ามีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การจัดหาแหล่งวัตถุดิบหรือไม่

ความยั่งยืน: เจตจำนงที่จะวางจำหน่ายปลาทูน่าท่ียั่งยืนและเป็นธรรม โดยมีการกำหนดนโยบายการจัดหาแหล่งวัตถุดิบอย่างชัดเจนเพื่อป้องกันไม่ให้นำปลาทูน่าสายพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ปลาทูน่าท่ีมาจากการประมงท่ีทำลายล้าง และมาจากบริษัทท่ีขาดความรับผิดชอบด้านสังคมมาใช้ในการผลิตสินค้า

ความเป็นธรรม: บริษัทอุตสาหกรรมทูน่าควรทราบ ว่าใครเป็นผู้จับปลาทูน่าให้ตน และมีการปฏิบัติอย่างไร ทั้งยังควรมีเจตจำนงที่จะดูแลสวัสดิภาพของคนงานตลอดห่วงโซ่อุปทาน และควรทำงานอย่างเต็มที่เพื่อต่อต้านการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์

กรีนพีซได้ส่งแบบสำรวจไปยังผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องรายใหญ่หลายแห่งซึ่งวางจำหน่ายปลาทูน่ากระป๋องในประเทศไทย นอกจากการสำรวจเหล่านี้กรีนพีซได้ทำการวิจัยเพิมเติมเกี่ยวกับนโยบายและการปฏิบัติของบริษัทเหล่าน้ีเพื่อให้ได้ข้อมูลมากสุดเท่าที่จะทำได้

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม