เจาะลึกผลกระทบของมลพิษทางอากาศและรากเหง้าของปัญหา

“สมุดปกฟ้าอากาศสะอาด” (Clean Air Blue Paper) คือ การต่อยอดความเข้าใจปัญหาพีเอ็ม 2.5 ที่ได้มีการทบทวนวรรณกรรมไว้แล้วบางส่วนใน “สมุดปกขาวอากาศสะอาด” (Clean Air White Paper) ซึ่งทางคณะผู้วิจัยได้ ศึกษาไว้ก่อนหน้านี้ โดย “สมุดปกฟ้าอากาศสะอาด” ได้มุ่งเติมเต็มองค์ความรู้เชิงลึกในทุกมิติของผลกระทบจากมลพิษทางอากาศเพื่อเร่งสร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายของมลพิษทางอากาศต่อสังคมไทย คณะผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมเชิง ลึกต่อ โดยได้ศึกษาผลกระทบเชิงลบจากมลพิษทางอากาศซึ่งรวมถึงฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ “พีเอ็ม 2.5” (Particulate Matter 2.5: PM2.5) ผ่านการค้นคว้าผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่เป็นท่ียอมรับในแวดวง วิชาการระดับนานาชาติ รวมท้ังผลกระทบเชิงประจักษ์จากการลงสำรวจพื้นที่ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดประชุมกลุ่มย่อยร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหลากหลายกลุ่มพื้นที่

เนื้อหาในสมุดปกฟ้าอากาศสะอาดได้ถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วนหลัก และ 17 บทย่อย โดยในส่วนหลักท่ี 1 (บทที่ 1-5) เป็นการกล่าวถึงความสำคัญของปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเจาะลึกไปท่ีแหล่งกำเนิดหลักท่ีสำคัญ ได้แก่ ภาคยานยนต์ ภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้างและพัฒนาเมืองภาคเกษตรและป่า ไม้ และมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความเชื่อมโยงกับนโยบายการพัฒนาประเทศท่ีเน้นเพียงแค่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยปราศจากการ คำนึงถึงผลกระทบท่ีมีต่อมิติสุขภาพและส่ิงแวดล้อมอย่างแท้จริงเท่าท่ีควร และยังครอบคลุมปัญหาในมิติทางสังคมและวัฒนธรรม สาระสำคัญของส่วนหลัก ท่ี 1 อีกประการคือการนำเสนอองค์ความรู้ด้านองค์ประกอบทางเคมี เช่น สาร ก่อมะเร็งโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน สารก่อการกลายพันธุ์ไดออกซิน และองค์ความรู้ด้านขนาดของอนุภาคพีเอ็ม 2.5 ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบเชิงลบ

ต่อสุขภาพรวมทั้งเป็นสาเหตุของโรคร้าย เช่น โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง และได้มีการนำเสนอข้อมูลผลกระทบเชิงลบที่คาดไม่ถึงต่อสุขภาพจากการเผาในภาคเกษตรซึ่งมาจากการตกค้างของสารเคมียาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลง นอกจากน้ันยังนำเสนอความเชื่อมโยงของจุลินทรีในอากาศกับมลพิษทางอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพและทิ้งท้ายด้วยวิธีทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศที่ต่างกันของคนแต่ละกลุ่มปัจจัยเสี่ยงและมาตรการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพที่เหมาะสม

ในส่วนหลักที่ 2 (บทที่ 6-8) ได้นำเสนอผลกระทบและมูลค่าความเสียหายเชิงเศรษฐศาสตร์ของมลพิษทางอากาศจากงานวิจัยซึ่งพบว่ามลพิษทางอากาศสร้าง ผลกระทบท่ีสูงมากต่อสังคมไทยซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 2.06 ล้านล้านบาท นอกจากน้ันมลพิษทางอากาศยังส่งผลกระทบเชิงประจักษ์ต่อการท่องเที่ยวในภาคเหนือ โดย งานวิจัยพบว่ามลพิษทางอากาศได้สร้างผลกระทบเชิงลบต่อการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญโดยความเสียหายด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่เฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน 2562 มีมูลค่าเท่ากับ 6,309 ล้านบาท กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยอ่อนไหวต่อมลพิษทางอากาศมากกว่าชาวต่างประเทศ ขณะที่ในกลุ่มของชาวต่างประเทศน้ันนักท่องเที่ยวจากชาติตะวันตกมีความอ่อนไหวต่อมลพิษทาง อากาศมากกว่านักท่องเท่ียวท่ีมาจากทวีปเอเชีย คณะผู้วิจัยยังได้ศึกษาผลกระทบ ของมลพิษทางอากาศต่อธุรกิจจัดวิ่งมาราธอนและปั่นจักรยานในภาคเหนือซึ่งเชื่อมโยงกับการท่องเท่ียวและสามารถสร้างและกระจายรายได้ให้กับคนในชุมชนอย่างมาก โดยผลการศึกษาเชิงประจักษ์พบว่าธุรกิจเหล่าน้ีกำลังได้รับผลกระทบเชิงลบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัญหามลพิษทางอากาศ

ในส่วนหลักท่ี 3 (บทท่ี 9-10) คณะผู้วิจัยได้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกถึงผล กระทบของมลพิษทางอากาศเชิงประจักษ์ท่ีมีต่อนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนในพื้นท่ี และสถาบันการศึกษาท้ังในกรุงเทพฯ จังหวัดสมุทรสาคร และ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพบว่า ในภาพรวมนักเรียนได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญ ประเด็นท่ีสำคัญอีกประการคือความเหลื่อมล้ำในด้านมาตรการป้องกัน ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ระหว่างนักเรียนที่สังกัดโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน กล่าวคือ โรงเรียนเอกชนเกือบทุกแห่งมีการจัดหาเครื่องฟอกอากาศให้กับนักเรียนได้เกือบ ทุกห้อง ขณะท่ีนักเรียนในโรงเรียนสังกัดรัฐบาลส่วนใหญ่ต้องทนทุกข์กับมลพิษ ทางอากาศที่ย้ำแย่ นอกจากน้ัน มลพิษทางอากาศทำให้ผู้อาศัยในชุมชนแออัดที่มี รายได้น้อยเจ็บป่วย และคนส่วนใหญ่ในชุมชนแออัดให้ความสำคัญน้อยมากถึงผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพทั้ง ๆ ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการได้รับมลพิษทางอากาศด้วยเหตุที่ว่าจำเป็นต้องหารายได้เพื่อเลี้ยงปากท้อง หน่วยงานในพื้นที่เผชิญกับข้อจำกัดในการใช้งบประมาณเพื่อเจาะเลือดและตรวจสุขภาพให้นักเรียน และชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนั้น ยังพบว่ามาตรการห้ามเผาของรัฐบาลได้ ส่งผลกระทบเชิงลบต่อวิถิชีวีตของชาวบ้านในพี้นที่อันเป็นสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชุมชน และชาวบ้านในพื้นที่เกิดความไม่ไว้วางใจรัฐบาลในการแก้ปัญหา

ในส่วนหลักท่ี 4 (บทที่ 11-16) ได้มุ่งความสนใจไปที่การวิเคราะหน์ โยบาย และมาตรการที่ภาครัฐนำมาใช้เพื่อลดมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ซึ่งพบประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ ประการแรก การยกระดับมาตรฐานน้ำมันได้ถูกเลื่อนออกไปจากแผนเดิม เกิดความไม่สอดคล้องกันด้านระยะเวลาของการนำมาใช้ระหว่างมาตรฐานไอเสีย และมาตรฐานน้ำมัน และรัฐบาลยังขาดความชัดเจน ในการกำหนดราคาส่วนต่างของราคาขายระหว่างน้ำมันมาตรฐานยูโร 4 และยูโร 5 ทำให้เอกชนไม่กล้าลงทุน ประการที่สอง คือ นโยบายและมาตรการในปัจจุบัน เพื่อลดมลพิษทางอากาศในภาคอุตสาหกรรมยังไม่เพียงพอ มีปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย ไม่เคยมีการเผยแพรข้อมูลสถิติชนิดและปริมาณสารมลพิษที่ระบายออกจากโรงงานให้ประชาชนรับทราบ ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบหรือเข้าไปมีส่วนรวมในการตรวจสอบได้ และไม่มีการพัฒนาฐานข้อมูล เกี่ยวกับโรงงานเพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะ ประการท่ีสาม คือ นโยบายและมาตรการเพื่อลดการเผาในท่ีโล่งแจ้ง

ที่ผ่านมาล้มเหลวทั้งในระดับภูมิภาคระดับอนุภูมิภาค และระดับประเทศของไทย และประการท่ี 4 ซึ่งนับว่าเป็นจุดเด่นอีกประการของ “สมุดปกฟ้าอากาศสะอาด” คือ การนำเสนอข้อมูลจากงานวิจัยในอดีตถึงสิทธิของประชาชนที่เกี่ยวข้องกับ ปัญหามลพิษทางอากาศซึ่งมี 2 มิติ ได้แก่ มิติของ “สิทธิเชิงเนื้อหา” และมิติของ “สิทธิเชิงกระบวนการ” ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาข้อมูลที่รวบรวมได้ชี้ชัดถึงความไม่เพียงพอของกฎหมายและองค์กรของรัฐเกี่ยวกับการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการคุ้มครองสิทธิของประชาชน

ในส่วนหลักสุดท้าย (บทท่ี 17) คณะนักวิจิย ได้ทำการสรุปและชี้แจงการดำเนินการในขั้นต่อไปเพื่อให้มั่นใจว่าประชาชนไทยสามารถเข้าถึงอากาศสะอาดได้ อย่างแท้จริงตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมี

ที่มา : Thailand Clean Air Network https://thailandcan.org

คืนอากาศดีให้คนไทย

เราทุกคนมีสิทธิเข้าถึงอากาศสะอาดและต้องการให้รัฐบาลกำหนดนโยบายที่เข้มแข็งมีประสิทธิภาพเพื่อปกป้องชีวิตผู้คนจากมลพิษทางอากาศ ร่วมผลักดันกรมควบคุมมลพิษเพื่อยกร่างมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศสำหรับประเทศไทยขึ้นใหม่ เพื่อปกป้องสุขภาพของคนไทย

มีส่วนร่วม