ปกป้องมหาสมุทรโลก

มหาสมุทรมีพื้นที่กว่า 71% ของผิวโลก ใต้ทะเลลึกยังมีอะไรที่มากที่เราไม่รู้จัก สิ่งมีชีวิตนับไม่ถ้วนอาศัยอยู่ร่วมกันภายใต้ระบบนิเวศอันซับซ้อน คอยรักษาสมดุลของโลกและหล่อเลี้ยงชีวิตคนไทยและคนทั่วโลก

แต่ตอนนี้มหาสมุทรกำลังถูกคุกคามอย่างหนัก จากการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลที่ดำเนินต่อเนื่องมายาวนาน ประมงทำลายล้างที่ไร้การควบคุม ภัยคุกคามที่เกิดจากโครงการอุตสาหกรรมทั้งชายฝั่งและกลางทะเล

มหาสมุทรโลกกำลังถูกคุกคาม

วิกฤตสภาพภูมิอากาศ มลพิษ ประมงทำลายล้าง กำลังจะทำให้ระบบนิเวศมหาสมุทรเสื่อมโทรมลง กระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและชีวิตของคนพันล้านทั่วโลก ทางออกเดียวตอนนี้คือการสร้างเขตคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่สิ่งมีชีวิตใต้ทะเล และระบบนิเวศได้ฟื้นคืนความสมบูรณ์

เมื่อต้นปี 2563 ประเทศต่างๆได้บรรลุข้อตกลงสนธิสัญญาทะเลหลวง ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างเขตคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือรัฐบาลอย่างน้อย 60 ประเทศทั่วโลกต้องให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญา โดยหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย

กรีนพีซร่วมผลักดันสนธิสัญญาทะเลหลวง

ในปี 2548 กรีนพีซเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันสนธิสัญญาทะเลหลวง (Global Ocean Treaty) ตั้งแต่ต้น สนธิสัญญาดังกล่าวจะช่วยปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างเขตอนุรักษ์ทางทะเลในน่านน้ำสากล

การปล่อยข้อเรียกร้องนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะน่านน้ำที่อยู่ถัดไปจากทะเลอาณาเขตของประเทศ หรือที่เราเรียกกันว่า ทะเลหลวง (high sea) เป็นเขตที่ไม่มีกฎหมายในการกำกับดูแล และถูกคุกคามจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์

เราเรียกร้องการกำหนดเขตคุ้มครองทะเลให้ได้อย่างน้อยที่สุดคือร้อยละ 30 ของมหาสมุทรทั้งหมดภายในปี 2573 ซึ่งประเทศสมาชิกสหประชาชาติก็เห็นด้วยกับเป้าหมายนี้

Crew of MY Esperanza in Antarctica. © Andrew McConnell / Greenpeace

เสียงของคุณช่วยปกป้องมหาสมุทรโลกได้

การร่วมลงชื่อเพื่อสนับสนุนสนธิสัญญาทะเลหลวงจะช่วยผลักดันให้เกิดพื้นที่คุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลที่ชุมชนชายฝั่งมีส่วนร่วมในการบริหาร (OECM) ในพื้นที่ทะเลไทย


เรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับการปกป้องมหาสมุทรโลก