อัมสเตอร์ดัม, 3 ตุลาคม 2562 – นักวิทยาศาสตร์ 65 คนจาก 11 ประเทศร่วมเรียกร้องให้บรรดาผู้ว่า และนายกเทศมนตรีในเมืองต่างๆ ทั่วโลกลดปริมาณการแจกจำหน่ายอาหารที่นำจากเนื้อสัตว์ตามโรงอาหารของหน่วยงานรัฐ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแผนการฉุกเฉินในการรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศในขณะนี้

พีท สมิธ (Pete Smith) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยอาเบอร์ดีน และผู้เขียนนำของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change) หรือ ไอพีซีซี (IPCC) ได้เป็นแกนนำในการนำนักวิทยาศาสตร์ออกโรงเรียกร้องการลดอาหารที่ทำจากเนื้อในโรงอาหารของหน่วยงานรัฐในเมืองต่างๆ ซึ่งในบรรดานักวิทยาศาสตร์ที่เข้าร่วม มีแกนนำสำคัญอย่าง เดวิด ซูซูกิ นักวิทยาศาสตร์และนักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ชื่อดังชาวแคนาดารวมอยู่ด้วย โดยนักวิทยาศาสตร์ที่เข้าร่วมทั้งหมด แสดงข้อเรียกร้องให้มีการลดการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อสัตว์ทุกชนิด อันจะมีส่วนอย่างยิ่งในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตอาหาร และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์ “เพื่อสรรสร้างอนาคตที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งพลเมืองและโลกใบนี้ พวกเราขอให้บรรดาผู้ว่าและนายกเทศมนตรีทั้งหลายลดอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ตามโรงอาหารของหน่วยงานรัฐ และหันมาเพิ่มสัดส่วนอาหารที่ทำมาจากพืชเป็นหลัก (plant-based foods) ให้มากขึ้น [1] [2] [3] [4]

ปัจจุบัน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมฟาร์มปศุสัตว์ ซึ่งหมายรวมถึงการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้พื้นที่การเลี้ยงดูสัตว์เหล่านี้ มีสัดส่วนถึง 14.5% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงจากทั่วโลกทั้งหมด เรียกได้ว่ามีสัดส่วนเทียบเท่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์ รถไฟ เรือและเครื่องบิน รวมกัน [3] ซึ่งหากไม่มีการดำเนินมาตรการใดๆ ที่เพียงพอ ตัวเลขการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

ศาสตราจารย์ พีท สมิธ กล่าวว่า : “การลดปริมาณการรับประทานผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์และนม ตามเมืองต่างๆ ที่กำลังขยายตัวเติบโตนี้ เป็นหนทางหนึ่งที่จะจัดการปัญหาเร่งด่วนของสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละเมือง มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยเหลือสนับสนุนพลเมืองให้ลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เรเยส ทิราโด โฆษกกรีนพีซสากล กล่าวว่า “บันทึกผลกระทบของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas footprint) ของอาหารที่ผลิตจากพืชมีปริมาณน้อยกว่า 100 เท่าของอาหารที่ผลิตจากเนื้อสัตว์ การเปลี่ยนไปสู่การพึ่งพาอาหารเน้นพืชเป็นหลักถือเป็นอีกหนทางหนึ่งในการช่วยปกป้องป่าไม้ของโลก เช่น ป่าแอมะซอน ด้วยการลดปริมาณความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ลง ซึ่งรวมถึงการลดปริมาณทรัพยากรที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะทำให้เมืองต่างๆ ทั่วโลกสามารถสร้างความแตกต่างอย่างมากให้เกิดขึ้นกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนและการตัดไม้ทำลายป่า ขณะเดียวกัน พวกเรายังคงสามารถจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับก่อนยุคอุตสาหกรรม แต่พวกเราจำเป็นต้องลงมือทำทันที”

เมืองที่โดดเด่นที่เป็นตัวอย่างของแนวทางลดอาหารจากเนื้อสัตว์คือ กรุงโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก ซึ่งรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนายกเทศมนตรีโลก หรือ C40 World Mayors Summit ประจำปีนี้ เพราะได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า แนวทางการลดการบริโภคเนื้อและหันมาพึ่งพาอาหารจากพืชเป็นหลักเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ โดยกรุงโคเปนเฮเกน เพิ่งจะผ่านแผนยุทธศาสตร์ด้านอาหารฉบับใหม่ ที่มีเป้าหมายเพื่อตัดลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้อย่างน้อย 25% ภายในปี 2568 ด้วยการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ และหันมาเพิ่มอาหารจากพืชให้มากขึ้น

เรเยส ทิราโด กล่าวอีกว่า “นายกเทศมนตรีและรัฐบาลท้องถิ่นของเมืองต่างๆ มีหน้าที่ในการดูแลมื้ออาหารนับล้านๆ มื้อในแต่ละวัน ดังนั้น พวกเขาจึงควรทำทุกสิ่งภายใต้ขอบเขตอำนาจความรับผิดชอบของตนเพื่อสร้างสรรค์อนาคตที่แข็งแกร่งต่อทั้งพลเมืองและโลกใบนี้”

ทั้งนี้ ปีนี้มีเมืองกว่า 100 เมืองทั่วโลกได้เข้าร่วมการชุมนุมประจำปีภายใต้ข้อตกลงนโยบายอาหารเมืองแห่งมิลาน (Miland Urban Food Policy Pact) ที่เมืองมงเปลิเยในฝรั่งเศส (7-9 ตุลาคม) และเข้าร่วมการประชุม นายกเทศมนตรีโลก หรือ C40 World Mayors Summit ที่กรุงโคเปนเฮเกน ของเดนมาร์ก (9-12 ตุลาคม) เพื่อให้เกิดการลงมือปฎิบัติตามที่บรรดานักวิทยาศาสตร์เสนอ กรีซพีซจึงขอร่วมเรียกร้องให้เหล่าผู้ว่า และนายกเทศมนตรีของเมืองเหล่านี้ ใช้โอกาสครั้งนี้ให้คำมั่นในการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านอาหารของเมือง ซึ่งรวมถึงการลดปริมาณเนื้อสัตว์ที่มีให้บริการอยู่ตามโรงอาหารสาธารณะของเมืองนั้นๆ

 

หมายเหตุ:

Scientists’ call to action: https://www.scientists4lessmeat.org/

 

รูปภาพ Photos: https://media.greenpeace.org/collection/27MZIFJ8QE9YQ

[1] Bajželj B., Richards K.S., Allwood J.M., Smith P., Dennis J.S., Curmi E. & Gilligan C.A. 2014. The importance of food demand management for climate mitigation. Nature Climate Change 4, 924–929.

[2] https://www.scientists4lessmeat.org/

[3] Gerber, P.J., Steinfeld, H., Henderson, B., Mottet, A., Opio, C., Dijkman, J., Falcucci, A. &Tempio, G. 2013. Tackling climate change through livestock – A global assessment of emissions and mitigation opportunities.Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO), Rome.

 [4] The appeal is also supported by other renowned scientists such as Stanford University professor Rodolfo Dirzo, McGill University professor Elena Bennet, Oregon State University professor William Ripple, emeritus professor at AgroParisTech Marc Dufumier and University of the Philippines professor Vincent Hilomen.

[4] ข้อเรียกร้องในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงชั้นนำมากมาย อย่าง ศาสตราจารย์ โรดอลโฟ ดิร์โซ (Rodolfo Dirzo) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด, ศาสตราจารย์ เอเลนา เบนเน็ต (Elena Bennet) แห่งมหาวิทยาลัยแมคกิลล์, ศาสตราจารย์วิลเลียม ริปเปิล (William Ripple) แห่งมหาวิทยาลัยรัฐโอเรกอน, ศาสตราจารย์กิตติคุณ มาร์ค ดูฟูมิเยร์ (Marc Dufumier) สถาบันการศึกษาและวิจัยอะโกร ปารีส เทค (AgroParis Tech) และศาสตราจารย์วินเซนต์ ไฮโลเมน (Vincent Hilomen) แห่งมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์

 

Reyes Tirado is Senior Scientist at the Greenpeace Research Laboratory at the University of Exeter, UK. 

เรเยส ทิราโด เป็นนักวิทยาศาสตร์อาวุโสประจำห้องปฎิบัติการวิจัยกรีนพีซ ที่มหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ สหราชอาณาจักร

 

Fundraising Team in Manila. © Geric Cruz / Greenpeace
ร่วมบริจาค

ด้วยความช่วยเหลือจากคุณ ทำให้เราสามารถใช้วิธีการที่สร้างสรรค์อย่างสันติ เปิดโปงการทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องมหาสมุทร ป่าไม้ แหล่งน้ำ อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งล้วนเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกชีวิตบนโลกใบนี้

มีส่วนร่วม