4 เมษายน พ.ศ.2562 ลอนดอน สหราชอาณาจักร – ในขณะที่การประชุมเจรจาระหว่างรัฐบาล ณ องค์การสหประชาชาติว่าด้วย สนธิสัญญาทะเลหลวง (Global Ocean Treaty) ครั้งประวัติศาสตร์ รายงานทางวิทยาศาสตร์ที่ทำขึ้นเป็นครั้งแรกโดยทีมนักชีววิทยาทางทะเลชั้นนำได้แสดงให้เห็นว่าเราสามารถปกป้อง 1 ใน 3 ของพื้นที่มหาสมุทรโลกภายในปี พ.ศ.2573 ได้อย่างไร โดยเป้าหมายที่นักวิทยาศาสตร์ตั้งไว้มีความสำคัญอย่างมากในการอนุรักษ์สัตว์ทะเลและช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

รายงาน 30×30 แผนการปกป้องมหาสมุทรโลก (30×30: A Blueprint For Ocean Protection) อ่านสรุปรายงาน หรือ รายงานฉบับเต็ม เป็นผลจากความร่วมมือหลายปีระหว่างนักวิชาการชั้นนำของมหาวิทยาลัยยอร์ก มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และกรีนพีซ [1] การศึกษาครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในโครงการวิจัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยแบ่งพื้นที่มหาสมุทรโลกซึ่งครอบคลุมเกือบครึ่งหนึ่งของโลก ออกเป็น 25,000 ส่วน แต่ละส่วนมีพื้นที่กว้าง 100 กิโลเมตร ยาว 100 กิโลเมตร หลังจากนั้นทำการวางตำแหน่งการกระจายตัวของพื้นที่อนุรักษ์ที่แตกต่างกันถึง 458 ประเภท ได้แก่ พืชและสัตว์ทะเล ถิ่นที่อยู่อาศัยและพื้นที่สำคัญในทางสมุทรศาสตร์  เพื่อสร้างแนวทางที่เป็นไปได้นับร้อยแบบของโครงข่ายของเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล(Ocean Sanctuaries) ที่ปราศจากการรบกวนของกิจกรรมมนุษย์ที่เป็นอันตราย

“การร่อยหรออย่างรวดเร็วของทรัพยากรและสัตว์ทะเลที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของมหาสมุทรโลกทำให้ทั่วทั้งโลกตกตะลึง” ศาสตราจารย์คาล์ลัม โรเบิร์ต นักชีววิทยาทางทะเล มหาวิทยาลัยยอร์กกล่าว “การสูญเสียนกทะเล เต่า ฉลามและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล เนื่องจากการถูกสังหาร แสดงให้เห็นถึงระบบการบริหารที่ล้มเหลวของภาครัฐ ซึ่งภาครัฐที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติต้องแก้ไขเรื่องนี้โดยด่วน” รายงานฉบับนี้จะแสดงให้เห็นถึงวิธีการที่จะทำให้การอนุรักษ์แผ่ขยายออกไปยังน่านน้ำสากลเพื่อสร้างโครงข่ายการอนุรักษ์ที่จะปกป้องไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์ของสัตว์ชนิดต่างๆ และช่วยให้สัตว์ทะเลเหล่านี้อยู่รอดในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

การเจรจา ณ องค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับสนธิสัญญาทะเลหลวงอาจเป็นหนทางที่จะปกป้องมหาสมุทรโลกที่อยู่นอกเหนือพรมแดนประเทศ ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมกว่า 230 ล้านตารางกิโลเมตร การวิจัยครั้งนี้ได้สำรวจให้เห็นว่าเราสามารถปกป้องมหาสมุทรโลกร้อยละ 30 และร้อยละ 50 ได้อย่างไร อีกทั้งการเจรจาครั้งนี้ยังเป็นการขยายประเด็นเป้าหมายการอนุรักษ์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น สำหรับการตรวจสอบสถานการณ์การอนุรักษ์ด้านต่างๆ เช่นเดียวกับพื้นที่เสี่ยงของพืชและสัตว์ทะเลและภัยคุกคามต่อมหาสมุทรนั้น สามารถตรวจสอบได้จาก แผนที่ 

“การทำเขตสงวนทางทะเลเป็นการอนุรักษ์และปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพในมหาสมุทรอย่างเร่งด่วน” ศาสตราจารย์อเล็กซ์ โรเจอร์ อาจารย์จากภาควิชาสัตววิทยา มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดกล่าว “รายงาน 30×30 ออกแบบโครงข่ายเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลได้อย่างน่าเชื่อถือ ด้วยพื้นฐานองค์ความรู้ของนักนิเวศวิทยาทางทะเลในหลายปีที่ผ่านมาในเรื่องการกระจายตัวของสายพันธ์ุสิ่งมีชีวิต รวมทั้งสายพันธุ์ที่ถูกคุกคามและใกล้สูญพันธุ์ถิ่นที่อยู่อาศัยที่เป็นศูนย์กลางของความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศที่มีลักษณะเฉพาะ นักวิทยาศาสตร์จากอ็อกซ์ฟอร์ดร่วมกับกรีนพีซและและมหาวิทยาลัยยอร์ก ร่วมกันจัดหาข้อมูลระบบนิเวศทะเลและความเชี่ยวชาญในทะเลลึก รวมทั้งเทือกเขาใต้ทะเลและปล่องความร้อนใต้สมุทร และในช่วงที่มีการเจรจาในเวทีสหประชาชาติเกี่ยวกับสนธิสัญญาทะเลหลวง ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้การเจรจาตกผลึกกลายเป็นแนวคิดใหม่ในการปกป้องสิ่งมีชีวิตในทะเลในเขตน่านน้ำสากล ทั้งสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคามจนใกล้จะสูญพันธุ์”

สุนทรพจน์จากเวทีเจรจา ณ องค์การสหประชาชาติ ด็อกเตอร์ซานดรา สก็อตต์เนอร์ จากแคมเปญปกป้องมหาสมุทร กรีนพีซ กล่าวว่า :

“จากวิกฤตสภาพภูมิอากาศไปจนถึงสภาวะความเป็นกรดของมหาสมุทร ทั้งการประมงเกินขนาดและมลพิษต่างๆ มหาสมุทรของเราไม่เคยอยู่ในวิกฤตที่ถูกคุกคามมากขนาดนี้มาก่อน เราต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 อย่างเร่งด่วน และงานวิจัยที่น่าสนใจชุดนี้จะแสดงให้เราเห็นถึงวิธีการที่เป็นไปได้ในการสร้างโครงข่ายของเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลที่เข้มแข็งไปทั่วโลก รายงานชุดนี้ไม่ใช่เพียงแค่การวาดเส้นลงบนแผนที่แต่เป็นการเชื่อมจุดสำคัญของระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตในทะเล ถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล รวมทั้งข้อมูลการอพยพและระบบนิเวศที่อยู่ในความเสี่ยง รายงานชุดนี้คือพิมพ์เขียวสำหรับการปกป้องมหาสมุทร ซึ่งจะเป็นเกราะกำบังแข็งแรงให้กับสิ่งมีชีวิตในทะเล รวมทั้งยังช่วยปกป้องสิ่งมีชีวิตในทะเลเหล่านี้จากภัยคุกคามต่างๆและช่วยฟื้นฟูชีวิตและระบบนิเวศ”

“การเจรจาระหว่างรัฐบาลที่เกิดขึ้น ณสหประชาชาติสำคัญมากเพราะหากการเจรจาบรรลุผล รัฐบาลทั่วโลกจะสามารถปกป้องมหาสมุทรตาม สนธิสัญญาทะเลหลวงภายในปี พ.ศ.2563 ซึ่งจะเป็นการนำร่องโครงข่ายของเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลซึ่งปราศจากการคุกคามจากกิจกรรมที่เป็นอันตรายของมนุษย์ เป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตในทะเล

 

มหาสมุทรของเรากำลังอยู่ในภาวะวิกฤต สิ่งที่เราต้องการคือเจตจำนงทางการเมืองเพื่อปกป้องมหาสมุทรเอาไว้ก่อนสายเกินไป”

 

อ้างอิง

[1] 30×30: A Blueprint for Ocean Protection builds on a scientific study by a team of experts which was led by Professor Callum Roberts at the University of York to design a marine protected area network for the high seas. The research team included scientists at the Universities of York, Oxford, Edinburgh and Salford and the study was financially supported by the ‘Umweltstiftung Greenpeace’ (Environment Foundation Greenpeace), Germany, which promotes the protection of the environment and nature, as well as peace research. It supports Greenpeace campaigns and other conservation projects all over the world.

ติดต่อ:

Luke Massey, Head of Communications & Engagement for Greenpeace’s Protect the Oceans campaign, [email protected], +44 (0) 7973 873 155

Greenpeace International Press Desk: [email protected], +31 (0) 20 718 2470 (available 24 hours)

University of York:  Alistair Keely, Head of Media Relations, [email protected], +44 (0) 1904 322153. Out of hours: +44 (0) 7795 315 029

University of Oxford: Ruth Abrahams, Media Relations Manager (Research and Innovation), [email protected], +44 (0)1865 280 730

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม