บาหลี, อินโดนีเซีย, 29 ตุลาคม- กรีนพีซเปิดรับต่อเจตนารมย์ระดับโลกว่าด้วยระบบเศรษฐกิจพลาสติกแบบใหม่ (The New Plastics Economy Global Commitment) ของมูลนิธิเอลเลนแมคอาเธอร์ที่ประกาศใช้ในวันนี้ด้วยความระมัดระวัง โดยกล่าวว่าเจตนารมณ์นี้ยืดหยุ่นต่อบริษัทมากเกินไป โค้ก ดานอน มาร์ส เป๊ปซี่ ยูนิลีเวอร์ และบริษัทอีกกว่า 250 รายได้ลงนามให้คำมั่นสัญญาว่าจะแก้ปัญหามลพิษพลาสติก แม้กรีนพีซซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มBreak Free From Plastic ได้เตือนให้บริษัทเหล่านี้มีปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรมที่มุ่งเน้นการลดปริมาณพลาสติก

เพื่อตอบรับต่อคำประกาศของมูลนิธิเอลเลนแมคอาเธอร์ในวันนี้ อะหมัด อาโชฟ หัวหน้าโครงการพลาสติกโลก กรีนพีซ อินโดนีเซียกล่าวว่า:

“ขณะที่องค์ประกอบต่างๆ ในเจตนารมย์ระดับโลกของมูลนิธิเอลเลนแมคอาเธอร์กำลังเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้อง ปัญหาคือบริษัทได้รับอนุญาตให้คงนโยบายที่ให้ความสำคัญกับการรีไซเคิลมากกว่าการลดปริมาณ (reduction) หรือการนำกลับมาใช้ซ้ำ (reuse) ไม่มีการกำหนดให้บริษัทตั้งเป้าหมายที่แน่นอนในการลดปริมาณพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งที่พวกเขาผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก ภายหลังการลงนามในคำประกาศ บริษัทจะยังคงดำเนินธุรกิจดังที่เคยทำมา

“ในรายงานล่าสุดของเราเรื่อง “วิกฤติของความสะดวกสบาย” เปิดเผยว่าแผนงานปัจจุบันของบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ที่สุด 11 ราย เปิดให้มีการเพิ่มการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง และไม่มีบริษัทใดตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการกำจัดหรือลดปริมาณพลาสติก”

“ถ้ายังเราคงเดินไปตามแนวทางนี้ การผลิตพลาสติกทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นสองเท่าตัวภายใน 20 ปี และเพิ่มเป็น 4 เท่าในปีพ.ศ. 2593 [1] หากบริษัทขาดความรับผิดชอบต่อเป้าหมายที่ทั้งท้าทายและเป็นข้อบังคับในการลดปริมาณพลาสติก เราจะไม่สามารถแก้ปัญหาที่ต้นกำเนิด และความพยายามอย่างเจตนารมณ์ของมูลนิธิเอลเลนแมคอาเธอร์จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ไม่มากนัก”

กรีนพีซเรียกร้องให้บริษัทต่างๆ เช่น เนสท์เล่, ยูนิลีเวอร์, โคคา-โคล่า และเป๊ปซี่แสดงความเป็นผู้นำอย่างแท้จริงและลงมือทำดังต่อไปนี้:

  • ตั้งเป้าหมายที่ท้าทายและเชื่อถือได้เพื่อลดพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง
  • ลงมือทำทันทีทันใดเพื่อกำจัดบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สร้างปัญหาและมากเกินจำเป็น
  • จัดอันดับความสำคัญของการลงทุนในการใช้ซ้ำ (reuse) และระบบทางเลือกในการกระจายสินค้า
  • เปิดให้มีความโปร่งใสและรายงานปริมาณพลาสติกที่ตนเองสร้างขึ้นต่อปี

ดูภาพและวิดีโอที่นี่ :
https://media.greenpeace.org/collection/27MZIFJWMJGLA
อ้างอิง :
[1] www3.weforum.org/docs/WEF_The_New_Plastics_Economy.pdf
ติดต่อ:

Greenpeace International Press Desk, [email protected], phone: +31 (0) 20 718 2470 (available 24 hours)