แถลงการณ์

5 ธันวาคม 2560

ส่งถึง: หัวหน้าคณะผู้แทนประจำที่ประชุมคณะกรรมาธิการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกกลางและตะวันตก (WCPFC) ครั้งที่ 14

เรียน คณะผู้แทนฯ

จดหมายฉบับนี้ยื่นในนามอุตสาหกรรมบรรจุอาหารกระป๋องในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ และสินค้าหลายแบรนด์ของไทย

รายละเอียดตามเอกสารข้อเสนอแนะของอุตสาหกรรมบรรจุอาหารกระป๋องแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกกลางและตะวันตก (WCPFC) ครั้งที่ 14 (1) ดังนี้

1.ปลาทูน่าเป็นปลาที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากที่สุดในโลก และเป็นสายพันธุ์นักล่าที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งในระบบนิเวศทางทะเล อุตสาหกรรมปลาทูน่ามีส่วนในการจัดสรรงานหลายพันตำแหน่งในกระบวนการจับปลา แปรรูป และจำหน่ายไปทั่วโลก การค้าปลาทูน่าเชิงพานิชย์ทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 42 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (2)

2.มหาสมุทรแปซิกกลางและตะวันตก เป็นแหล่งจับปลาทูน่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ให้ผลผลิตร้อยละ 56 ของการประมงทั่วโลกในปี 2559 มหาสมุทรแปซิกกลางและตะวันตกจึงเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญมากของอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีปริมาณการผลิตถึง 2,717,850 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 5.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อปี 2559 (3)

3.บริษัทแปรรูปทั้งหลายในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นตัวแปรสำคัญต่อความพยายามบรรลุถึงความยั่งยืน การตรวจสอบย้อนกลับ และความเป็นธรรม เมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 กรีนพีซและบริษัทไทยยูเนี่ยนได้บรรลุข้อตกลง (4) ในสี่ประเด็นสำคัญ คือ สิทธิมนุษยชน การขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ำกลางทะเล การประมงเบ็ดราว และการใช้อุปกรณ์ล่อปลา (FADs) ตามข้อตกลงนี้ บริษัทไทยยูเนี่ยนได้ให้คำมั่นสัญญาที่มีนัยสำคัญและจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยมุ่งหวังสนับสนุนข้อปฏิบัติที่จะเป็นตัวอย่างในการประมง โดยลดแนวปฏิบัติที่ผิดกฎหมายและผิดศีลธรรมจรรยาในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก และจับปลาทูน่าป้อนสู่ตลาดหลักของโลกอย่างรับผิดชอบมากขึ้น ข้อตกลงในขั้นปฏิรูปนี้จะสร้างกลไกที่สำคัญต่อการเปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน รับผิดชอบต่อสังคม และโปร่งใสมากขึ้น โดยภายในปี 2561 จะมีองค์กรภายนอกที่เป็นอิสระเข้ามาตรวจสอบตามกระบวนการเพื่อให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ให้ไว้ และกรีนพีซสนับสนุนแผนริเริ่มตามรายละเอียดในข้อตกลง และจะติดตามความก้าวหน้าและการดำเนินการอย่างใกล้ชิด

4.อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลทั้งหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะปฏิบัติตามแนวทางของบริษัทไทยยูเนี่ยน เราจะเริ่มปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน การขนถ่ายสินค้า สัตว์น้ำกลางทะเล  การประมงเบ็ดราว และการใช้อุปกรณ์ล่อปลา(FADs) ให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 เราจะรับผิดชอบการเจรจาที่ตรงไปตรงมาและโปร่งใสอย่างต่อเนื่อง กับ “ผู้มีส่วนได้เสีย” (5)

—————————————-—————————————-

(1)  แถลงการณ์นี้ได้ยื่น ทบทวนและลงนาม ระหว่างการหารือในกลุ่มอุตสาหกรรมบรรจุอาหารกระป๋อง ที่เมืองเยนเนรัล ซานโตส ฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 และที่กรุงจาการ์ต้า อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560
      (2)  สำนักวิจัย The Pew Charitable Trusts. เรื่อง Netting Billions: A Global Valuation of Tuna in the Western And Central Pacific Ocean. เอกสารข้อเท็จจริง (23 กันยายน 2559)
      (3)  วิลเลี่ยมส์ พี และอื่นๆ (2559) อธิบายโดยสรุป อุตสาหกรรมประมงปลาทูน่าในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลาง รวมทั้งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ปี 2559 
     (4) http://www.greenpeace.org/international/Global/international/documents/oceans/Thai-Union-Commitments.pdf
      (5)  ผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ รัฐบาล บริษัทประมง กลุ่มแรงงาน เอ็นจีโอ ผู้ค้า ผู้บริโภค แรงงานประมง และ องค์กรจัดการประมงระดับภูมิภาค 
5.    เราได้ตรวจสอบเรือประมง 4,504 ที่ลงทะเบียนไว้กับ WCPO (6) ส่วนใหญ่เป็นเรือประมงเบ็ดราว หรือ อวน มีเพียงไม่กี่ลำที่เป็นเรือเบ็ดมือและเบ็ดตวัด เรายังได้ติดตาม 6 ประเทศแรกที่มีกองเรือประมงจดทะเบียนกับ WCPO มากที่สุดถึงร้อยละ 85 คือ ไต้หวัน ญี่ปุ่น จีน ฟิลิปปินส์​ สหรัฐฯ และ เกาหลี คณะผู้แทนควรทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดความร่วมมือสูงสุดในการบังคับใช้มาตรการอนุรักษ์และจัดการ
6.    เรามีความเห็นว่า มาตรการอนุรักษ์และจัดการ ควรควบคู่ไปกับการใช้มาตรการป้องกันไว้ก่อนและการตรวจสอบอย่างแข็งขัน ร่วมกับการควบคุมและเฝ้าระวัง ก็จะสามารถอนุรักษ์ปลาทูน่าและชนิดพันธุ์ที่สำคัญอื่นๆ เช่น ฉลาม เต่า และชนิดพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์อีกหลายชนิด พร้อมกันนี้ เราได้นำเสนอข้อแนะนำบางประการต่อคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณา

ข้อแนะนำ

สิทธิมนุษยชน

7.    เราวิตกกังวลมากที่สุดต่อประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขบนเรือประมงในน่านน้ำที่ห่างไกล ซึ่งมักจ้างแรงงานในภูมิภาคนี้ เราเชื่อว่า WCPFC เป็นหน่วยงานที่สำคัญในการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน และ WCPFC ควรพิจารณาออกแถลงนโยบายอย่างเป็นทางการต่อประเด็นสิทธิมนุษยชน และกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันการละเมิด

การประมงเบ็ดราว

8.    เราสนับสนุนอย่างแรงกล้าต่อข้อเสนอที่ให้มี “การติดตาม ควบคุม และ เฝ้าระวัง การประมงเบ็ดราว ที่ดีขึ้น (7)” มาตรการเหล่านี้ ควรได้รับการพิจารณา
a. ยกเลิกการขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ำกลางทะเลในน่านน้ำสากล
b. ครอบคลุมการตรวจสอบ (กองเรือทุกลำและทั่วทั้งภูมิภาค) และปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ที่ใช้การตรวจสอบทั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ และด้วยบุคคล อย่างเต็มพิกัด 100%
c. ติดตั้งระบบระบุตำแหน่งเรือประมงอัตโนมัติ VMS บนเรือประมงทุกลำ – โดยไม่อนุญาตให้มีการรายงานด้วยการเขียนด้วยมือ

อุปกรณ์ล่อปลา FADs

9.    เราสนับสนุนอย่างแรงกล้าต่อข้อเสนอที่ “จำกัดจำนวน FADs และจำนวน FADs ที่อนุญาตให้ใช้ ให้สอดคล้องกับมาตรการที่จริงจังในการรายงานและความโปร่งใสในการใช้ FADs มาตรการต่างๆนี้ ควรจะ
a. จำกัดจำนวน FADs ชั่วคราวที่อนุญาตให้ใช้ในเรือแต่ละลำ เพื่อลดปริมาณการใช้ในปัจจุบัน
b. ลดปริมาณการใช้ FADs
c. บังคับให้มีการรายงานและแสดงความโปร่งใสในการใช้ FADs ในทุกวัตถุประสงค์
d. กำหนดระยะเวลาเปลี่ยนผ่านไปใช้อุปกรณ์ FADs ที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และ ไม่พันกันยุ่งเหยิง

(6) ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2560
(7) ตราบใดที่มาตรการจับทูน่าเขตร้อน ไม่ได้เจาะจงประเด็นสิทธิมนุษยชน การห้ามถ่ายลำเรือ และ ติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังอย่างแข็งขันในการทำประมงประเภทวางเบ็ดราว มาตรการจับทูน่าที่กำหนดก็จะยังห่างไกลต่อการแก้ปัญหาต่างๆ

ประมงที่สร้างผลกระทบน้อย (เบ็ดมือ / เบ็ดตวัด)

10.   เราวิตกกังวลต่อผลกระทบมหาศาลของการประมงในน่านน้ำสากล ที่มีต่อการประมงแบบใช้เบ็ดมือ และเบ็ดตวัด เมื่อปลาทูน่าอยู่ในแหล่งเดียวกัน มาตรการอนุรักษ์และจัดการจึงควรจัดสรรให้มีการประมงอย่างเท่าเทียมในแหล่งเดียวกันนี้ ที่โอกาสในการประมงไม่ใช่เพื่อเบ็ดราวหรืออวนเท่านั้น แต่เพื่อประมงที่สร้างผลกระทบน้อย เช่น เบ็ดมือ และ เบ็ดตวัด ด้วย เราจึงนำเสนออย่างแข็งขัน ให้นำเบ็ดมือและเบ็ดตวัด เข้าไปอยู่ในกระบวนการตัดสินใจทั้งในระดับชาติ และ ในหมู่คณะกรรมาธิการ WCPFC  ด้วย ความคิดเห็นที่นำเสนอนี้ ควรได้รับการพิจารณาในการร่างมาตรการอนุรักษ์และจัดการ
11.   ท้ายที่สุด คณะกรรมาธิการควรกำหนดแนวทางเพื่อสนับสนุนข้อปฏิบัติทั้งหมด ความรับผิดชอบ ความโปร่งใส และการตรวจสอบได้ในกระบวนการตัดสินใจด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

•   บริษัทอลิอันซ์ เซเล็ค ฟู้ดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในนามของผู้บรรจุอาหารกระป๋องในฟิลิปปินส์ คุณเอ็ดเวิร์ด โนมา [email protected] +6326355241

•   แบรนด์ซีเล็ค ในนามของสินค้าแบรนด์ไทย คุณจารุวรรณ สัมพันธ์วานิช [email protected], [email protected] Tel. +66 (0)2-108-1980-1 ext.501

•   สมาคม Asosiasi Perikanan Pole & Line dan Handline Indonesia ในนามของผู้บรรจุอาหารกระป๋องในอินโดนีเซีย คุณจานติ ดจัวรี [email protected]

•   กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [email protected] +639178663036