นิวยอร์ก – ปัจจุบันผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นทั่วโลก ตั้งแต่ลิเบียไปจนถึงกรีซ จากฮาวายไปถึงจีน และอีกหลายประเทศทั่วโลกนำไปสู่ความเสียหายและการสูญเสียที่เพิ่มมากขึ้น ผลกระทบเหล่านี้เป็นภัยคุกคามต่อวิถีชีวิตมนุษย์และระบบนิเวศทั่วโลก และแม้ว่าจะมีนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมหลายหมื่นหลายพันคนออกมาแสดงเจตจำนงถึงความต้องการให้ผู้นำแต่ละประเทศต้องลงมือแก้ไขวิกฤตนี้อย่างเร่งด่วน แต่ผู้ก่อมลพิษหลักที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมหาศาลยังไม่ดำเนินการตามมาตรการของรัฐบาลทั้งหมด ซึ่งถือเป็นความต้องการแก้ไขสภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ

สำหรับการประชุมระดับผู้นำว่าด้วยการดำเนินการสภาพภูมิอากาศ (Climate Ambition Summit) อันโตนิโอ กูเตอร์เรส (António Guterres) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติก็มีท่าทีที่ชัดเจนว่าการประชุมครั้งนี้เกิดขึ้นสำหรับ “กลุ่มที่ต้องขับเคลื่อนเป็นกลุ่มแรก” และการเข้าร่วมนี้จะต้องมี “แนวทางที่เป็นไปได้, ความจริงจัง, และจะต้องมีแผนการแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศแบบใหม่” ซึ่งจะเป็นหมุดหมายสำคัญที่นำไปสู่การรับมือและแก้ไขวิกฤตที่เป็นอยู่อย่างเร่งด่วน

แมดส์ คริสเตนเซ่น ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซ สากล ให้สัมภาษณ์ขณะที่อยู่ในการประชุมที่องค์การสหประชาชาติว่า “กลุ่มผู้นำจากประเทศต่าง ๆ ที่ก่อมลพิษมากที่สุดส่วนใหญ่ปฏิเสธหรือไม่ก็เพิกเฉยต่อความท้าทายจากองค์การสหประชาชาติที่ต้องการยกระดับการแก้ไขปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศในการประชุมครั้งนี้ เปรียบเทียบง่าย ๆ กับในเวลาที่ผู้บริหารที่ร่ำรวยที่อยากใช้บริการรถไฟโดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินเพราะพวกเขาคิดว่าตัวเองอยู่เหนือกว่า ซึ่งในช่วงเวลาที่วิกฤตส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกเช่นนี้ การเพิกเฉยและไม่คิดจะแก้ไขปัญหาของกลุ่มผู้นำเหล่านี้ไม่เพียงแค่ไม่น่าเคารพ แต่พวกเขากำลังก่อให้โลกเกิดอันตรายและเราจำเป็นจะต้องออกมาเรียกร้องให้หนักแน่นกว่าเดิม เพราะเราทุกคนต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศเหมือนกัน แต่กลุ่มผู้ก่อมลพิษมากที่สุดใน G20 และนอร์เวย์ กลับเพิกเฉยต่อเรื่องนี้ ช่างน่าละอายเหลือเกิน”

“การประชุมระดับผู้นำว่าด้วยการดำเนินการสภาพภูมิอากาศ (Climate Ambition Summit) มีความคืบหน้าอยู่พอควร ซึ่งกรีนพีซเองแม้ว่าจะยินดีกับความคืบหน้านี้ แต่สำหรับสถานการณ์ทั่วโลกปัจจุบันแล้ว คำมั่นสัญญาเหล่านี้ยังไม่เพียงพอกับการที่วิกฤตสภาพภูมิอากาศยังคงเลวร้ายลงเรื่อย ๆ จนอาจนำไปสู่หายนะในไม่ช้า กลุ่มผู้นำในกลุ่มผู้ก่อมลพิษมากที่สุดจะต้องยอมรับการปลดระวางการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และหลังจากนี้ผู้นำแต่ละประเทศจะมีงานที่เร่งด่วนและเป็นงานใหญ่ที่ต้องทำเพื่อยุติการพัฒนาโครงการอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในประเทศของตัวเอง และจะต้องดำเนินการเพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนาที่ไร้ซึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิลในการประชุม COP28 พวกเขามีความสามารถพอและจะต้องเปลี่ยนผ่านประเทศเพื่อยุติยุคเชื้อเพลิงฟอสซิลให้ได้ เพราะหากพวกเขาทำไม่ได้ ก็จะเป็นประชาชนอย่างพวกเราที่จะออกมาเรียกร้องให้พวกเขาต้องรับผิดชอบ ทั้งบนถนน ในศาล และในการประชุม COP28”

หมายเหตุ

ดาวน์โหลดภาพและคลิปวิดีโอการเดินรณรงค์เพื่อยุติยุคเชื้อเพลิงฟอสซิลในกรุงนิวยอร์กได้ ที่นี่

ติดต่อ

Greenpeace International Press Desk: [email protected], +31 (0) 20 718 2470 (available 24 hours)