ปักกิ่ง – สัปดาห์นี้ ประชาชนกว่า 650,000 คนที่อาศัยอยู่ในเมืองจูโจวทางตอนใต้ของกรุงปักกิ่ง ต้องเผชิญกับเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงจากเหตุการณ์ฝนตกหนักในปักกิ่ง

โดยพื้นที่ 1 ใน 3 ของเมืองถูกน้ำท่วม ซึ่งก่อนหน้านี้มีเจ้าหน้าที่อธิบายว่า ‘เป็นพื้นที่ที่ขาดความปลอดภัย’

หลิวจุนเหยียน  นักวิจัยอาวุโส กรีนพีซ เอเชียตะวันออก ประจำสำนักงานปักกิ่ง กล่าวว่า

“ภูมิภาคดังกล่าวได้รับผลกระทบมากที่สุดจากพื้นที่ทั้งหมดในปักกิ่ง อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีทรัพยากรในการรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวเพียงน้อยนิด แต่ละภูมิภาคมีการเตรียมรับมือกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีประชาชนบางกลุ่มอาจไม่ได้รับการปกป้องเทียบเท่ากับประชาชนในภูมิภาคอื่น ๆ ดังนั้นเราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับระบบการรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศให้กับทุกชุมชนและทุกภูมิภาค ทั้งนี้ รายงานจากการวิจัยของเราระบุว่า จังหวัดที่มีขนาดเล็กจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงระบบเตือนภัยและการรับมือโดยภาครัฐในรูปแบบอื่น ๆ พร้อม ๆ กับปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรับมือกับเหตุการณ์สภาพสุดขั้ว บนแนวคิดที่ว่าประชาชนทุกคนควรได้รับความช่วยเหลือและจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

รายงานจากกรีนพีซ เอเชียตะวันออกที่เผยแพร่เมื่อปี 2564 ได้ทำแผนที่ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศใน ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และ กวางโจว – เสิ่นเจิ้น ผลการวิจัยระบุถึงความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศที่มาจากคลื่นความร้อนรุนแรงและฝนตกหนัก โดยอัตราการเกิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในพื้นที่จังหวัดเล็ก ๆ นอกศูนย์กลางเมืองใหญ่ ซึ่งเป็นชุมชนที่มีความพร้อมในการรับมือกับความเสี่ยงจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศได้ค่อนข้างน้อยไม่ว่าจะเป็น คลื่นความร้อน ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมรุนแรงและเหตุการณ์ดินถล่ม

หลายเมืองในจีนจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบเตือนภัย รวมทั้งการรับมือด้านอื่น ๆ จากภาครัฐเช่นเดียวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อมรับมือ

ติดต่อข้อมูลสำหรับสื่อมวลชน

August Rick, Greenpeace East Asia, Beijing, ([email protected]), +86 175 1040 4599

Greenpeace International Press Desk, [email protected], +31 20 718 2470 (24 hours)