คิงสตัน, จาไมก้า – การประชุมองค์กรพื้นทะเลระหว่างประเทศครั้งที่ 28 เริ่มต้นด้วยการรวมตัวกันของผู้นำระดับโลกที่เมืองคิงสตัน ในจาไมกา หลังจากการประชุมสนธิสัญญาทะเลหลวงโดยองค์การสหประชาชาติจบลงไม่ถึงสองสัปดาห์ การประชุมนี้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญของอนาคตของมหาสมุทร เพราะบริษัทเหมืองใต้ทะเลลึกกำลังเร่งผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงชนิดนี้

เซบาสเตียน โลซาดา ที่ปรึกษาอาวุโสด้านนโยบายมหาสมุทร กรีนพีซ สากล กล่าวว่า “จะมีรัฐบาลไหนบ้างที่ไม่สนใจสนธิสัญญาทะเลหลวงที่พวกเราเพิ่งได้มา แล้วไปอนุมัติโครงการเหมืองใต้ทะเลลึก เรามาที่คิงสตันเพื่อยืนยันในจุดยืนของเรา ว่าการทำเหมืองทะเลลึกจะไม่นำพาอนาคตของพวกเราไปสู่ความยั่งยืนและเป็นธรรม ซึ่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มบริษัท และนักรณรงค์จำนวนมากต่างก็เห็นตรงกัน ดังนั้น รัฐที่ลงมติให้เกิดสนธิสัญญาทะเลหลวงจะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าพื้นที่ใต้ทะเลลึกจะได้รับการปกป้องจากโครงการเหมืองใต้ทะเลลึก รัฐเหล่านี้ต้องไม่อนุมัติให้อุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงนี้เกิดขึ้นได้”

หน้าที่ขององค์กรพื้นทะเลระหว่างประเทศ (ISA) จะต้องรักษาพื้นที่ใต้ทะเลลึกและต้องควบคุมกิจกรรมเหมืองแร่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด [1] อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเหมืองใต้ทะเลลึกพยายามบีบบังคับรัฐบาลต่าง ๆ ด้วยการใช้ช่องโหว่และความคลุมเครือของกฎหมายเพื่อผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมในปี 2564 เช่น เหตุการณ์ที่ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐนาอูรู ร่วมกับบริษัทแร่ที่เป็นบริษัทที่เชื่อมโยงกับกรมทรัพยากรมหาสมุทรนาอูรู ซึ่งก่อให้เกิด “กฎ 2 ปี” (two-year rule) ซึ่งกดดันรัฐบาลในที่ประชุมองค์กรพื้นทะเลระหว่างประเทศ (ISA) ให้อนุมัติการโครงการเหมืองใต้ทะเลลึกภายในมิถุนายน 2566 [2]

“เส้นตายสองปีที่ขีดไว้คือการให้ผลประโยชน์แก่คนกลุ่มน้อยแทนประโยชน์ของสาธารณะชนและจะเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับรัฐบาลที่จะปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ว่าจะปกป้องมหาสมุทร สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ยิ่งทำให้ต้องมีการเร่งลงนามในข้อตกลงยุติโครงการเหมืองทะเลลึก หลายๆรัฐบาลมีท่าทีไม่สบายใจต่อแรงกดดันให้เร่งเจรจาในเชิงผลประโยชน์ทางการเมืองมากกว่าการเจรจาในเชิงความเป็นธรรมและความอุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทร อนาคตของพื้นที่โลกครึ่งหนึ่งต้องถูกกำหนดเพื่อประโยชน์สูงสุดของมนุษยชาติ และไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาที่อุตสาหกรรม (ที่เงินในกระเป๋าของพวกเขากำลังจะหมด) กำหนดมาให้” โลซาดากล่าว

เรืออาร์กติก ซันไรส์ของกรีนพีซเดินทางมาถึงคิงสตันในเช้ามืดของวันนี้ โดยมีนักกิจกรรมจากแปซิฟิกได้ร่วมประชุมกับลูกเรือและตัวแทนจากกรีนพีซ โดยนักกิจกรรมกลุ่มนี้ไม่เคยได้เคยได้มีส่วนร่วมในการออกความเห็นในการประชุมขององค์กรภาคพื้นทะเลระหว่างประเทศเลย ทั้งๆที่อุตสาหกรรมนี้มีผลโดยตรงต่ออนาคตพวกเขา ดังนั้น นักกิจกรรมเหล่านี้จะเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมขององค์กรพื้นทะเลระหว่างประเทศ (ISA) และจะได้พูดคุยกับคณะรัฐบาลโดยตรง [3]

อลันนา มาทามารู สมิท จากชุมชนพื้นเมือง Te Ipukarea Society ที่ร่วมขึ้นเรืออาร์กติก ซันไรส์มาในครั้งนี้ด้วย กล่าวว่า “บรรพบุรุษของเรามักสอนเราถึงคุณค่าของการเป็น ‘Mana Tiaki’ หรือการเป็นผู้พิทักษ์พื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติของเราให้กับคนรุ่นต่อไป เรายังคงทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นที่บ้านเกิดของเราในหมู่เกาะคุก (Cook Islands) เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองใต้ทะเลลึก ในขณะเดียวกัน เราก็ทำงานเพื่อเลื่อนระยะเวลาที่โครงการเหมืองใต้ทะเลลึกจะเกิดขึ้นออกไป เราเดินทางมาที่นี่เพื่อส่งเสียงความกังวลในฐานะที่เป็นคณะตัวแทนชนพื้นเมืองในพื้นที่จากแปซิฟิก ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญต่อการประชุมขององค์กรพื้นทะเลระหว่างประเทศ (ISA) ที่ยังขาดเสียงจากกลุ่มคนที่อาจได้รับผลกระทบ” 

ภายในสองสัปดาห์ที่มีการประชุมนี้ รัฐบาลแต่ละประเทศจะต้องขยายเส้นตายสองปีออกไป และต้องการันตีว่าจะไม่ปล่อยให้โครงการเหมืองทะเลลึกเดินหน้าต่อในช่วงไม่กี่เดือนต่อจากนี้  อย่างไรก็ดี โครงการเหมืองใต้ทะเลลึกจะยังคงเป็นภัยคุกคามต่อไปแม้ว่าจะครบกำหนด 2 ปีแล้วก็ตาม และหลายประเทศจะร่วมกันหาข้อตกลงเพื่อยุติโครงการซึ่งประเด็นนี้กลุ่มผู้มีอำนาจตัดสินใจซึ่งประกอบไปด้วย 167 รัฐรวมทั้งสหภาพยุโรปสามารถลงมติได้ที่การประชุมองค์กรพื้นทะเลระหว่างประเทศ โดยการประชุมองค์กรพื้นทะเลระหว่างประเทศครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันเดือนกรกฎาคม 2566 ที่คิงสตัน จาไมกา

ดาวน์โหลดภาพและคลิปวิดีโอ


[1] อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ก่อตั้ง องค์กรพื้นทะเลระหว่างประเทศ (ISA) ขึ้นในปี 2537 เพื่อควบคุมกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ใต้ทะเลหลวง ซึ่งถูกประกาศให้เป็น “มรดกร่วมของมนุษยชาติ”

[2] คำร้องขอนี้ถูกร้องภายใต้ย่อหน้าที่ 15 ของส่วนที่ 1 ในความตกลง Annex to the Agreement relating to the implementation of Part XI of the United Nations Convention on the Law of the Sea ซึ่งก่อตั้งขึ้นหากสมาชิกกลุ่มประเทศใดประเทศหนึ่งร้องขอความต้องการการทำเหมืองใต้ทะเลลึกกับ องค์กรพื้นทะเลระหว่างประเทศ (ISA) ประเทศนั้น ๆ จะมีเวลาสองปีเพื่อปรับปรุงข้อกำหนด และหลังจากระยะเวลาสองปี หากการปรับปรุงข้อกำหนดยังไม่แล้วเสร็จ  องค์กรพื้นทะเลระหว่างประเทศ (ISA) จะต้องพิจารณาการขออนุมัติของรัฐดังกล่าว ซึ่งกำหนดเวลาการปรับปรุงข้อกำหนดโดยองค์กรพื้นทะเลระหว่างประเทศ (ISA) จะหมดลงในเดือนกรกฎาคม และกระบวนการทางกฎหมายหลังจากเลยกำหนดก็เป็นข้อถกเถียงทั้งในด้านการเมืองและกฎหมาย

[3] นักกิจกรรมจากแปซิฟิกจะขึ้นพูดในกิจกรรมของกรีนพีซสากล วันที่ 24 มีนาคม

ติดต่อ

Sol Gosetti, Media Coordinator for the Stop Deep Sea Mining campaign, Greenpeace International: [email protected], +44 (0) 07807352020 WhatsApp +44 (0) 7380845754

Greenpeace International Press Desk: [email protected], +31 (0) 20 718 2470 (available 24 hours)