ตากิก ฟิลิปปินส์ – ไม่กี่วันหลังจากเชลล์ (Shell) ประกาศผลกำไรในปี 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดจากที่ผ่านมา ทำให้กลุ่มผู้รอดชีวิตและได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เกิดขึ้นเพราะวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และผู้สนับสนุนจากกรีนพีซ ฟิลิปปินส์ เดินทางมายังสำนักงานใหญ่ของเชลล์ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อยื่นจดหมายเรียกร้องให้เชลล์หยุดการแสวงหาผลกำไรจากการทำลายสภาพภูมิอากาศและต้องจ่ายเงินชดเชยค่าความสูญเสียและเสียหายที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

โดยผู้ที่เดินทางมาประกอบไปด้วยตัวแทนชุมชนจากเมืองมาริกินา (Marikina City) ซึ่งต้องทนทุกข์จากผลกระทบของไต้ฝุ่นกิสนาและเหตุการณ์น้ำท่วมหนักที่เกิดขึ้นในปี 2552 และไต้ฝุ่นหว่ามก๋อในปี 2563 โดยตัวแทนชุมชนปั่นจักรยานร่วมกับอาสาสมัครของกรีนพีซมาจากเมืองเกซอนมายังสำนักงานใหญ่ของเชลล์ในเมือง โบนิฟาซิโอ โกลบอล ซิตี้ (Bonifacio Global City) เพื่อยื่นจดหมายและข้อเรียกร้องให้เชลล์หยุดการสำรวจหาแหล่งน้ำมันและก๊าซ และต้องจ่ายค่าชดเชยความสูญเสียและเสียหายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ซึ่งกรีนพีซระบุว่าบริษัทดังกล่าวและอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหนึ่งในตัวการที่ก่อให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศ จดหมายดังกล่าวยังรวบรวมลายมือชื่อจากผู้คนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศอีกด้วย

ชุมชนในฟิลิปปินส์ต้องทนทุกข์กับความเลวร้ายของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว และเลวร้ายขึ้นเรื่อยมาตั้งแต่ปี 2553 – 2563 โดยฟิลิปปินส์ต้องเจอกับความเสียหายที่โยงกับสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายเป็นมูลค่าประมาณ 5,061,000,000 เปโซ เพียงแค่ความเสียหายจากซูเปอร์ไต้ฝุ่นโอเด็ต (ปี 2564) ก็มีมูลค่ากว่า 33,000,000 เปโซ [1] แต่ในขณะเดียวกัน เชลล์และกลุ่มอุตสาหกรรมฟอสซิลกลับได้รับรายได้มากขึ้นและร่ำรวยขึ้นกว่าเดิม ในปี 2565 บริษัทประกาศผลกำไรที่บันทึกได้ถึง 400,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ [2] ส่วนเชฟรอน (Chevron) ก็ได้รับผลกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 355,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ และเอ็กซอนโมบิล (ExxonMobil) ก็ระบุว่าได้กำไรไปกว่า 56,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นผลกำไรที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมน้ำมันตะวันตก

ในปี 2565 รายงานสำคัญที่อ้างอิงการศึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิทธิมนุษยชนโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของฟิลิปปินส์ ได้ยืนยันตามหลักกฎหมายว่าการดำเนินงานที่สร้างความเสียหายต่อสภาพภูมิอากาศของกลุ่มธุรกิจเชื้อเพลิงฟอสซิลและกลุ่มบริษัทซีเมนต์นั้นมีส่วนคุกคามสิทธิมนุษยชน

รายงานดังกล่าวยังเพิ่มเติมด้วยว่า เชลล์ และบริษัทผู้ก่อมลพิษหลักอีก 46 บริษัทที่คณะกรรมการสอบสวนจะต้องหยุดทุกกิจกรรมที่ทำลายสภาพภูมิอากาศ เช่น ยุติการแสวงหาแหล่งน้ำมันเพิ่มเติม หยุดโครงการเหมืองถ่านหินใหม่และต้องเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างเป็นธรรม นอกจากนี้ยังจะต้องลงทุนในกองทุนเพื่อการพัฒนามาตรการให้ประชาชนปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในวิกฤตสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซเชื่อว่าใจความสำคัญที่รายงานฉบับนี้สื่อสารออกมานั้นชัดเจนแล้วว่ากลุ่มอุตสาหกรรมฟอสซิลแบบเดิมนี้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ กลุ่มอุตสาหกรรมนี้จะต้องหยุดเหยียบย่ำทั้งสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชนและแสวงหาแต่ผลประโยชน์ให้กับตัวเอง จนกระทั่งขณะนี้เรายังไม่ได้รับรายงานว่า เชลล์ จะดำเนิการเพื่อชดเชยค่าความสูญเสียและเสียหายใด ๆ แม้ว่าบริษัทจะได้รับผลกำไรเพิ่มขึ้นก็ตาม

เครือข่ายชุมชนและกรีนพีซเรียกร้องต่อเชลล์ ดังนี้

  1. บริษัทต้องรับทราบว่ามีส่วนในเป็นผู้ก่อมลพิษหลักที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนซึ่งก่อให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และต้องให้คำมั่นสัญญาที่จะยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนอย่างเป็นธรรม
  2. หยุดการแสวงหาแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลแห่งใหม่
  3. บริษัทต้องจ่ายเงินชดเชยค่าความสูญเสียและเสียหายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศทั้งในรูปแบบเงินและรูปแบบอื่น ๆ

กิจกรรมที่เกิดขึ้นครั้งนี้เกิดขึ้นคู่ขนานไปกับการประท้วงในมหาสมุทรแอตแลนติกที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ โดยนักกิจกรรมกรีนพีซสากล ปีนขึ้นไปประท้วงบนเรือขุดเจาะน้ำมันของเชลล์ ไวท์ มาร์ลีน ซึ่งสามารถบรรทุกน้ำมันและก๊าซมหาศาลได้ และจะทำให้เชลล์เข้าไปยังจุดขุดเจาะน้ำมันและก๊าซใหม่ทั้ง 8 แห่งในแหล่งน้ำมันและก๊าซเพนกวิน นอร์ธ ซี [4]

แม้ว่าจะมีเสียงคัดค้านอย่างหนักจากทั้งชุมชนและผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพภูมิอากาศ แต่เชลล์ยังคงขยายการแสวงหาแหล่งน้ำมันในประเทศ รวมทั้งท่อส่งก๊าซใน ช่องแคบเกาะเวิร์ด (Verde Island Passage) ซึ่งจะทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ รวมทั้งวิถีชีวิตชายฝั่งดั้งเดิมตกอยู่ในอันตราย [5]


อ้างอิง

[1] ฟิลิปปินส์สูญเสียกว่าสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ จากภัยวิกฤตสภาพภูมิอากาศช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

[2] เชลล์ประกาศผลกำไรปี 2565 สูงเป็นสองเท่าจากที่เคยบันทึกไว้ที่ 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

[3] คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแนะนำกลุ่มผู้ก่อมลพิษหลักว่า “(ก) ต้องเปิดเผยการตรวจสอบ การประเมินผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมาตรการที่เกี่ยวข้องที่จะดำเนินการเพื่อแก้ไขประเด็นดังกล่าวต่อสาธารณะ (ข) ต้องยุติกิจกรรมที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่าทำลายสภาพภูมิอากาศ (ค) ยุติการแสวงหาแหล่งน้ำมันใหม่เพิ่มเติม และต้องเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด (ง) ดำเนินการในกองทุน Green Climate Fund เพื่อพัฒนามาตรการสำหรับการบรรเทาและปรับตัวกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (จ) มีส่วนร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประเมินและปรับปรุงการรับมือต่อสภาพภูมิอากาศขององค์กร ”

[4] นักกิจกรรมด้านสภาพภูมิอากาศของกรีนพีซปีนแท่นขุดเจาะน้ำมันขนาดใหญ่ของเชลล์ เรียกร้องให้เชลล์ ‘หยุดขุดเจาะและจ่ายค่าความสูญเสียและความเสียหายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ’

อ่านรายงานฉบับเต็ม

[5] เครือข่ายหลายกลุ่มได้รับแจ้งโครงการท่อส่งก๊าซใหม่ในช่องแคบเกาะเวิร์ด

สำหรับสื่อมวลชน ติดต่อ

Maverick Flores, Communications Campaigner

Greenpeace Philippines | [email protected] | +63 9176211552