กรุงเทพฯ, 11พฤศจิกายน 2565 – นักกิจกรรมกรีนพีซ ประเทศไทยทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ส่งข้อความถึงบรรดาผู้นำประเทศที่กำลังจะเดินทางมาประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย – แปซิฟิก หรือ เอเปค 2565 ในสัปดาห์หน้า นักกิจกรรมได้ชูป้ายผ้าที่มีข้อความ “เอเปค ต้องหยุดฟอกเขียว” และ “ผู้ก่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศต้องชดใช้ความสูญเสียและความเสียหาย” ในบริเวณบึงน้ำของสวนเบญจกิติซึ่งใกล้กับอาคารจัดประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 27” หรือ COP 27 ที่สาธารณรัฐอียิปต์

นักกิจกรรมกรีนพีซ ประเทศไทย ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ส่งข้อความถึงบรรดาผู้นำประเทศที่กำลังจะเดินทางมาประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย – แปซิฟิก หรือ เอเปค 2565 ในสัปดาห์หน้า นักกิจกรรมชูป้ายผ้าที่มีข้อความ “เอเปค ต้องหยุดฟอกเขียว” และ “ผู้ก่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศต้องชดใช้ความสูญเสียและความเสียหาย” ในบริเวณบึงน้ำของสวนเบญจกิติซึ่งใกล้กับอาคารจัดประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที © Chanklang  Kanthong / Greenpeace

กรีนพีซ ประเทศไทย เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยืนหยัดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับกลุ่มประเทศซีกโลกใต้ และผลักดันให้เกิดการจัดตั้งกองทุนว่าด้วยความสูญเสียและความเสียหายสำหรับกลุ่มประเทศและชุมชนที่เสี่ยงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค 2565  ในวันที่ 16-18 พฤศจิกายน ซึ่งมีโมเดลเศรษฐกิจ BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว: Bio-Circular-Green Economy)[1] เป็นวาระการประชุมหลักของการประชุมที่มีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาวิฤตสภาพภูมิอากาศ และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 จะมีการเผยแพร่คำประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG (the Bangkok Goal Declaration on BCG) อย่างเป็นทางการ

นักกิจกรรมกรีนพีซ ประเทศไทย ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ส่งข้อความถึงบรรดาผู้นำประเทศที่กำลังจะเดินทางมาประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย – แปซิฟิก หรือ เอเปค 2565 ในสัปดาห์หน้า นักกิจกรรมชูป้ายผ้าที่มีข้อความ “เอเปค ต้องหยุดฟอกเขียว” และ “ผู้ก่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศต้องชดใช้ความสูญเสียและความเสียหาย” ในบริเวณบึงน้ำของสวนเบญจกิติซึ่งใกล้กับอาคารจัดประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที นักกิจกรรมกรีนพีซ ประเทศไทย ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ส่งข้อความถึงบรรดาผู้นำประเทศที่กำลังจะเดินทางมาประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย – แปซิฟิก หรือ เอเปค 2565 ในสัปดาห์หน้า นักกิจกรรมชูป้ายผ้าที่มีข้อความ “เอเปค ต้องหยุดฟอกเขียว” และ “ผู้ก่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศต้องชดใช้ความสูญเสียและความเสียหาย” ในบริเวณบึงน้ำของสวนเบญจกิติซึ่งใกล้กับอาคารจัดประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที 27 © Chanklang  Kanthong / Greenpeace

ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการกรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวว่า

“รัฐบาลระบุว่า ‘BCG นำเสนอแนวทางต่าง ๆ เพื่อต่อกรกับวิฤตสภาพภูมิอากาศ’ แต่เราเห็นข้อบกพร่องและช่องโหว่ในโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของประเทศไทย ซึ่งใช้สิ่งแวดล้อมเป็นกลลวงในการฟอกเขียว โมเดลเศรษฐกิจ BCG ละเลยที่จะไม่กล่าวถึงภาระความรับผิดชอบของอุตสาหกรรมเชื้อเฟลิงฟอสซิลและผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แล้วเราจะเรียกร้องการชดใช้ความสูญเสียและความเสียหาย (Loss and Damage )ที่มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนได้อย่างไร? และแทนที่จะเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด เป็นธรรม และยั่งยืนเต็มร้อย  โมเดลเศรษฐกิจ BCG กลับสนับสนุนแนวทางแก้ปัญหาที่ผิดพลาด เช่น การผลิตไฟฟ้าจากขยะ (โรงไฟฟ้าขยะ) เป็นต้น และออกระเบียบหรือแก้ไขกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดสรรคาร์บอนเครดิตแก่เอกชนผู้ลงทุนปลูกป่าในพื้นที่ของรัฐ ซึ่งหากยังดำเนินการต่อไปจะนำไปสู่การบังคับขับไล่ชุมชนออกจากที่ดินทำกิน ทำให้ชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่ดำรงชีพด้วยการพึ่งพาผืนดินและป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์กลายเป็นอาชญากรทางสิ่งแวดล้อม”

หลังจากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในเดือนมกราคม 2564 ให้เป็นวาระแห่งชาติ อาจกล่าวได้ว่า  BCG คือกลไกประสานสารพัดนโยบายและยุทธศาสตร์ต่างๆ ของรัฐบาลประยุทธ์หลังการระบาดใหญ่ของ โควิด-19 และเป็นเครื่องจักรหลักขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง กรีนพีซยังชี้ให้เห็นถึงคณะกรรมการบริหารและขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ประกอบด้วยชนชั้นนำและกลุ่มอภิมหาเศรษฐีผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมือง(oligarch) ที่ดำเนินธุรกิจที่ห่างไกลจากคำว่ายั่งยืน และมักทำการฟอกเขียวเพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ตนก่อขึ้น

“เราต้องการเห็นสังคมไทยฝ่าฟันสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยากเย็นแสนเข็ญซึ่งถูกคุคามจากวิฤตสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง เราต้องการระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่แบ่งแยกและเอื้อให้เกิดการกระจายความมั่งคั่งและอำนาจอย่างเป็นธรรม เศรษฐกิจที่พัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง และส่งเสริมศักยภาพของชุมชนในการฟื้นคืนจากวิกฤตที่ถาโถมเข้ามา” ธารา กล่าวเสริม

ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อผลกระทบระยะยาวจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศสูงที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก [2] แม้ว่ารัฐบาลไทยจะประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 แต่ยังห่างไกลต่อเป้าหมายตามความตกลงปารีส [3]  ยิ่งไปกว่านั้น แทบไม่ปรากฏมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวที่ออกแบบเพื่อต่อกรกับภาวะฉุกเฉินสภาพภูมิอากาศ มีเพียงแต่วิธีแก้ปัญหาที่ผิดพลาดซึ่งผลักดันโดยกลุ่มผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ที่มีกลไกของรัฐบาลหนุนหลัง

นักกิจกรรมกรีนพีซ ประเทศไทย ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ส่งข้อความถึงบรรดาผู้นำประเทศที่กำลังจะเดินทางมาประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย – แปซิฟิก หรือ เอเปค 2565 ในสัปดาห์หน้า นักกิจกรรมชูป้ายผ้าที่มีข้อความ “เอเปค ต้องหยุดฟอกเขียว” และ “ผู้ก่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศต้องชดใช้ความสูญเสียและความเสียหาย” ในบริเวณบึงน้ำของสวนเบญจกิติซึ่งใกล้กับอาคารจัดประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที นักกิจกรรมกรีนพีซ ประเทศไทย ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ส่งข้อความถึงบรรดาผู้นำประเทศที่กำลังจะเดินทางมาประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย – แปซิฟิก หรือ เอเปค 2565 ในสัปดาห์หน้า นักกิจกรรมชูป้ายผ้าที่มีข้อความ “เอเปค ต้องหยุดฟอกเขียว” และ “ผู้ก่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศต้องชดใช้ความสูญเสียและความเสียหาย” ในบริเวณบึงน้ำของสวนเบญจกิติซึ่งใกล้กับอาคารจัดประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที 27 © Chanklang  Kanthong / Greenpeace

เยป ซาโน ผู้อำนวนการบริหาร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหัวหน้าคณะผู้แทนกรีนพีซที่เข้าร่วมประชุม COP 27 กล่าวว่า 

“กรีนพีซมาร่วมประชุม ‘COP แอฟริกา’ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่กลุ่มคนเปราะบางผู้เป็นด่านหน้าเผชิญกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศซึ่งพวกเขาแทบไม่ได้ก่อ  เราเรียกร้องให้ประชาคมโลกเห็นความสำคัญของประเด็นความสูญเสียและเสียหายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ยังคงส่งผลต่อกระทบต่อผู้คน องค์การสหประชาชาติต้องรับรองว่าเงินจากกองทุนนี้จะกระจายไปสู่กลุ่มคนที่จำเป็นต้องใช้มันจริง ๆ การจัดตั้งกองทุนการเงินในครั้งนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะจะช่วยให้เหล่าผู้คนและชุมชนเปราะบางสามารถรับมือกับความสูญเสียและเสียหาย และสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมรอบตัวพวกเขาได้  กองทุนทางการเงินเพื่อสภาพภูมิอากาศคือกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างเป็นธรรม ปลดล็อกการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลซึ่งทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น  แม้ว่าการจะบรรลุเป้าหมายคงอุณหภูมิโลกให้ไม่สูงเกิน 1.5 องศาจะเป็นไปได้ยาก เกิดความสูญเสียและเสียหายขึ้นทุกวัน แต่ยังอยู่ในวิสัยที่เราลงมือทำได้”

หมายเหตุ

[1] https://www.bcg.in.th/eng/  

[2] https://germanwatch.org/sites/default/files/Global%20Climate%20Risk%20Index%202021_1.pdf

[3] https://climateactiontracker.org/countries/thailand/ 

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ

สมฤดี ปานะศุทธะ ผู้ประสานงานสื่อมวลชน กรีนพีซ ประเทศไทย

โทร.+66 81 929 5747 อีเมล [email protected]