จาการ์ตา อินโดนีเซีย – อินโดนีเซียประกาศบังคับใช้กฎหมายปกป้องสิทธิและการจ้างงานแรงงานข้ามชาติบนเรือประมง ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) และการละเมิดในอุตสาหกรรมประมง

กฎหมายดังกล่าวมีประกาศบังคับใช้เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังการเริ่มไต่สวนข้อกล่าวหาที่อดีตลูกเรือประมงสามคนฟ้องประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ข้อหาล้มเหลวในการทำหน้าที่รับรองกฎหมายปกป้องสิทธิและความปลอดภัยของแรงงาน ซึ่งเมื่อปี 2560 รัฐสภาอินโดนีเซียได้ผ่านกฎหมายดังกล่าว แต่กลับไม่มีการประกาศมาตราการกำกับดูแลหรือควบคุมเพื่อปกป้องสิทธิแรงงานตามกรอบระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีตามที่กำหนด

ทั้งนี้ นับเป็นเวลานานกว่า 5 ปี หลัง ประกาศร่างกฎหมายฉบับแรก เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน โดยรัฐบาลอินโดนีเซียได้ลงนามบังคับใน ระเบียบรัฐบาล (Government Regulation) ข้อที่ 22/2565 ว่าด้วยเรื่อง ความมั่นคงและความปลอดภัยของการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติบนเรือประมงและลูกเรือประมง (the Placement and Protection of Migrant Trading Vessels Crew and Fishing Vessels Crew)

พุคกัลดี ซาสซูอันโต หนึ่งในชาวประมงที่ยื่นฟ้องประธานาธิบดีกล่าวว่า “แน่นอนว่าเรามีความสุขที่การต่อสู้ของเราประสบความสำเร็จ เราหวังว่ารัฐบาลจะเริ่มดำเนินการเอาผิดกับกลุ่มคนที่มีส่วนกับการใช้แรงงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง ผมเคยทำงานเป็นลูกเรือประมงอยู่สองปีครึ่ง แต่ผมไม่เคยได้รับเงินเลยแม้แต่นิดเดียว เราจะสู้ต่อไป”

หลังรัฐบาลอินโดนีเซียประกาศบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว อดีตแรงงานประมงทั้งสามคน ซึ่งประกอบด้วย พุคกัลดี ซาสซูอันโต, จาตี ปูจิ ซานโตโซ และ ริซกี้ วาห์ยูดิ ได้ตัดสินใจเพิกถอนคำฟ้อง โดยในช่วเวลาที่พวกเค้าชทำงานบนเรือประมงต่างชาติต้องเผชิญกับชะตากรรมที่ยากลำบาก  และปัจจุบันพวกเค้ากำลังรอรับค่าจ้างที่พึงจะได้รับ โดยนาย วิคเตอร์ ซานโตโซ ทานดิอาซา ทนายของพวกเขาอธิบายว่า พวกเขาถอนฟ้องเพราะรัฐบาลได้ตอบรับความต้องการของพวกเขาแล้ว

“อย่างไรก็ดี พวกเราต้องวิเคราะห์อย่างละเอียดว่ามาตราที่ออกมา ตรงกับความคาดหวังเราหรือไม่ และมันจะช่วยปกป้องแรงงานประมงข้ามชาติชาวอินโดนีเซียได้แค่ไหน ถ้าในที่สุดแล้วยังมีอีกหลายอย่างที่เราคิดว่าควรต้องแก้ไข พวกเราจะยื่นตรวจสอบอีกครั้งโดยใช้อำนาจศาลสูงสุด” วิคเตอร์กล่าว

ฮาริยันโต ซูวาร์โน ประธานสหภาพแรงงานประมงอินโดนีเซีย (SBMI) กล่าวว่า การถอนคำฟ้องนี้ไม่ได้กระทบความมุ่งมั่นที่จะปกป้องและต่อสู้เพื่อสิทธิของแรงงานประมงชาวอินโดนีเซีย และสหภาพแรงงานประมงอินโดนีเซียจะยังคงติดตามผลของการบังคับใช้กฎหมาย

“แน่นอนว่ากฎหมายปกป้องแรงงานประมงข้ามชาติคือสิ่งสำคัญ แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือการฟื้นคืนสิทธิของแรงงานประมงบนเรือ นอกเหนือจากการดำเนินการด้านกฎหมาย เราจะเดินหน้ากดดันกระทรวงแรงงานให้เอาผิดกับบริษัทที่ละเมิดสิทธิลูกเรือ” ฮาริยันโตกล่าว

ตั้งแต่ปี 2556 – 2564 สหภาพแรงงานประมงอินโดนีเซียได้รับคำร้องถึงการละเมิดสิทธิมนุษชนต่อแรงงานประมงชาวอินโดนีเซียทั้งหมด 634 ฉบับ ในปี 2564 โดยรายงานที่ร่วมกันจัดทำโดยสหภาพแรงงานประมงอินโดนีเซียและกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่าการบังคับใช้แรงงานประกอบด้วย การไม่จ่ายค่าแรง 87% สภาพการทำงานและเป็นอยู่ที่โหดร้าย 82% การหลอกลวง 80% การละเมิดผู้เปราะบาง 67%

อัฟดิลล่า ผู้ประสานงานโครงการทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ อินโดนีเซีย กล่าวว่า เขาหวังว่าจากนี้ไปรัฐบาลจะมีส่วนร่วมมากขึ้นในการปกป้องแรงงานประมงข้ามชาติชาวอินโดนีเซีย เพราะความล่าช้าของรัฐบาลในการประกาศบังคับใช้กฎหมายปกป้องแรงงาน ทำให้อดีตแรงงานประมงสามคนต้องรวมตัวกันฟ้องร้อง และนี่จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้กับการต่อสู้ของลูกเรือประมงคนอื่นๆ ต่อไป 

“แน่นอนว่ามันคือชัยชนะของพวกเรา แต่พวกเราผิดหวังกับรัฐบาล เพราะกฎหมายควรจะประกาศใช้ตั้งแต่สามปีก่อนแล้ว  กระทั่งสถานการณ์ของแรงงานประมงแย่ลง อย่างไรก็ดี ก้าวย่างครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญที่ทำให้อินโดนีเซียและอุตสาหกรรมประมงในประเทศอื่นๆ พัฒนาไปในทางเดียวกัน เพื่อหยุดการค้าทาสกลางทะเลและบังคับใช้กฎหมายที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม”

ข้อมูลเพิ่มเติม

[1] Law No. 18/2017 on Protection of Indonesian Migrant Workers strengthens policies providing end-to-end protection for Indonesian workers overseas and was adopted on 22 November 2017, however was not ratified. More information about the law here

[2] Government Regulation on the Placement and Protection of Migrant Fish Crew Members – Indonesian version here.

[3] “Forced Labour at Sea: The Case of Indonesian Migrant Fishers”


ติดต่อ: เวล่า แอนดาพีต้า: +6281-7575-9449, [email protected]