ปุนตาอาเรนัส ชิลี – ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลธารน้ำแข็งสากล (the National Sea Ice Data Center) ระบุว่าในปีนี้ จากข้อมูลดาวเทียมที่บันทึกได้พบว่าธารน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกจะอยู่ในระดับต่ำที่สุด[1] โดยการบันทึกข้อมูลดังกล่าวทำให้เห็นว่าธารน้ำแข็งรอบ ๆ ทวีปกำลังอยู่ในระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ จากเดือนมีนาคมปี 2560 ซึ่งเคยมีธารน้ำแข็งกว่า 2.1 ล้านตารางกิโลเมตร แต่ปัจจุบัน ข้อมูลเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พื้นที่ธารน้ำแข็งลดลงเหลือ 1.98 ล้านตารางกิโลเมตรเท่านั้น

ลอว์รา เมลเลอร์ จากโครงการรณรงค์ปกป้องมหาสมุทร [2] ของกรีนพีซ นักรณรงค์ที่กำลังมุ่งหน้าไปยังแอนตาร์กติกเพื่อสำรวจและบันทึกข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า 

“การที่ธารน้ำแข็งในมหาสมุทรละลายลงเรื่อย ๆ นั้นเป็นสิ่งที่น่ากังวล เพราะผลที่ตามมาจากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะกระทบไปทั่วโลก ส่งผลต่อระบบห่วงโซ่อาหารของสัตว์ทะเลทั้งหมด นอกจากนี้การสำรวจที่ผ่านมาของเราที่เกิดขึ้นในแอนตาร์กติกได้ยืนยันแล้วว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์สำคัญในภูมิภาคดังกล่าว [3] 

ในปี 2563 ที่ผ่านมา เราเจอกับระดับธารน้ำแข็งในอาร์กติกที่ต่ำที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา ในปีนี้เราจึงจำเป็นต้องสร้างเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลที่ครอบคลุมตั้งแต่ขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ เพราะชีวิตของเราทุกคนขึ้นอยู่กับมหาสมุทรที่อุดมสมบูรณ์ ดังนั้นเราจะต้องปกป้องมหาสมุทรเพื่อปกป้องชีวิตเราด้วย”

ในเวลาเพียงแค่ 20 ปี แต่ภูมิภาคแอนตาร์กติกได้เผชิญกับความผันผวนของระดับธารน้ำแข็งในทะเล และในปีนี้การลดลงของระดับธารน้ำแข็งเกิดขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาถึงความผันผวนที่ซับซ้อนระหว่างอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกที่สูงขึ้นกับแนวโน้มของระดับธารน้ำแข็งในทะเล แต่สภาพภูมิอากาศในภูมิภาคก็แปรปรวนอย่างชัดเจน เพราะบางส่วนของพื้นที่แอนตาร์กติกอุ่นขึ้นเร็วกว่าพื้นที่อื่น ๆ ในโลก

ธารน้ำแข็งในแอนตาร์กติกสูญเสียมวลไปเร็วกว่าในช่วงปี 2534 – 2542 ถึง 3 เท่า มีส่วนทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นทั่วโลก [4] การที่โลกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ฝูงเคยอพยพไปทางทางใต้มากขึ้น ลดการกระจายตัวของตัวเคยที่เป็นสายพันธุ์สำคัญต่อห่วงโซ่อาหารในแอนตาร์กติก[5] และการสำรวจพื้นที่แอนตาร์กติกของกรีนพีซล่าสุดยืนยันว่าเพนกวินสายพันธุ์เจนทูกำลังขยายฝูงไปทางใต้ของภูมิภาคเนื่องจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ [3]

มหาสมุทรที่อุดมสมบูรณ์เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยลดผลกระทบของวิกฤตสภาพภูมิอากาศเพราะมหาสมุทรนั้นช่วยกักเก็บคาร์บอนจากชั้นบรรยากาศ นักวิทยาศาสตร์ต่างยืนยันว่าต้องปกป้องพื้นที่มหาสมุทรอย่างน้อย 30% ในการปกป้องระบบนิเวศทางทะเลและปล่อยให้ระบบฟื้นฟูตัวเองเพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างกระทันหัน 

ในปี 2565 นี้กรีนพีซยังคงรณรงค์ผลักดันให้ผู้นำแต่ละประเทศลงนามในสนธิสัญญาทะเลหลวงขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งจะทำให้เกิดพื้นที่คุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก อุตสาหกรรมทำลายล้างทุกชนิดจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปแสวงหาทรัพยากรในพื้นที่น่านน้ำดังกล่าว [6]  


แหล่งอ้างอิง : 

[1] https://nsidc.org/arcticseaicenews/charctic-interactive-sea-ice-graph 

[2] ลอว์รา เมลเลอร์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทรและที่ปรึกษาด้านขั้วโลก กรีนพีซ นอร์ดิก 

[3] https://www.greenpeace.org.uk/news/scientists-discover-new-penguin-colonies-that-reveal-impacts-of-the-climate-crisis-in-the-antarctic

[4] https://www.ipcc.ch/report/ar6/wg1/

[5] https://www.ipcc.ch/srocc/

[6] https://www.greenpeace.org/international/publication/21604/30×30-a-blueprint-for-ocean-protection/ 

ติดต่อ : 

Greenpeace International Press Desk: [email protected], +31 (0) 20 718 2470 (available 24 hours)