รายงานคณะทำงานที่ 2 เรื่อง ‘การประเมินผลกระทบ ความเปราะบาง และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Impacts, Adaptation and Vulnerability) ’  อันเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการประเมินครั้งที่ 6 (the Sixth Assessment Report) ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) จะได้รับการอนุมัติผ่านการประชุมออนไลน์ ระหว่างวันที่ 14 – 25 กุมภาพันธ์นี้

  • การแถลงข่าว (ออนไลน์) เวลา 10.00 น ตามเวลาท้องถิ่นในกรุงเบอร์ลิน วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 (4.00 น.  นิวยอร์ก, 9.00 น.ลอนดอน, 12.00 น. ไนโรบี, 16.00 น. กรุงเทพฯ)
  • คลิก เพื่อดูข้อมูลในการลงทะเบียนสื่อมวลชน หมดเขตลงทะเบียนในวันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565

เจนีวา, สวิตเซอร์แลนด์ – รายงานของคณะทำงานที่ 1 ในคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ที่เผยแพร่เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา [1]  ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขนานใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์  และนักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศที่มีชื่อเสียงหลายคนออกมาเตือน หลังจากที่ระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นจนทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์

แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เราจะย้ำเตือนว่าคำเตือนดังกล่าวเป็นเพียงจุดเริ่มต้น โดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะเผยแพร่รายงานคณะทำงานที่ 2 อันเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการประเมินครั้งที่ 6 (the Sixth Assessment Report) ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ หลังจากได้รับการอนุมัติผ่านการประชุมออนไลน์ รายงานฉบับดังกล่าวจะสรุปความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดเกี่ยวกับผลกระทบ การปรับตัว และจุดอ่อน ซึ่งเน้นย้ำถึงความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ ความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นรวมทั้งคำแนะนำที่คำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความยุติธรรมและความเสมอภาค รวมถึงข้อควรปฏิบัติเพื่อการปรับตัว

ตั้งแต่การประเมินครั้งที่ผ่านมาในปี 2557 ปัจจุบันสถานการณ์สภาพภูมิอากาศกำลังแย่ลงในทุก ๆ ด้าน และในเดือนมกราคมที่ผ่านมา องค์การมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA ) ของสหรัฐอเมริกาออกมาเตือนว่าช่วงปี 2556 – 2564 ทั้งหมด

“วิกกฤตสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นแล้วนั้นได้กลายเป็นทั้งประเด็นปัจเจกและวาระทางการเมืองมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ปัญหาด้านความไม่เท่าเทียมก็เกิดอย่างชัดเจนมากขึ้น อย่างเช่นในขณะที่ประชากรในซีกโลกเหนือได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็มบูสเตอร์แล้วเรียบร้อยตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา แต่ประชากรในทวีปแอฟฟริกากลับได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบโดสเพียงแค่ 8% จากจำนวนประชากรทั่วภูมิภาคเท่านั้น ในช่วงระยะเวลาของวิกฤตที่กินระยะเวลาต่อเนื่องนี้เร่งให้ความเหลื่อมล้ำยิ่งกว้างขึ้นไปอีก ดังนั้นการรวมตัวของชุมชนวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกเพื่อประเมินสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญและจะต่อกรกับความท้าทายนี้ได้อย่างไร เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์มาก”

เราคาดหวังว่ารายงานจะแสดงให้เห็นถึงการขยายขอบเขตของผลกระทบภาวะโลกร้อนซึ่งกำลังเพิ่มความอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและข้อจำกัดในการปรับตัวรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนซึ่งมีความเปราะบางอยู่แล้วและเป็นกลุ่มที่มีส่วนต่อการรับผิดชอบต่อการก่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศน้อยที่สุด ข้อเท็จจริงจากรายงานจะทำให้เห็นถึงการขาดการลงมือแก้ปัญหาและคำมั่นสัญญาจากผู้ก่อมลพิษหลักชัดมากขึ้น รวมทั้งยังจะเรียกร้องความเป็นธรรมได้ดีขึ้นอีกด้วย

เราต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เพราะเราไม่อาจแยกตนเองออกจากระบบนิเวศที่เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว  เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้สภาพภูมิอากาศเลวร้ายไปมากกว่านี้ เราต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเรียกร้องให้ได้มาซึ่งความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ เราต้องการการลงทุนในการปรับตัวรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ สร้างความเท่าเทียม ให้การชดเชยและประกันการสูญเสียและความเสียหาย รวมทั้งสร้างแนวทางในการปรับตัวที่ยึดหยุ่นต่อทุกคนให้สามารถปรับตัวรับมือกับสถานการณ์ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ก่อมลพิษที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะควบคุมการปล่อยมลพิษตามข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่แนะนำไว้ ในทางกลับกัน ผู้ก่อมลพิษเหล่านี้ก็คาดการณ์ได้ว่าพวกเขาจะต้องถูกบังคับให้ลดการปล่อยมลพิษในเร็ว ๆ นี้และฉันก็หวังว่า IPCC จะทำให้สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเกิดขึ้นจริงในช่วงเวลาที่สถานการณ์โลกเปราะบางที่สุดและเราไม่สามารถเพิกเฉยกับมันได้อีกต่อไป” ไกซ่า โคโซเนน ที่ปรึกษาทางการเมืองอาวุโสของกรีนพีซ กล่าว

ขอบเขตของรายงานนี้จะเพิ่มการกดดันเพื่อแสดงให้เห็นถึงประเด็นการถกเถียงเกี่ยวกับการเงิน การปรับตัว ความสูญเสียและความเสียหายที่เกี่ยวข้องความเท่าเทียมและความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งยังมีรายละเอียดการดำเนินการที่สอดคล้องกับความตกลงปารีสว่าด้วยการชะลออุณหภูมิเฉลี่ยโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นข้อตกลงรากฐานที่จะนำเราผ่านวิกฤต โดยประเด็นทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีแนวโน้มที่จะเป็นประเด็นการพูดคุยในการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศโลกครั้งที่ 27 หรือ COP27 ที่จะจัดขึ้นใน ชาร์ม เอล ชีค ประเทศอียิปต์ ในปีนี้

ข้อมูลที่คาดว่าจะปรากฎในรายงาน มีดังนี้ :

  • ในสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกกำลังมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นเรื่อย ๆ บวกกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อเราและโลกที่เราอาศัยอยู่ รวมทั้งกระทบต่อระบบนิเวศและหน้าที่ของระบบนิเวศอย่างไร 
  • การนำเสนอเกี่ยวกับผลกระทบของวิกฤตสภาพภูมิอากาศและความเสี่ยงต่าง ๆ จะเพิ่มขึ้นจากอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไร
  • ผลกระทบและความเสี่ยงต่าง ๆ จากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ อะไรบ้างที่สามารถจัดการและลดความรุนแรงลงได้และสามารถทำได้อย่างไร ด้วยองค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างจำกัดในการปรับตัวรับมือ รวมทั้งการสูญเสียและความเสียหายที่อาจรุนแรงเกินกว่าขีดจำกัดที่เรามี
  • ใครที่เป็นกลุ่มเปราะบางและอยู่ในความเสี่ยงต่อผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศและทำไมจึงเป็นคนกลุ่มนี้ รวมทั้งคนในกลุ่มดังกล่าวจะสามารถลดความเสี่ยงและปรับตัวต่อวิกฤตนี้ได้อย่างไร
  • เรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับสิ่งที่เราไม่เคยรับรู้มาก่อน เช่น ผลกระทบที่รุนแรงจากโอกาสที่มีอาจเกิดขึ้นได้ต่ำหรือที่คาดการณ์ไม่ได้
  • กรอบของผลลัพธ์ที่เจาะจงไปในแนวทางการพัฒนาประเด็นการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ
  • บทบาทของ ‘ความเป็นธรรมทางสังคม’ ความเท่าเทียมและการพัฒนาการปรับตัวกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศในรูปแบบต่าง ๆ ตามหลักวิชาการ ซึ่งให้ความสำคัญกับมิติในความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศมากขึ้น
  • สถานการณ์ของชุมชนชายฝั่งทะเลหรือเมืองที่ตั้งอยู่ชายฝั่งรวมทั้งประชากรที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมทะเล

หลังจากการเผยแพร่รายงานคณะทำงานที่ 2 นี้ IPCC ยังมีรายงานอีกฉบับที่จะได้รับการเผยแพร่ในเดือนเมษายน นั่นคือรายงานคณะทำงานที่ 3 ซึ่งเป็นรายงานส่วนที่ 3 ในรายงานการประเมินครั้งที่ 6 (the Sixth Assessment Report) โดยจะมีรายละเอียดของมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้ รายงานฉบับที่สังเคราะห์ข้อมูลจากคณะทำงานที่ 1,2 และ 3 รวมทั้งรายงานฉบับพิเศษที่เผยแพร่ก่อนหน้านี้ (A synthesis report: SYR) จะถูกเผยแพร่ในช่วงเดือนตุลาคม โดยรายงานสังเคราะห์จะนำเสนอภาพรวมของสถานการณ์องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตั้งแต่รายงานการประเมินครั้งที่ 5 (AR5) และรวบรวมกรอบแนวทางจากรัฐบาลแต่ละประเทศที่พิจารณาทบทวนและเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ 2573 ให้เสร็จภายในสิ้นปี 2565 โดยกำหนดการลงทุนด้านสภาพภูมิอากาศและจัดการกับความสูญเสียรวมถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

กรีนพีซเป็นผู้สังเกตการณ์อย่างเป็นทางการของ IPCC และจะเข้าร่วมประชุมการอนุมัติรายงาน คณะทำงานที่ 2 ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งเปิดให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นได้

การประชุมการอนุมัติข้างต้นจะเริ่มด้วยพิธีเปิดเวลา 10.00น ตามเวลาท้องถิ่นของกรุงเบอร์ลิน ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ในช่วงพิธีเปิดจะมีไลฟ์และมีประธานจาก IPCC เจ้าหน้าที่อาวุโสจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme : UNEP) องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (the World Meteorological Organisation) และภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ (the United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) สำหรับช่วงพิธีเปิดจะอนุญาตให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วมได้ หลังจากนั้นในช่วงของการประชุมเพื่ออนุมัติรายงาน (14-25 กุมภาพันธ์) จะไม่มีไลฟ์สาธารณะ

[1] การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2564 : พื้นฐานวิทยาศาสตร์กายภาพ ปรากฎในรายงานคณะทำงานที่ 1 เป็นข้อมูลสนับสนุนในรายงานการประเมินครั้งที่ 6 (the Sixth Assessment Report) ดูบทที่ 1 เกี่ยวกับบริบท (Context) และการวางกรอบ (Framing)


ข้อมูลเพิ่มเติม :

เอกสารสรุปสำหรับสื่อมวลชนและฟอร์มลงทะเบียนสำหรับการเผยแพร่รายงานคณะทำงานที่ 2

ร่างรายงานคณะทำงานที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการประเมินครั้งที่ 6 ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว

รายนามผู้เขียนรายงาน

เอกสารข้อเท็จจริงว่าด้วยรายงานการประเมินครั้งที่ 6 ของ IPCC Official IPCC fact sheet of the 6th Assessment Report (หมายเหตุ : วันอนุมัติรายงานเป็นข้อมูลเก่า)

ภาพและวิดีโอ ของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากคลังภาพของกรีนพีซ

ติดต่อ :

Gaby Flores ผู้ประสานงานด้านการสื่อสาร กรีนพีซสากล [email protected], +1 214 454 3871 (นิวยอร์ก)

โต๊ะข่าว กรีนพีซ สากล [email protected], +31 20 718 2470 (24 ชั่วโมง)