2 ธันวาคม 2564, ฮ่องกง – บริษัทโซนี่ (Sony) ได้รับการจัดอันดับแบรนด์ด้านเทคโนโลยีครั้งแรกโดยกรีนพีซ เอเชียตะวันออกในอันดับสูงสุดที่เกรด C+ โดยการจัดอันดับนี้มีเป้าหมายแสดงให้เห็นว่าในอนาคตอุตสาหกรรมเทคโนโลยียังคงเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างไร ในขณะที่แบรนด์ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ (Samsung Electronics) และเสียวหมี่ (Xiaomi) เป็น 2 บริษัทที่ได้รับการจัดอยู่ในอันดับต่ำ โดยการจัดอันดับนี้ให้คะแนนเกี่ยวกับการที่แบรนด์ให้คำมั่นสัญญาที่จะเปลี่ยนผ่านไปใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดตามเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

อู๋ เสวี่ยหยิง ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสภาพภูมิอากาศและพลังงาน กรีนพีซ เอเชียตะวันออก กล่าวว่า “ปีที่แล้ว จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ประกาศที่จะมุ่งไปสู่ ‘ความเป็นกลางทางคาร์บอน(Carbon Neutral)’ อย่างไรก็ตามแบรนด์เทคโนโลยีในภูมิภาคของเราเหล่านี้ไม่ได้มุ่งไปสู่เป้าหมายนั้น เพราะปัจจุบันแบรนด์ระดับโลกทั้งสองยังไม่ได้กำหนดเป้าหมายที่จะเปลี่ยนผ่านไปใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ดังเป้าหมายของทั่วโลกหรือแม้กระทั่งแผนการที่จะเพิ่มความยั่งยืนให้กับการใช้พลังงานหมุนเวียน ก่อนหน้านี้ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ในสหรัฐอเมริกา ยุโรปและจีน ประกาศว่ามีเป้าหมายจะใช้พลังงานหมุนเวียน 100% แต่แบรนด์ยังคงเดินหน้าใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในเกาหลีใต้และเวียดนาม ซึ่งคิดเป็น 80% ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดของบริษัท ในส่วนเทคโนโลยีของแบรนด์ที่เรียกว่าเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต แต่เมื่อพูดถึงการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว เรายังมองไม่เห็นแผนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจากแบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง ซัมซุงและเสียวหมี่เลย”

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกจัดอันดับบริษัทเทคโนโลยี 30 แห่งจากจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เกี่ยวกับเป้าหมายของแต่ละบริษัทในด้านการจัดการวิกฤตสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ความโปร่งใส่และด้านความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผลการจัดอันดับ

บริษัทโซนี่ (Sony) ได้รับผลคะแนนการจัดอันดับสูงสุดเนื่องจากบริษัททั่วโลกให้คำมั่นสัญญาเกี่ยวกับการใช้พลังงานหมุนเวียน 100% และรับปากว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่การผลิต อย่างไรก็ตามยังมีการดำเนินการของบริษัทที่ใช้พลังงานหมุนเวียนนั้นยังน้อยกว่า 10% ซึ่งทางบริษัทจะต้องพัฒนาต่อไป

บริษัทซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ (Samsung Electronics) เสียวหมี่ (Xiaomi) และอาลีบาบา (Alibaba) เป็นกลุ่มบริษัทที่ได้รับคะแนนจากการจัดลำดับน้อยที่สุด เนื่องจากทั้ง 3 แบรนด์ยังไม่มีนโยบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียน 100% หรือตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก

ในจำนวนบริษัทที่กรีนพีซนำมาจัดอันดับ มีบริษัทเพียงไม่กี่บริษัทที่ทำตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้เพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง บริษัทเกือบครึ่งมีนโยบายการชดเชยคาร์บอน (net zero) หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) อย่างไรก็ตาม มีบริษัทเพียง 2 บริษัทเท่านั้น นั่นคือ ราคูเท็น (Rakuten) และ จีดีเอส (GDS) ที่มีการใช้พลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ 20% หรือมากกว่านั้น

มีเพียง 3 บริษัท จากการจัดอันดับทั้งหมด 30 บริษัทที่รวมการปล่อยก๊าซเรือยกระจกจากกระบวนการการผลิตเข้าไปในเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก นั่นคือ โซนี่ (Sony) โตชิบา (Toshiba) และ ฮิตาชิ (Hitachi)

ภาคเทคโนโลยีเป็นหนึ่งในภาคที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เมื่อควบรวมกับการใช้ไฟฟ้าของบริษัททั้ง 30 แห่งแล้วจะได้ผลรวมประมาณ 200,000 กิกะวัตต์ ซึ่งมากกว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยทั้งประเทศ[1] ในปี 2562 บริษัทซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์เพียงบริษัทเดียวใช้พลังงานไฟฟ้าเทียบเท่ากับ 1 ใน 5 ของการใช้ไฟฟ้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนของเกาหลีใต้

อู๋ เสวี่ยหยิงเสริมว่า “แบรนด์ด้านเทคโนโลยีอันดับโลกเหล่านี้จะต้องเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานทั้งระบบการผลิตไปใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2573 ทั้งนี้ ยังคงมีโอกาสซื้อไฟฟ้าที่ผลิตด้วยพลังงานหมุนเวียนโดยตรงจากระบบกริดสำหรับบริษัทเอกชนในจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ สามารถทำได้โดยสัญญาการซื้อขายพลังงาน การใช้พลังงานไฟฟ้าหลัก ๆ นั้นมาจากกระบวนการผลิต ดังนั้นจึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่จะรวมกระบวนการผลิตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก”


หมายเหตุ

ช่วงเวลาเดียวกันกับที่รายงานการจัดอันดับได้ถูกเผยแพร่ นักกิจกรรมกรีนพีซในกรุงโซลได้แสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อเรียกร้องให้กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีในภูมิภาคให้คำมั่นสัญญาว่าจะเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน 100% สามารถดาวน์โหลดรูปภาพได้ที่นี่

อ่านรายงานฉบับเต็ม

[1] ข้อมูลจาก International Energy Agency (IEA) ระบุการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนของประเทศไทยในปี 2562 อยู่ที่ 191,000 กิกะวัตต์

Contacts

Erin Newport, Communications Officer, Greenpeace East Asia: [email protected]

Greenpeace International Press Desk: [email protected], +31 (0) 20 718 2470 (available 24 hours)