นิวเดลี, 2 พฤศจิกายน 2564 –  นายกรัฐมนตรี นเรนทระ โมที ประกาศเพิ่มเป้าหมายพลังงานหมุนเวียน ลดความเข้มข้นทางคาร์บอน และตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์โดยสุทธิ (Net Zero) ภายในปี 2613 โดยทั่วไปแล้วถือเป็นทิศทางที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อควรพิจารณาที่สำคัญอีกหลายประการ กล่าวคือ เราต้องการแนวปฏิบัติที่ดีและเข้มข้น รวมถึงความเป็นธรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากระบบพลังงานหมุนเวียนของประเทศในสัดส่วนร้อยละ 50 ภายในปี 2573

ด้วยพัฒนาการทางเทคโนโลยีด้านพลังงานหมุนเวียน การลงทุนถ่านหินจึงไม่เป็นผลดีทั้งต่อสิ่งแวดล้อมของโลกหรือระบบเศรษฐกิจโลก อินเดียมีโอกาสที่จะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนซึ่งช่วยเพิ่มการสร้างงานอีกด้วย

อินเดียจึงควรมุ่งมั่นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์โดยสุทธิให้เร็วขึ้นหลังจากประเมินสถานการณ์ในปีต่อๆไป แผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวต้องไม่นำใช้ในทางที่ผิดและการฟอกเขียว และควรมีการกำหนดเวลาให้ชัดเจนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด

ประเด็นหลักคือลักษณะทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจริงๆ การยกเลิกโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิลแห่งใหม่ และผ่อนคลายกฎหมายสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ช่วยให้อินเดียบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ ภาคการเกษตรของอินเดียมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศ ซึ่งสภาพอากาศที่คาดเดาไม่ได้นั้นได้เพิ่มความลำบากให้กับเกษตรกรรายย่อยอีกจำนวนไม่น้อย และในขณะเดียวกันเกษตรกรรมที่ไม่ยั่งยืนที่เป็นตัวเร่งเร้าวิกฤตสภาพภูมิอากาศจะต้องยุติลง  เพื่อสิ่งแวดล้อมโลกและสุขภาพของเรา

กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วต้องปฏิบัติพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนลงให้มากที่สุด และขยายกองทุนด้านสภาพภูมิอากาศ หนึ่งแสนล้านดอลลาร์ต่อไป เพื่อสนับสนุน กลุ่มประเทศยากจนซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ สูญเสียวิถีชีวิตของชุมชน ที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ขณะที่ทั่วโลกเผชิญกับโรคระบาด ก็เป็นโอกาสให้ผู้นำทั่วโลกได้แสดงแนวทางการจัดการวิกฤตร่วมกัน แต่ดูเหมือนจะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะแม้แต่ในยามวิกฤต แต่เรากลับไม่ได้เข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียมกันทั่วโลก เราไม่อาจทำผิดพลาดในประเด็นสภาพภูมิอากาศได้อีก ผู้นำทั่วโลกจะต้องรับฟังเสียงของเยาวชนคนรุ่นใหม่ในขณะที่มีการตัดสินใจ

10 ปีต่อจากนี้มีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ แผนปฏิบัติการคือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งกำเนิดให้เร็วที่สุดและมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกที่ 1.5 องศาเซลเซียส เราจะต้องยุติโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิลที่จะเกิดขึ้นใหม่ และปลดระวางการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีอยู่ภายในกรอบระยะเวลาที่ตั้งไว้

เราต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ นั่นคือการให้ความสำคัญกับการบริโภคตามฐานความต้องการ ไม่ใช่การบริโภคที่ผลักดันโดยกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

Global Climate Strike in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace
รัฐบาลไทยต้องหยุดฟอกเขียว! เพื่อความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ

ไทยเป็นประเทศอันดับต้นๆของโลกที่มีความเสี่ยงสูงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ รัฐสภาซึ่งเป็นที่ประชุมระดับชาติของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ต้องเป็นผู้นำประกาศ “ภาวะฉุกเฉินสภาพภูมิอากาศ (climate emergency declaration)”

มีส่วนร่วม