22 กันยายน 2564 – วันนี้องค์การอนามัยโลก  (WHO) ปรับค่าแนะนำคุณภาพอากาศเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี จากการวิเคราะห์ของกรีนพีซ  อินเดีย โดยใช้ข้อมูลจาก IQAir ชี้ให้เห็นว่า ในปี 2563 มลพิษทางอากาศเมืองใหญ่ทั่วโลก ส่วนใหญ่มีความเข้มข้นเกินค่าแนะนำขององค์การอนามัยโลก

ดร.ไอแดน ฟาร์โรว์ นักวิทยาศาสตร์ด้านมลพิษทางอากาศ กรีนพีซสากล ประจำมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ในสหราชอาณาจักร กล่าวว่า “องค์ความรู้วิทยาศาสตร์บ่งชี้ชัดเจนแล้วว่า การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศแม้ในระดับต่ำ ทำให้อายุขัยสั้นลง และมีผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพอนามยัของมนุษย์ องค์การอนามัยโลกได้ยกระดับค่าแนะนำคุณภาพอากาศโดยผสานกับความก้าวหน้าของการวิจัยใหม่ ๆ  แต่ค่าแนะนำเพื่ออากาศสะอาดเหล่านี้จะไม่มีความหมายใดเลย หากรัฐบาลไม่ลงมือทำเพื่อแก้ไขปัญหา สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ รัฐบาลจะใช้นโยบายที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดการปล่อยมลพิษจากแหล่งกำเนิด เช่น ยุติการลงทุนในถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ และให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดหรือไม่? ความล้มเหลวในการปฎิบัติตามค่าแนะนำขององค์การอนามัยโลกจะต้องไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก”

การวิเคราะห์มลพิษ PM2.5 ของกรีนพีซ อินเดีย ที่รวบรวมจากฐานข้อมูลของ IQAir พบว่าคุณภาพอากาศในเมืองใหญ่ 100 แห่งทั่วโลก  มีระดับเกินค่าแนะนำคุณภาพอากาศขององค์การอนามัยโลกปี 2563 [1]

ในกรุงเดลี ปี 2563 มลพิษ PM2.5 เฉลี่ยรายปี สูงกว่าค่าแนะนำคุณภาพอากาศขององค์การอนามัยโลกปี 2548 เกือบ 8 เท่า โดยเป็นค่าสูงสุดเมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ทุกเมืองทั่วโลกในฐานข้อมูล และเมื่อนำมาเทียบกับค่าแนะนำคุณภาพอากาศใหม่(ปี 2564) ที่เข้มงวดมากขึ้น พบว่ามลพิษ PM2.5 สูงกว่าค่าแนะนำเกือบ 17 เท่า กรีนพีซและศูนย์วิจัยด้านพลังงานและอากาศสะอาด (CREA) ประมาณการจำนวนผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรในกรุงเดลีไว้ 57,000 รายในช่วงปี 2563 ซึ่งสัมพันธ์กับการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ [2]

ในกรุงจาการ์ตาและปักกิ่ง มลพิษ PM2.5 เฉลี่ยรายปี ที่ IQAir ได้บันทึกไว้ในปี 2563 นั้นสูงกว่าค่าแนะนำคุณภาพอากาศ ปี 2548 อยู่ประมาณ 4 เท่า ในเม็กซิโกซิตี้ กรุงเทพฯ และโซล มลพิษ PM2.5 เฉลี่ยรายปี มีมากกว่า 2 เท่าของ ค่าแนะนำคุณภาพอากาศขององค์การอนามัยโลก(ปี 2548)

แม้ว่าในปี 2563 ที่ผ่านมา เมืองบางแห่งมีมลพิษ PM2.5 ไม่เกินค่าแนะนำคุณภาพอากาศของ WHO แต่มีการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องมลพิษทางอากาศอันเป็นผลมาจาก การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศในระดับต่ำในระยะยาว ในปี 2563 ที่นิวยอร์กและลอนดอน มีการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็ก ประมาณ 11,000 และ 10,000 คนตามลำดับ จากการวิเคราะห์โดยกรีนพีซ IQAir และ CREA[3]

ดร. ฟาร์โรว์กล่าวว่า “สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักคือ ไม่มีระดับของมลพิษทางอากาศขั้นต่ำใดๆ ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์  การได้รับมลพิษทางอากาศในระดับต่ำในระยะยาวอาจทำให้สุขภาพของเราแย่ลงได้ทีละน้อยแต่ส่งผลร้ายแรง ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็งปอด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และสุดท้ายคือการเสียชีวิตที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นโยบายคุณภาพอากาศต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพและยกระดับคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่” 

อวินาช ชันชาล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านมลพิษทางอากาศ กรีนพีซ อินเดีย กล่าวว่า

“เรามีเครื่องมือที่ใช้งานได้จริงในเชิงเศรษฐกิจเพื่อต่อกรกับวิกฤตมลพิษทางอากาศ ในเกือบทุกส่วนของโลก การพัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียนเช่น ลม และแสงอาทิตย์ คุ้มค่ามากกว่าการลงทุนเพื่อเผาไหม้ถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซ โดยที่ยังไม่ต้องรวมความเสียหายทางเศรษฐกิจจากมลพิษทางอากาศเสียด้วยซ้ำ การจัดการมลพิษทางอากาศเป็นเรื่องเจตจำนงทางการเมือง ไม่ใช่เทคโนโลยี”

หมายเหตุ
เอกสารสรุปสำหรับสื่อมวลชนสามารถดูได้ที่นี่

ข้อมูลสรุป : ประเทศไทยและค่าแนะนำคุณภาพอากาศขององค์การอนามัยโลก ดูได้ที่นี่


[1]  In 8 of the 100 cities, PM2.5 data for 2020 was unavailable due to a lack of government monitoring or disclosure.

[2] Greenpeace South East Asia, 2021, Methodology: Estimating the cost of air pollution in world cities (2020). Available at: https://www.greenpeace.org/static/planet4-southeastasia-stateless/2021/02/ef76f49b-methodology_-revealing-the-cost-of-air-pollution-in-world-cities-annual-results-for-2020.pdf [Accessed August 18, 2021].

[3] Greenpeace South East Asia, 2021, Methodology: Estimating the cost of air pollution in world cities (2020). Available at: https://www.greenpeace.org/static/planet4-southeastasia-stateless/2021/02/ef76f49b-methodology_-revealing-the-cost-of-air-pollution-in-world-cities-annual-results-for-2020.pdf [Accessed August 18, 2021].


ตาราง: ความเข้มข้นเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ปี 2563 ในเมือง 100 แห่ง ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดทั่วโลก เมืองใหญ่ทั้งหมดทั่วโลกที่มีฐานข้อมูลมีความเข้มข้นของ PM2.5 เกินค่าแนะนำคุณภาพอากาศใหม่ของ WHO ที่เพิ่มตีพิมพ์ออกมาในปี 2564 นี้ 

ตาราง: ความเข้มข้นเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ปี 2563 ในเมือง 100 แห่ง ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดทั่วโลก
ตาราง: ความเข้มข้นเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ปี 2563 ในเมือง 100 แห่ง ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดทั่วโลก
ตาราง: ความเข้มข้นเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ปี 2563 ในเมือง 100 แห่ง ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดทั่วโลก

*ข้อมูลแสดงค่าเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 โดยอ้างอิงข้อมูลจากเครื่องตรวจวัดของ IQAir และให้บริการโดย IQAir เมื่อมีการร้องขอ สามารถสอบถามข้อมูลด้วยตนเองได้ที่ https://www.iqair.com/world-most-polluted-cities (ข้อมูลล่าสุด 2021-09-16) ชื่อสถานที่ในตารางแสดงถึงแหล่งข้อมูลที่ใช้และไม่ได้สะท้อนความคิดเห็นใด ๆ ของกรีนพีซ

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ

สมฤดี ปานะศุทธะ  ผู้ประสานงานสื่อมวลชน กรีนพีซ ประเทศไทย

โทร. 081929 5747 อีเมล  [email protected]

Air Pollution in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace
ขออากาศดีคืนมา

กรีนพีซเสนอให้กรมควบคุมมลพิษยกร่างมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศสำหรับประเทศไทยขึ้นใหม่

มีส่วนร่วม