อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ – จากรายงานของกรีนพีซสากลพบว่าบริษัทที่ได้รับการรับรองซึ่งรวมถึงฉลาก FSC (Forest Stewardship Council) นั้นมีความเชื่อมโยงกับการทำลายป่าไม้ ข้อพิพาทเรื่องที่ดิน และการละเมิดสิทธิมนุษยชน จากการเปิดเผยรายงานการการทำลายล้างที่ได้รับการรับรองชี้ให้เห็นว่าหลายบริษัทที่ได้รับการรับรองฉลาก FSC จำนวนมากเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มและถั่วเหลืองสำหรับอาหารสัตว์ ในความเป็นจริงแล้วการทำลายล้างแบบฟอกเขียวนั้นเป็นเป็นการทำลายระบบนิเวศน์แบบเบ็ดเสร็จ อีกทั้งยังเป็นการละเมิดสิทธิของชนพื้นเมืองและแรงงาน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวในการจัดการกับปัญหาต่างๆที่พวกเขาอ้างถึง

ในปีพ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา เป็นปีที่สมาชิกกลุ่มบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเพื่อการบริโภค (The Consumer Goods Forum: CGF) ได้ให้ให้คำมั่นว่าการตัดไม้ทำลายป่าแบบทำลายล้างหมดไปจากสายการผลิต โดยใช้การรับรองของ FSCเป็นหนึ่งในวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น บริษัทยูนิลิเวอร์ ที่สายการผลิตส่วนใหญ่นั้นอาศัยการรับรองมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (Roundtable on Sustainable Palm Oil: RSPO) นั้นล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในทางปฏิบัติตามข้อผูกพันการไม่ตัดไม้ทำลายป่า ถึงแม้ว่าการรับรอง RSPO จะเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก แต่การตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่ายังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แกรนท์ โรโซแมน ที่ปรึกษาอาวุโสด้านงานรณรงค์ กรีนพีซสากลกล่าวว่า “หลังจากพยายามมาสามสิบปี การรับรองของ FSC ล้มเหลวในการป้องกันการทำลายระบบนิเวศรวมถึงการละเมิดสิทธิที่เกี่ยวกับข้องกับผลิตภัณฑ์ที่สำคัญเช่นน้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง และไม้ เนื่องจากข้อจำกัดของการรับรองและจุดอ่อนในเชิงปฏิบัติมีบทบาทค่อนข้างจำกัดในการยุติการตัดไม้ทำลายป่าและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เราจึงไม่ควรไว้วางใจว่าสินค้าเหล่านี้สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง  และไม่ควรใช้เป็นหลักฐานว่าได้ปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว

จากความล้มเหลวมากว่า 30 ปี ของฉลากการรับรอง รวมถึงความล้มเหลวที่จะบรรลุเป้าหมายการปกป้องป่าไม้ภายในปี 2020 ที่ผ่านมา ทำให้มีการทบทวนแผนดังกล่าวอย่างละเอียดโดยพิจารณาจากข้อมูลที่มีการเปิดเผยสู่สังคมและมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญด้านการรับรอง ได้มีการพิจารณาเนื้อหาที่สำคัญครอบคลุมถึงประสิทธิภาพการทำงานของแผนการรับรอง พร้อมทั้งเสริมด้วยการประเมินแผนฯ ที่สำคัญหลัก ๆ  9 ข้อ รวมถึง FSC, RTRS, และ RSPO”

“เราไม่ควรเลือกระหว่างการปกป้องป่าไม้กับการเคารพสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น อย่างไรก็ตาม ใบรับรอง FSC ผลักความรับผิดชอบในการประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองไปยังผู้บริโภค ในทางกลับกันรัฐบาลต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อปกป้องโลกของเราจากบุคคลที่มุ่งหวังแต่หาผลประโยชน์ มีการกำหนดกฎหมายที่รับประกันว่าไม่อนุญาตให้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มาจากการทำลายล้างระบบนิเวศน์และละเมิดสิทธิมนุษยชน” โรโซแมนกล่าว

กรีนพีซเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการที่ครอบคลุมเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่การผลิต เพื่อต่อกรกับวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพ และวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการผลิตและบริโภค และเปลี่ยนผ่านสู่นโยบายที่เอื้อต่อประชาชน โลก เกษตรเชิงนิเวศและการลดบริโภคโดยเฉพาะเนื้อสัตว์และนม

หมายเหตุ

[1] ดาวน์โหลดรายงานรายงานของกรีนพีซสากลเรื่อง Destruction: Certified  (การทำลายล้างที่ได้รับการรับรอง) ได้ที่นี่

[2] ดาวน์โหลดรูปภาพและวิดิโอได้ที่นี่

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ

แกรนท์ โรโซแมน, ที่ปรึกษาอาวุโสเกี่ยวกับงานรณรงค์ กรีนพีซสากล
[email protected], +6421428415

มาเรีย เอลิน่า เดอ แมททิโอ เจ้าหน้าประจำแผนกสื่อสาร กรีนพีซเยอรมนี
[email protected], +393518198110

ติดต่อโต๊ะข่าวกรีนพีซสากลได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ [email protected]