17 กุมภาพันธ์ 2564 – ในขณะที่ผู้แทนรัฐบาลจาก 190 ประเทศเตรียมหารือเรื่อง “การเสริมสร้างปฏิบัติการเพื่อธรรมชาติ” [1] กลุ่มสิ่งแวดล้อม 188 องค์กรทั่วโลกเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบที่สนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งซึ่งก่อมลพิษ

กลุ่มสิ่งแวดล้อมได้ออกเอกสารแถลงจุดยืนร่วมกันในวันนี้ “จากการใช้ครั้งเดียวทิ้งสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ” เพื่อเน้นถึงผลกระทบมหาศาลของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สัตว์ป่า สุขภาพของมนุษย์ และชุมชนที่เปราะบาง

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์ ภาชนะบรรจุอาหาร ถ้วยและช้อนส้อมแบบใช้แล้วทิ้ง คือตัวการสำคัญของขยะปริมาณ 2 พันล้านตันที่มนุษย์ผลิตขึ้นทุกปี คาดว่าปริมาณขยะจะเพิ่มขึ้น 70% ภายในปี พ.ศ.2593

Tamara Stark ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ องค์กร Canopy ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรหลักในเอกสารแถลงจุดยืนร่วม กล่าวว่า “เรากำลังทำลายระบบสนับสนุนค้ำจุนชีวิตที่จำเป็นเพื่อความอยู่รอดเพียงเพื่อความสะดวกสบายของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง การบอกลาวิถีบริโภคใช้ครั้งเดียวทิ้งไม่เพียงแต่ช่วยลดขยะ แต่ยังช่วยกอบกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศปกป้องป่าไม้ และหยุดไมโครพลาสติกจากความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล”

เอกสารแถลงจุดยืนฉบับนี้ชี้ให้เห็นถึงการดำเนินการเฉพาะของรัฐบาล ผู้นำธุรกิจ สถาบันการเงินและนักลงทุนเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต ลดการใช้วัตถุดิบและการบริโภคโดยรวม และกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม ในขณะที่การลงมือทำของแต่ละบุคคลก็มีส่วนสำคัญองค์กรไม่แสวงหากำไรกล่าวว่า ความรับผิดชอบส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจตัดสินใจและกลุ่มคนผู้ออกแบบและอนุมัติระบบที่เป็นอยู่

วอน เฮอร์นันเดซ ผู้ประสานงานระดับโลกของเครือข่าย Break Free From Plastic กล่าวว่า “บ่อยครั้ง คนที่เปราะบางที่สุดในสังคมของเราที่ต้องเผชิญกับผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่ก่อมลพิษเหล่านี้ซึ่งปนเปื้อนแหล่งอาหารในพื้นที่ ทำให้แหล่งน้ำและดินสะสมด้วยสารเคมีที่เป็นพิษ ถึงเวลาแล้วที่บริษัทและอุตสาหกรรมต่างๆที่ก่อมลพิษโลกและวิกฤตสภาพภูมิอากาศต้องรับผิดชอบ เราจำเป็นต้องเห็นการเปลี่ยนแปลงในขั้นรากฐานในวิธีการกระจายสินค้าและผลิตภัณฑ์สู่ผู้คนโดยปราศจากการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นอันตรายและก่อมลพิษ”

Scot Quaranda ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารของ Dogwood Alliance กล่าว “ไม่ว่าเราจะกระดาษหรือพลาสติกก็มีผลกระทบเสมอ จากมุมมองของกระดาษ หมายความว่ามีการตัดไม้ทำลายป่ามากขึ้น ซึ่งเป็นการทำลายสิ่งที่ดีที่สุดของเราจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และมีมลพิษมากขึ้นสำหรับชุมชนรายรอบที่ตั้งของโรงงานกระดาษ จากการติดตามตรวจสอบการปกป้องสิ่งแวดล้อมที่แย่ลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาในสหรัฐอเมริกา ถึงเวลาแล้วที่เราและประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงไปสู่วิธีการผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนมากขึ้น”

เครือข่ายกระดาษเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้สนับสนุนหลักในยกเลิกผลิตภัณฑ์และระบบที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง และในสัปดาห์นี้ ได้เปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ SolvingPackaging.org เพื่อช่วยเหลือบริษัทต่างๆ ฝ่ายนิติบัญญัติ ผู้สนับสนุน และบุคคลต่างๆ ให้บอกลาผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง และเปิดรับแนวทางออกในเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน


ดูเพิ่มเติม “เอกสารแถลงจุดยืนร่วม – จากการใช้ครั้งเดียวทิ้งสู่การเปลี่ยนแปลงระบบ”ได้ที่นี่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:

  • Laura Repas, Communications and Marketing Specialist, Canopy, [email protected] +1 416 729 7484
  • Estelle Eonnet, Communications Officer Europe, Break Free From Plastic, [email protected]    +33 6 13136527
  • Scot Quaranda, Communications Director, Dogwood Alliance, [email protected], +1.828.242.3596

Canopy เป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่ขับเคลื่อนด้วยโซลูชั่นซึ่งอุทิศตนเพื่อปกป้องป่าไม้ สายพันธุ์และสภาพภูมิอากาศ  Canopy ทำงานร่วมกับบริษัท กว่า 750 แห่งเพื่อชี้แนะแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมากขึ้น  พันธมิตรของ Canopy ได้แก่ H&M, Sprint, Target, Amazon, Penguin Random House, Zara, TC Transcontinental และ Scholastic  www.canopyplanet.org

Break Free From Plastic คือ ขบวนการเคลื่อนไหวระดับโลกซึ่งมีวิสัยทัศน์เพื่ออนาคตที่ปราศจากมลพิษพลาสติก  นับตั้งแต่ เปิดตัวในเดือนกันยายน 2559 องค์กรพัฒนาเอกชนและบุคคลกว่า 11,000 แห่งจากทั่วโลกได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้มีการลดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งและเพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาวิกฤตมลพิษพลาสติกอย่างยั่งยืน  www.breakfreefromplastic.org

Dogwood Alliance ผลักดันให้เกิดความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมและปฏิบัติการกู้วิกฤตสภาพอากาศโดยการระดมเสียงที่หลากหลายเพื่อปกป้องป่าไม้และชุมชนทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาจากบริษัทอุตสาหกรรมป่าไม้ เรียนรู้เพิ่มเติมที่ www.dogwoodalliance.org หรือบน Twitter – @DogwoodAlliance

[1]สมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 5 ได้นำหัวข้อ“ การเสริมสร้างปฏิบัติการเพื่อธรรมชาติเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  ตามรายงานขององค์การสหประชาชาติ Global Biodiversity Outlook ไม่มีประเทศใดที่ลงนามใน the Aichi Biodiversity targets บรรลุเป้าหมายแม้แต่ 1 ใน 20 เป้าหมายที่ประเทศต่างๆ เหล่านั้นให้คำมั่นไว้เมื่อสองทศวรรษก่อน

[1]สมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 5 ได้นำหัวข้อ“ การเสริมสร้างปฏิบัติการเพื่อธรรมชาติเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน  ตามรายงานขององค์การสหประชาชาติ Global Biodiversity Outlook ไม่มีประเทศใดที่ลงนามใน the Aichi Biodiversity targets บรรลุเป้าหมายแม้แต่ 1 ใน 20 เป้าหมายที่ประเทศต่างๆ เหล่านั้นให้คำมั่นไว้เมื่อสองทศวรรษก่อน