ข้อตกลงระหว่างกรีนพีซและบริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป

ระบบนิเวศทางทะเลตกอยู่ในภาวะอันตรายอันเนื่องมาจากการประมงเกินขนาด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ อุตสาหกรรมอาหารทะเลทั่วโลกต้องดําเนินการแก้ไขและจัดการกับปัญหาที่เร่งเร้าให้เกิดการประมงเกินขนาดและคุกคามวิถีชีวิตของผู้คนนับล้านคนที่ต้องพึ่งพาท้องทะเล

ภาคอุตสาหกรรมปลาทูน่าก็ไม่มีข้อยกเว้นเช่นกัน การเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรมนี้สามารถใช้เป็นแบบจําลองสําหรับห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมอาหารทะเลที่ยั่งยืนและมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม ในฐานะที่เป็นอุตสาหกรรมปลาทูน่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก บริษัทไทยยูเนี่ยนมีบทบาทสําคัญในการช่วยผลักดันอุตสาหกรรมอาหาร ทะเลไปในทิศทางที่ถูกต้องและทํางานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในห่วงโซ่อุปทานเพื่อหาทางแก้ปัญหา

เนื้อหาต่อไปนี้เป็นข้อตกลงระหว่างบริษัทไทยยูเนี่ยนและกรีนพีซที่ต้องการผลักดันการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกภายในอุตสาหกรรมโดยการจัดการกับประเด็นสําคัญสี่ประการ (อุปกรณ์ล่อปลาหรือซั่งกอ(FADs), การประมงเบ็ด ราว(longlines), การขนถ่ายสัตว์นํ้ากลางทะเล(transshipment) และแรงงาน(laour)) ซึ่งได้ถูกระบุว่าเป็นตัวขับ เคลื่อนปัญหาตามที่จะกล่าวต่อไปนี้

ถึงแม้จะมีการริเริ่มเชิงบวกในบางแง่มุมของภาคอุตสาหกรรมประมง แต่การจับปลาทูน่าอย่างยั่งยืนกลับล้มเหลว อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ อัตราการเพิ่มของกองเรือประมงปลาทูน่าเติบโตอย่างต่อเนื่องสูงกว่าความสามารถ ในการเติบโตของประชากรปลาเพื่อรักษาระดับที่ยั่งยืน ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นของกองเรือประมงอวนล้อม(purse seine) และเบ็ดราว(Longline) อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี, การใช้อุปกรณ์ล่อปลา(Fish Aggregating Devices)ที่ล้นเกิน การปฏิบัติต่างๆ เช่น การขนถ่ายสัตว์นํ้าระหว่างเรือในทะเล(at sea transshipment) ซึ่งเอื้อให้กองเรือประมงออกหาปลาในท้องทะเลได้ไกลและยาวนานมากขึ้น และการก่อสร้างเรือ โรงงานประมงขนาดใหญ่ที่ส่งผลให้เิกิดการใช้ทรัพยากรประมงเกินศักยภาพทั่วทั้งอุตสาหกรรม รวมถึงการประมง ที่ผิดกฏหมาย, ไม่มีการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU fishing) ซึ่งเป็นตัวบ่อนทําลายการจัดการประมงและความ พยายามในการบังคับใช้กฏหมาย ในขณะที่กองเรือประมงมีความสามารถที่จะจับปลาได้เกินกว่าที่ได้รับอนุญาตและ 1 สร้างมลทินให้กับห่วงโซ่อุปทานด้วยปลาที่ไม่มีแหล่งที่มา การขาดการตรวจสอบ การควบคุมและการเฝ้าระวัง (MCS) ทําให้การตรวจตราเรือประมงทุกลําเป็นเรื่องยาก ในขณะที่นโยบายการจัดซื้อและข้อกําหนดของซัพพลายเอ อร์(supplier)ที่ไม่เพียงพอนั้นทําให้ห่วงโซ่อุปทานมีช่องโหว่และการไม่ปฏิบัติตามระเบียบ และในบางครั้งไม่มีการ จัดการหรือบทลงโทษ ปลาทูน่าเป็นกลุ่มสายพันธ์ปลาล่าเหยื่อที่เผชิญกับการประมงเกินขนาดที่มากที่สุด และสาย พันธุ์สัตว์ทะเลที่ไม่ใช่เป้าหมายถูกจับทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจซึ่งเป็นผลมาจากวิธีการจับปลาตามอําเภอใจก็นําไปสู่ การลดลงของสายพันธุ์เหล่านั้นด้วย ฉลาม, เต่า, นกทะเล และสัตว์ประเภทอื่นๆ ที่อยู่ในสถานะถูกคุกคามและเสี่ยง นั้นมักถูกจับและถูกฆ่าในการประมงปลาทูน่า

ธรรมชาติของภาคอุตสาหกรรมปลาทูน่าและการดําเนินการที่เฉพาะเจาะจงยังสร้างเงื่อนไขให้เกิดการปฏิบัติดูแลที่่ ยํ่าแย่และการละเมิดสิทธิแรงงานบนเรือประมงอย่างรุนแรง การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแรงงาน ข้ามชาติและแม้กระทั่งการค้ามนุษย์นั้นถูกรายงานและมีการบันทึกเป็นอย่างดีในสื่อมวลชนนานาชาติที่ได้รับความ น่าเชื่อถือ สภาพแวดล้อมการทํางานที่ปลอดภัยและแรงงานที่ถูกกฏหมายต้องมีขึ้นและมีการรับรองในกองเรือ ประมงปลาทูน่าทั้งหมด ณ ปัจจุบันยังไม่มีสิ่งใดที่เพียงพอเพื่อรับประกันถึงการปฏิบัติที่เป็นธรรมและมีจริยธรรมต่อ แรงงางประมงผู้จับปลา, แรงงานในสายพานการผลิตแปรรูปและนําผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าวางบนชั้นขายในห้าง ซุปเปอร์มาร์เก็ต

บริษัทไทยยูเนี่ยนได้สร้างพันธกิจที่สําคัญและครอบคลุมโดยกว้างผ่านข้อตกลงซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการ ประมงตามแนวทางที่ดีที่สุดในปัจจุบัน เพื่อพัฒนาการประมงอื่นๆ ขจัดกิจกรรมที่ละเมิดกฏหมายและไร้จริยธรรม จากห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก และนําผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าจากการประมงที่มีความรับผิดชอบมากขึ้นออกสู่ตลาดหลัก ชุดข้อเสนอของการปฏิรูปนี้ทําให้บริษัทไทยยูเนี่ยนอยู่ในฐานะที่ดีในการช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน, ความมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมและความโปร่งใสของอุตสาหกรรมอาหารทะเลมากยิ่งขึ้น ข้อตกลงนี้ไม่ใช่สูตร สําเร็จที่จะขจัดผลกระทบทางนิเวศวิทยาและสังคมของภาคอุตสาหกรรมประมงปลาทูน่าออกไปโดยสิ้นเชิง แต่ข้อ ตกลงนี้นําเสนอถึงโอกาสเพื่อเริ่มการเปลี่ยนแปลงการประมงปลาทูน่าและการนําผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเพื่อช่วย ปกป้องอนาคตของสิ่งมีชีวิตในทะเลและผู้คนที่ได้รับผลกระทบ

การดําเนินงานตามพันธกิจที่บริษัทไทยยูเนี่ยนให้คํามั่นไว้นี้เป็นภารกิจใหม่ที่สําคัญของบริษัทไทยยูเนี่ยนซึ่งต้องมี การเพิ่มตําแหน่งงานประมาณ 5 ตําแหน่งและมีค่าใช้จ่ายประมาณ 750,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีในการดําเนิน งานให้เป็นไปตามแผน เมื่อถึงสิ้นปีพ.ศ. 2561 หน่วยงานอิสระภายนอกจะทําการตรวจสอบความก้าวหน้าของข้อ ตกลงที่ทางบริษัทได้ทําไว้ กรีนพีซสนับสนุนการริเริ่มต่างๆ ตามรายละเอียดที่อยู่ในข้อตกลง และจะทําการติดตาม ความก้าวหน้าและการดําเนินงานอย่างใกล้ชิด

แนวทางการปฏิบัติตามรายละเอียดในข้อตกลงนี้จะประสบผลสําเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับความร่วมมืออย่างเต็มที่ของ กลุ่มผู้จัดหาสินค้าป้อนบริษัทไทยยูเนี่ยนและผู้ร่วมทําธุรกิจ ผู้เล่นในภาคอุตสาหกรรมจากทะเลสู่ท้องตลาดต้องร่วม มือกับบริษัทไทยยูเนี่ยนและกลุ่มบริษัทชั้นนําอื่นๆ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและการทํางานสู่วิธีการที่จะนํามา ซึ่งผลลัพธ์ที่ดีต่อท้องทะเล กรีนพีซและบริษัทไทยยูเนี่ยนเรียกร้องให้ภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลอื่นๆ ที่มีบทบาท สําคัญได้รับรู้และตระหนักถึงรายละเอียดของข้อตกลงนี้และเริ่มกระบวนการของตนเพื่อยกระดับและเปลี่ยนแปลง

ดาวน์โหลดหรืออ่านเพิ่มเติม “ข้อตกลงระหว่างกรีนพีซและบริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป” ที่นี่